วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs <p><strong><img src="https://img2.pic.in.th/pic/--2---A4.png" width="591" height="835" /></strong></p> <p>วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรคสคร.2 เป็นวารสารทางวิชาการ จัดเผยแพร่โดย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิทยาการเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ขอบเขตรวมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ<em><strong>ต้องผ่านEC</strong></em> และการสอบสวนโรค งานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 จะต้องไม่เคยเผยแพร่ ตีพิมพ์หรือกำลังรอพิมพ์ในวารสารอื่น <a href="https://www.youtube.com/watch?v=9yaF84unBa4&amp;list=PLOrQT_hNaT1zyaEPwfbN5WdUbOQL_lQ0X">วิธีส่งบทความ </a></p> <ul> <li class="show"> <p><strong>แจ้งเปลี่ยนแปลงการเผยแพร่บทความวิชาการ เป็นวารสารออนไลน์</strong></p> <p>เปลี่ยนแปลงการเผยแพร่บทความวิชาการ เป็นวารสารออนไลน์เท่านั้น ไม่มีการพิมพ์เล่ม โดยสามารถสืบค้นบทความวิชาการได้จากเวปไซต์ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป</p> </li> </ul> th-TH <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ข้อลิขสิทธิ์วารสาร </span></span></p> <p>บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี <a href="https://drive.google.com/file/d/1WtZAokFtImd6fFSHWQ4ewQ6ODmBtX4TJ/view">วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) </a></p> journaldpcphs@gmail.com (ดร.ไพรัตน์ อ้นอินทร์) journaldpcphs@gmail.com (ทิพย์สุดา กองเนียม) Fri, 30 Aug 2024 15:49:23 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 1.ความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตของยุงลายบ้าน ดื้อสารไพรีทรอยด์ระดับพันธุกรรมจากพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268254 <p>งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตของยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์ระดับพันธุกรรมจากพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกในจังหวัดพิษณุโลก นำยุงลายบ้าน จากจังหวัดพิษณุโลกมาทดสอบความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลง 16 ชนิด โดยวิธีขององค์การอนามัยโลกและศึกษาการกลายพันธุ์ของยีน <em>para</em> ในยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์ โดยวิธี PCR และ DNA sequencing จากการศึกษาพบว่า ยุงลายบ้านมีความไวต่อ fenitrothion malathion และ fenobucarb โดยมีอัตราตายเฉลี่ย ร้อยละ 100 ที่ 24 ชั่วโมง แต่ดื้อต่อ pirimiphos-methyl, propoxur และสารไพรีทรอยด์ทั้ง 10 ชนิด โดยมีอัตราตายเฉลี่ยร้อยละ 3.00±2.00 -87.00±5.03 ซึ่งอัตราตายเฉลี่ยของยุงลายบ้านมีความต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) นอกจากนี้ พบการกลายพันธุ์ของยีน <em>para</em> ที่ V1016G ในยุงลายบ้าน โดยมีความถี่การกลายพันธุ์เฉลี่ยเท่ากับ 0.52 สารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต อาจเป็นทางเลือกสำหรับใช้ในการควบคุมยุงลายบ้านดื้อสารไพรีทรอยด์ระดับพันธุกรรมเพื่อป้องกันโรค ที่นำโดย ยุงลายบ้าน</p> ธัณญภักษณ์ มากรื่น, จริยา ครุธบุตร์, อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์, ชญาดา ขำสวัสดิ์ , จักรวาล ชมภูศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268254 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 2.ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชาวเขาเผ่าม้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269167 <p>การวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชาวเขาเผ่าม้ง ตำบลท่าข้าม อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวเขาเผ่าม้ง อายุ 20 – 60 ปี จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 30 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ใช้ระยะเวลาในการศึกษา 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired samples t-test และ Independent samples t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60 อายุเฉลี่ย 37.43 ปี สมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 43.3 กลุ่มเปรียบเทียบส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 53.3 อายุเฉลี่ย 39.4 ปี สมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 36.7 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (p-value &lt; 0.05) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value &lt; 0.05) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย มีค่าลดลงมากกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p-value &lt; 0.05)</p> กิตติยา มารังค์, สรวิศ บุญญฐี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269167 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 3. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับของผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คลินิกหมอครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268518 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในคลินิกหมอครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ รูปแบบเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ด้วยแบบสอบและประเมินภาวะนอนไม่หลับ ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 380 คนที่ผ่านการคัดเลือกแบบกำหนดสัดส่วน วิเคราะห์ด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Fisher’s exact test และ binary logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69.7 ปี พบความชุกของภาวะนอนไม่หลับร้อยละ 45.5 และสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับ รายได้ที่ไม่เพียงพอ (Adjusted odds ratio (AOR): 2.3, 95%CI: 1.5-3.5) การสูบบุหรี่ (AOR: 2.7, 95%CI: 1.1-6.3) การปัสสาวะกลางคืน (AOR: 1.7, 95%CI: 1.1-2.7) อาการปวด (AOR: 5.8, 95%CI: 1.9-17.6) โรคประจำตัวเบาหวาน (AOR: 1.6, 95%CI: 1.0-2.5) ความกังวลระดับต่ำ (AOR: 3.0, 95%CI: 1.5-6.0) หรือระดับปานกลาง (AOR: 8.5, 95%CI: 2.4-30.8) การตื่นนอนตรงเวลา (AOR: 0.6, 95%CI: 0.5-0.8) และการใช้ยานอนหลับบางวัน (AOR: 5.7, 95%CI: 3.0-10.9) หรือทุกวัน (AOR: 3.7, 95%CI: 1.5-9.2) ผลการศึกษาเป็นประโยชน์ในการวางแผนดูแลเพื่อลดผลข้างเคียงจากการใช้ยานอนหลับและผลเสียจากการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อไป</p> สุธิกานต์ บานเย็น Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268518 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 4.การศึกษาค่า discriminating concentrations ของสารเคมีกำจัดแมลง 5 ชนิด ในยุงลายบ้าน https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268255 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่า discriminating concentrations (DCs) ของ <strong>fipronil, bioresmethrin, d-trans allethrin, prallethrin และ s-bioallethrin และ</strong>ศึกษาความไวของยุงลายบ้านในพื้นที่ภาคสนามต่อสารเคมีกำจัดแมลงทั้ง 5 ชนิด ซึ่งการหาค่า DCs นั้นทำโดยการใช้ยุงลายบ้านที่มีความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลงมาทดสอบหาค่าความเข้มข้นของสารเคมีกำจัดแมลงที่ทำให้ยุงตายร้อยละ 99 (LC<sub>99</sub>) ด้วยวิธีการทดสอบความไวต่อสารเคมีกำจัดแมลงขององค์การอนามัยโลก ซึ่งค่า DCs มีค่าเท่ากับ 2 x LC<sub>99</sub> จากการศึกษาพบว่า discriminating concentrations ของ fipronil, bioresmethrin, d-trans allethrin, prallethrin และ s-bioallethrin อยู่ที่ร้อยละ 0.140, 0.674, 0.118, 0.084 และ 0.076 ตามลำดับ และเมื่อใช้สารในความเข้มข้นดังกล่าวมาทดสอบความไวกับยุงลายบ้านตัวเมีย รุ่น F1 จาก 9 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก ชุมพร จันทบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา นครปฐม ลำพูน ตราด และมหาสารคาม พบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการตายของยุงที่สัมผัส fipronil, s-bioallethrin, d-trans allethrin, prallethrin และ bioresmethrin มีค่าเท่ากับร้อยละ 98.67±1.91, 24.56±19.51, 18.56±15.00, 17.67±12.77 และ 16.33±18.08 ตามลำดับ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt;0.05) แสดงให้เห็นว่า ยุงจากพื้นที่ 9 จังหวัดข้างต้นยังมีความไวต่อ fipronil แต่มีความต้านทานต่อ s-bioallethrin, d-trans allethrin, prallethrin และ bioresmethrin ดังนั้นการใช้ fipronil จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ในการควบคุมยุงลายบ้านที่ดื้อต่อสารไพรีทรอยด์ในพื้นที่ได้</p> จริยา ครุธบุตร์ , ธัณญภักษณ์ มากรื่น , ชญาดา ขำสวัสดิ์ , อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ , จักรวาล ชมภูศรี Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268255 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 5.การพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตาบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269451 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของเคมมิส และแมคแท็กการ์ท กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 43 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จำนวน 4 คน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ภาคการเมือง ภาควิชาการ และภาคประชาชน จำนวน 39 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูล โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test &nbsp;ผลการศึกษา พบว่า การเตรียมความพร้อมในการจัดบริการหลังการดำเนินการมีมากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value</em> &lt; .001) และความรู้ของผู้สูงอายุ หลังการดำเนินการมีมากกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p-value</em> &lt; .001) ส่วนความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก สรุปผลการศึกษา พบว่าจากการได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้เกิดกระบวนการพัฒนารูปแบบเพื่อป้องกันการพลัด ตกหกล้มของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตาบลเทพสถิต อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ มีการดำเนินงานอย่างชัดเจนและต่อเนื่องและมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่</p> เวณุกา ชาติสูญญา, จตุพร เหลืองอุบล, วรพจน์ พรหมสัตยพรต Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269451 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 6.การสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบมีส่วนร่วม ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ กันยายน 2564 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269254 <p>วันที่ 13 กันยายน 2564 ทีมปฏิบัติสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก<br>ร่วมกับทีมในพื้นที่ดำเนินการสอบสวนโรค COVID-19 &nbsp;&nbsp;เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาของโรค เสนอแนะมาตรการป้องกันควบคุมโรค และประเมินผลการดำเนินงาน การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา ภาคตัดขวาง ประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม ศึกษาผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาการรับวัคซีน ศึกษาการรับรู้ของประชาชน การจัดทำแผน การนำแผนไปปฏิบัติ ประเมินผล ดำเนินการคัดกรองจำนวน 1,460 คน (ร้อยละ 8.84) ผู้ป่วยยืนยัน 22 ราย (ร้อยละ 17.80) ผู้ป่วยเข้าข่าย 101 ราย (ร้อยละ 82.10) เสียชีวิต 1 ราย (อัตราป่วยตาย 0.81) อัตราป่วยเพศหญิงต่อเพศชาย 1.23:1 &nbsp;การฉีดวัตซีนป้องกันควบคุมโรค COVID-19 &nbsp;กลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป เข็มแรกร้อยละ 47.75 เข็มที่ 2 <br>ร้อยละ 11.33 ประชาชนไม่ต้องการรับวัคซีนร้อยละ 38.2 สาเหตุไม่ฉีดวัคซีนคือ ไม่ได้เดินทางออกจากหมู่บ้านไม่กล้าฉีด การเสียชีวิตจากสื่อโซเชียล ทีมสอบสวนโรคจัดทำมาตรการเข้าออกหมู่บ้าน เฝ้าระวังคัดกรองด้วย Antigen test kit จัดระเบียบในกลุ่มร้านค้า และตลาด กักกันกลุ่มเสี่ยงที่สัมผัสผู้ป่วยให้ครบ 14 วัน เร่งรัดการฉีดวัคซีนและสื่อสารด้วยภาษาม้ง เสียงตามสาย DMHT และเฝ้าระวังผู้ป่วยจนถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 และติดตามผลการรับวัคซีน เข็มที่ 1 ร้อยละ 86.71 เข็มที่ 2 ร้อยละ 73.03</p> ภูดิศศักดิ์ ท่อศิริโภควัฒน์, วรรณา วิจิตร, สมจิตร บุญชัยยะ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269254 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 7.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ในตำบลบ้านโตก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/271754 <p>การศึกษาวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในตำบลบ้านโตก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง 341 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.4 ช่วงอายุ 41-50 ปี ร้อยละ 30.2 อาชีพรับจ้างอิสระร้อยละ 34.0 ไม่เคยมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง สูงสุดร้อยละ 57.2 ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 8.1, S.D. = 0.37) ความตระหนักรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( <em> </em><em>= </em>3.89, S.D. = 0.94) และพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก <br />( <em> </em>= 2.18, S.D. = 0.63) ความรู้และความตระหนักรู้ เรื่องโรคความดันโลหิตสูง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่0.05 (r = 0.205, p-value &lt; 0.001)<em>,</em> <br />(r = 0.280, p-value &lt; 0.001) ตามลำดับ</p> ดุษฎี พงษ์พิทักษ์, วราภรณ์ เปรมทอง Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/271754 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700 8.การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269452 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มเป้าหมาย 37 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนการจัดบริการ 25 คน และกลุ่มผู้รับบริการจากระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงพื้นที่เทศบาลตำบลเทพสถิต 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน <br /> ผลการศึกษา พบว่า เมื่อเปรียบเทียบระหว่างระยะก่อนและหลังพัฒนา กลุ่มผู้ที่มีส่วนในการขับเคลื่อนการจัดบริการที่มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว และระบบการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระดับมาก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.83 เป็น 83.34 คะแนนความรู้ก่อนและหลังการพัฒนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.001) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวระยะหลังการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79) และคะแนนการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (<em>p</em>&lt;.001) สำหรับความพึงพอใจของผู้สูงอายุพบว่า มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการบริการที่ได้รับอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.63) และความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.49)</p> <p>สรุปผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีการดำเนินงานตามแผน และมีระบบการติดตามการดำเนินงานทุกขั้นตอน ส่งผลให้ผู้รับบริการพึงพอใจ และการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์</p> จุฑามาศ ดิเรกโภค, จตุพร เหลืองอุบล, วรพจน์ พรหมสัตยพรต Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/269452 Fri, 30 Aug 2024 00:00:00 +0700