วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs <p>วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรคสคร.2 เป็นวารสารทางวิชาการ จัดเผยแพร่โดย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิทยาการเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ขอบเขตรวมโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ<em><strong>ต้องผ่านEC</strong></em> และการสอบสวนโรค งานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 จะต้องไม่เคยเผยแพร่ ตีพิมพ์หรือกำลังรอพิมพ์ในวารสารอื่น <a href="https://www.youtube.com/watch?v=9yaF84unBa4&amp;list=PLOrQT_hNaT1zyaEPwfbN5WdUbOQL_lQ0X">วิธีส่งบทความ </a></p> <ul> <li class="show"> <p><strong>แจ้งเปลี่ยนแปลงการเผยแพร่บทความวิชาการ เป็นวารสารออนไลน์</strong></p> <p>เปลี่ยนแปลงการเผยแพร่บทความวิชาการ เป็นวารสารออนไลน์เท่านั้น ไม่มีการพิมพ์เล่ม โดยสามารถสืบค้นบทความวิชาการได้จากเวปไซต์ มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป</p> </li> </ul> สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก th-TH วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2672-975X <p><span style="vertical-align: inherit;"><span style="vertical-align: inherit;">ข้อลิขสิทธิ์วารสาร </span></span></p> <p>บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี <a href="https://drive.google.com/file/d/1WtZAokFtImd6fFSHWQ4ewQ6ODmBtX4TJ/view">วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) </a></p> ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/267929 <p>การวิจัยเชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 476 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่อยู่ในระดับมาก (X ̅ = 2.45, S.D.= 0.43) โดยข้อที่ปฏิบัติได้ในระดับมาก ได้แก่ การปฏิเสธหากเพื่อนชวนให้สูบบุหรี่ (ร้อยละ 71.8) รองลงมาเป็นการปฏิเสธคนในครอบครัวหากถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ (ร้อยละ 70.6) เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณด้วยวิธี stepwise พบปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ทักษะชีวิต (β = 0.362, p &lt; 0.001) การทำหน้าที่ของครอบครัว (β = 0.203, p &lt; 0.001) ทัศนคติ (β = 0.131, p = 0.001) การดำเนินนโยบายป้องกันการสูบบุหรี่ในโรงเรียน (β = 0.127, p = 0.003) และบรรทัดฐานการไม่สูบบุหรี่ (β = 0.109, p = 0.017) โดยทุกปัจจัยสามารถอธิบายการผกผันพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 40.7 ดังนั้น หน่วยงานที่ดูแลเด็กและเยาวชนควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะชีวิตให้มีทักษะการปฏิเสธ ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้น <br />โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดบุหรี่ โดยเริ่มจากครอบครัวสู่ชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน</p> ภัทรินทร์ ศิริทรากุล Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 89 89 ระดับความผูกพันของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268187 <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของเครซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยม ศึกษาชั้นปีที่ 3-6 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย การทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅=2.22 และ S.D.=0.63) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงได้แก่ อิทธิพลจากสื่อที่ปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ (r=0.119, p=0.000) อิทธิพลจากผู้ปกครอง (r=0.101, p=0.002) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน (r=0.105, p=0.000) และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน (r=0.098, p=0.019) สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> ปวีณา ทีฆภาคย์วิศิษฎ์ สุประวีณ์ ปภาดากุล จำเริญ มรฤทธิ์ ลักขณา ขุนชำนิ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 121 121 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268301 <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิง สุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของเครซี่และมอร์แกน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงชั้นมัธยม ศึกษาชั้นปีที่ 3-6 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย การทดสอบไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( &nbsp;x̅=2.22 และ S.D.=0.63) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นหญิงได้แก่ อิทธิพลจากสื่อที่ปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ (r=0.119, p=0.000) อิทธิพลจากผู้ปกครอง (r=0.101, p=0.002) อิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน (r=0.105, p=0.000) และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน (r=0.098, p=0.019) สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ในการออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมในการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป</p> ธิติรัตน์ ราศิริ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 107 107 คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/264435 <p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป G*Power ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 122 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีหยิบฉลากแบบไม่คืน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบประเมินระดับการพึ่งพาของผู้ป่วย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลโดยสถิติไคสแควร์และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอเมือง จังหวัดตรัง โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดหลือดสมองในอำเภอเมือง จังหวัดตรังอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 47.15, 96.13 S.D. 18.34) ระดับการพึ่งพาผู้ดูแลของผู้ป่วยอยู่ในระดับน้อย ( 14.1, S.D. 7.3) การสนับสนุนทางสังคมต่อผู้ดูแลอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 60.2, 3.55 S.D .73) ระดับการพึ่งพาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแลในระดับต่ำ(r =.372, p&lt;.001) และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลมีสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ดูแลในระดับปานกลาง(r =.667, p&lt;.001)</p> วันเต็ม สังข์ขาว Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 1 1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดในบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/264893 <p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อ วัณโรคปอด และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอดในบุคลากรสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 370 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ช่วงเดือนเมษายนพ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติอนุมานโดยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.97 อายุเฉลี่ย 32.71 ปี <br />(ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 8.66 ปี) มีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด ระดับดี ร้อยละ 78.11 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อวัณโรคปอด ได้แก่ อายุ (Adjusted odds ratio [aOR] = 1.96, 95% CI : 1.17-3.30, P-value = 0.011) สิ่งแวดล้อม (aOR = 2.02, 95% CI : 1.18-3.45, P-value =0.010) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล (aOR=3.62, 95%CI: 1.29-10.11, P-value = 0.014) การเข้าใจข้อมูล (aOR =5.66, 95%CI: 2.35-13.62, P-value &lt;0.001) การวิเคราะห์ ประเมินข้อมูล (aOR = 2.50, 95% CI : 1.14-5.47,P-value =0.021) ดังนั้น ควรเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้เข้าปฏิบัติงานใหม่ อายุน้อยกว่า 30 ปี เกี่ยวกับป้องกันการติดเชื้อจากการปฏิบัติงานและการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันการติดเชื้อวัณโรคและโรคอื่น</p> วนิษา ผิวนางงาม สุทิน ชนะบุญ ลำพึง วอนอก Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 14 14 ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/265431 <p>การวิจัยแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ประชากรคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 2,164 คน โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Daniel เท่ากับ 345 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้เพื่อวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง (97.68%) พฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 (89.28%) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ (r=0.193, P-value&lt;0.001) การสื่อสารเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ (r=0.108, P-value=0.044) การตัดสินใจเลือกปฏิบัติ (r=0.422, <br />P-value&lt;0.001) การจัดการสุขภาพตนเองและครอบครัว (r=0.199, P-value&lt;0.001) การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ (r=0.446, P-value&lt;0.001) ตามลำดับ</p> อัจฉรา สุหิรัญ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 30 30 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ในการเตรียมเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/266585 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนที่มีอายุ 50 – 59 ปี ในพื้นที่ 4 หมู่บ้านรอบวัดโพธิ์ชัยวนาราม ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ทุกคน จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถาม เพื่อนำข้อมูลใช้นำร่องในการทำการวิจัยเรื่องประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุโดยใช้วัดเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน </p> <p> ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุอยู่ในระดับดี และเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ พบว่า เพศ อาชีพหลัก รายได้ โรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุ (p &lt; 0.05) และความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุในทิศทางบวก (r = 142 , p &lt; 0.05) และ (r = 248 , p &lt; 0.01)</p> ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม บุษกร สุวรรณรงค์ สนธยา ไสยสาลี สุรศักดิ์ ธรรมรักษ์เจริญ จุฑามาศ เจียมสาธิต Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 42 42 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบูรณ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/267718 <p>การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 412 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล &nbsp;2) ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ความปลอดภัยทางน้ำ การรับรู้การจมน้ำ ทัศนคติป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ &nbsp;3) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ทักษะเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ การเข้าถึงแหล่งน้ำ การอบรมความปลอดภัยทางน้ำและทักษะว่ายน้ำผู้ปกครอง 4) ปัจจัยเสริม ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม 5) พฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาแบบสอบถาม = .67–1.00 ค่าความเชื่อมั่น = .702–.801 วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ที่ระดับนัยสำคัญ .05&nbsp; ผลการศึกษาพบ นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ระดับสูง (=4.02, S.D.=0.67) และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำของนักเรียน ได้แก่ การรับรู้การจมน้ำ ทัศนคติป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ และแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ร้อยละ 46.5 (R=0.682, Adj R<sup>2</sup>=0.457) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ดังนั้น โรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ และปรับทัศนคติที่ถูกต้องในการป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ครอบครัวและโรงเรียนควรสนับสนุนด้านทรัพยากร ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ การดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำที่เหมาะสม</p> เธียรรัตน์ ธีร์ระพิบูล ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 57 57 ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์แบบเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการลดค่าความดันโลหิตและ ค่าดัชนีมวลกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/dpcphs/article/view/268027 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความดันโลหิตและดัชนีมวลกายของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ที่ขึ้นทะเบียนรับการรักษาในคลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการสัมภาษณ์แบบเสริมสร้างแรงจูงใจ ระยะเวลา 8&nbsp; สัปดาห์ เก็บข้อมูลค่าความดันโลหิตและค่าดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t- test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิคหลังการทดลอง(132.14) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(152.28) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 &nbsp;มีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิคลิคหลังการทดลอง(79.72)ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(95.66) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายหลังการทดลอง(28.53) ต่ำกว่าก่อนการทดลอง(28.89 )แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากผลการศึกษาพบว่า โปรแกรมการสัมภาษณ์แบบเสริมสร้างแรงจูงใจสามารถลดค่าความดันโลหิตและค่าดัชนีมวลกายของกลุ่มตัวอย่างได้</p> ปิยะฉัตร วงศ์วัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-05 2024-02-05 11 1 76 76