ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามบทบาทผู้ดูแลเด็กในการควบคุมป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

มาลี โชคเกิด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามบทบาทผู้ดูแลเด็ก ของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการควบคุมป้องกันโรค มือ เท้า ปาก ทําการศึกษาในกลุ่มที่ เป็นผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 1 ปี ในพื้นที่ 9 อําเภอ ได้ตัวแทนพื้นที่ คือ อําเภอบ้านโคก อําเภอท่าปลา และอําเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยศึกษาในประชากรกลุ่มตัวอย่างทุกคน ใน 3 อําเภอ จํานวน 115 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติพรรณนา (การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)


ผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 87.8 มีอายุเฉลี่ย 39 ปี ร้อยละ 73.9 มีสถานภาพสมรสแล้ว ร้อยละ 72.2 ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรี โดยเฉลี่ยประสบการณ์การทํางานอยู่ที่ 12.79 ปี ร้อยละ 53.1 เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับโรคมือเท้าปากมาแล้ว สําหรับการปฏิบัติตามบทบาทผู้ดูแลเด็กในการควบคุมป้องกัน โรคมือ เท้า ปาก อยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย 2.76, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.22) วิเคราะห์ปัจจัยนําด้านความรู้อยู่ใน ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 13.31, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.66) ทัศนคติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.22, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45) ปัจจัยเสริมด้านการได้รับการสนับสนุนจากทีมสุขภาพอยู่ในระดับต่ํา (ค่าเฉลี่ย 1.91, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25) การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 1.92, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20) ปัจจัยเอื้อด้าน ความเพียงพอของทรัพยากรในการควบคุมป้องกัน โรคมือ เท้า ปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.15, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.24) ตัวแปร การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและความเพียงพอ ของทรัพยากร ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการปฏิบัติตามบทบาทผู้ดูแลเด็กในการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1.ทัศนีย์ พาณิชย์กุล, สุขาคา โทผล, ชาญฤทธิ์ ค้าชาย,พิสุทธิ์ ปทุมาสูตร, สุภาวดี สมบรูฒิ, ชลภัทร สุขเกษม และจุฑา ทิพย์ ศรีจันทร์รัศมี. มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่กระจายเอนเทอโรไวรัสกับการเกิดโรค มือเท้าปากในเด็กปฐมวัย. วารสารสาธารณสุขและพัฒนา. 2553: 8: 173-185.

2.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเป้าระวัง 506.(ออนไลน์) 2558 (วันที่ค้นข้อมูล 1 พฤศจิกายน2558). เข้าถึงได้จาก : http:/www.boc.moph.go.thboedb/ surdata/506wk/y58/d71_5258.pdf.

3. สรุปผลงาน งานระบาควิทยา สสจ.อุตรดิตถ์.2558.

4.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานโรคในระบบเฝ้าาระวัง 506.(ออนไลน์) 2558 (วันที่ค้นข้อมูล เ พฤศจิกายน2558). เข้าถึงได้จาก http:/www.boe.moph.go.thboedb/surdata/disease.php?dcontent-=old&ds=71

5. สรุปรายงานสถานการณ์ โรค มือ เท้า ปาก ปี 2558.สรุปผลงาน งานระบาดวิทยา สสจ.อุตรดิตถ์.2558.

6.ประคอง กรรณสูตร. 2539,อ้างถึงในเสน่ห์แสงเงิน. 2551. ระดับความเสี่ยงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดนกของเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงไก่พื้นเมืองจังหวัดสุโขทัย.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.

7.นิทัศน์ รัตนนิลอมร. บทบาทและการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขในการควบคุม ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่2009ในตำบลป้ างิ้ว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: 2553.

8.สิวารีย์ พิมพ์ประเสริฐ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของมารดาเด็กกรณีศึกษาศูนย์เด็กเล็กตำบลประชาสุขสันต์อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร (การศึกษาต้นคว้าด้วยตนเองปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2553.

9.สันติพงษ์ กันทะวารี. พฤติกรรมการป้องกันโรคมือ เท้า และปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูนวิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2549.