สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่าน “ วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก ” ที่เคารพรัก ทุกท่าน วารสารวิชาการฉบับนี้ ถือเป็นฉบับที่ 1 ของปีที่ 4 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงกําหนดการตีพิมพ์จากฉบับ เดือนตุลาคม-มีนาคม และเมษายน-กันยายน มาเป็นเดือนมกราคม-มิถุนายน และกรกฎาคม-ธันวาคม เพื่อเพิ่มความสะดวกในการดําเนินงานจัดพิมพ์เผยแพร่ ผลงานวิชาการในฉบับนี้มีสาระที่หลากหลาย ซึ่งส่งมาจากเครือข่ายบุคลากรสาธารณสุข ส่วนของสํานักงานป้องกันควบคุมโรค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาล ทั้งภายในและ ภายนอกเขตสุขภาพที่ 2
บทความวิชาการในฉบับนี้ มีรายงานการวิจัยจํานวน 6 เรื่อง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อ ประชาชน ได้แก่ เรื่องที่ 1 การคัดกรองโลหิตบริจาคด้วยวิธี Nucleic acid amplification test (NAT) เพื่อตรวจหา เชื้อ HIV-1, HCV และ HBV ที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการรับเลือด และทําให้โลหิต มีความปลอดภัยต่อผู้รับเลือด ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก เรื่องที่ 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติ ตามบทบาทผู้ดูแลเด็กในการควบคุมป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งโรคนี้มักเป็นในเด็ก อายุน้อยกว่า 5 ปี และมองข้ามไม่ได้เพราะถึงส่วนใหญ่ผู้ป่วยแสดงอาการไม่รุนแรง หรือไม่แสดงอาการป่วย แต่ในรายที่อาการรุนแรงจะมีอาการทางสมองหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง คล้ายโรคโปลิโอ และอาจเสียชีวิต การป้องกันควบคุมโรคจึงสําคัญมาก เรื่องที่ 3 การศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรม สุขภาพตามหลัก 3อ. ส. ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การศึกษานี้มุ่งเน้นเพื่อสามารถนําไป สร้างเป็นกลยุทธ์ในการป้องกันควบคุมโรคที่ยั่งยืนต่อไปได้ เรื่องที่ 4 คุณภาพชีวิตของบุคคลที่เป็นเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง แน่นอนว่าหากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนี้ได้รับการดูแลที่คํานึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ย่อมทําให้สภาพการดําเนินชีวิตของผู้ป่วยมีความสุขทั้งทางกายและทางจิตใจ เรื่องที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่าง พฤติกรรมการปฏิบัติตนตามแนวคิดนาฬิกาชีวิตกับคุณภาพชีวิตของชาวนาที่มีสุขภาพแข็งแรง พบว่าผู้ที่มี พฤติกรรมการปฏิบัติตนที่สอดคล้องกับหลักแนวคิดนาฬิกาชีวิตจะมีสุขภาพร่างกายที่ดี และเรื่องที่ 6 การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เป็นเรื่องที่ชุมชนควร ตระหนักรู้ร่วมกัน และร่วมกันป้องกันควบคุมโรคอย่างจริงจัง
สําหรับการตีพิมพ์บทความวิชาการเผยแพร่ในโอกาสต่อไป กองบรรณาธิการ หวังว่าท่าน ผู้อ่านจะติดตามบทความของเราอย่างต่อเนื่อง และหวังว่าท่านจะส่งบทความวิจัยมาตีพิมพ์เพื่อเป็น การเผยแพร่ผลงาน ซึ่งกองบรรณาธิการยินดีรับบทความของท่าน โดยท่านสามารถศึกษาแนวทาง การส่งผลงานตีพิมพ์ได้ ทางเวปไซต์ ของสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก และท้ายเล่มนี้ได้ค่ะ
บรรณาธิการ
เผยแพร่แล้ว: 2021-09-27