ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามแนวคิดนาฬิกาชีวิตกับคุณภาพชีวิตของ ชาวนาที่มีสุขภาพแข็งแรง : กรณีศึกษา หมู่ 2 ตําบลป่าแฝก อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ชัยณรงค์ ทัศนา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การปฏิบัติตนตามแนวคิดนาฬิกาชีวิตกับคุณภาพชีวิตชาวนาที่มีสุขภาพแข็งแรง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนหมู่ที่ 2 ตําบลป่าแฝก อําเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย มีอาชีพชาวนาอายุ 35 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ใน พื้นที่ไม่น้อยกว่า 6 เดือนและได้รับการคัดกรองสุขภาพในปีงบประมาณ 2556 อยู่กลุ่มปกติ จํานวน 48 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถาม พฤติกรรมการปฏิบัติตนเป็นประจําในแต่ละวันของ 12 ช่วงเวลาที่สอดคล้องกับแนวคิดนาฬิกาชีวิต และ แบบประเมินคุณภาพชีวิต ซึ่งผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ทดสอบความเที่ยงตรง ของแบบสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติตนเป็นประจําในแต่ละวันของ 12 ช่วงเวลาที่สอดคล้องกับแนวคิดนาฬิกา ชีวิต เท่ากับ 0.60 และแบบประเมินคุณภาพชีวิตเท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มประชากรชาวนาที่มีสุขภาพแข็งแรงมีพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่สอดคล้องกับหลัก แนวคิดนาฬิกาชีวิตของชาวนาที่มีสุขภาพแข็งแรง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี จํานวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 93.8 ระดับ ปานกลาง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 มีคุณภาพชีวิตโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี จํานวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 52.1 ระดับปานกลาง จํานวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 48.9 การนอนหลับสนิทในช่วงเวลา 01.00-03.00 น. มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตชาวนาที่มีสุขภาพแข็งแรงด้านจิตใจ และโดยรวม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งควรทําวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อนําข้อมูลที่ได้ในเชิงลึก มาพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน ในชุมชนที่เหมาะสมให้มีประสิทธิภาพสามารถป้องกันตนเองไม่เกิดโรคต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. โรงพยาบาลกงไกรลาศ.ระบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังจากโปรแกรมHOSXP PCU ปี 2553-2555.สุโขทัย
โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย:2556

2. โรงพยาบาลกงไกรลาศ.ระบบงานบัญชี1(กลุ่มประชากรทุกกลุ่มอายุ)จากโปรแกรม HOSxP PCU ปี 2556.สุโขทัย.โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย:2556

3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.แผนพัฒนาสุขภาพในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11พ.ศ. 2555-2559. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ; 2555

4. จันทร์เพ็ญ สันตวาจา.แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีและกระบวนการพยาบาล.พิมพ์ครั้งที่ 6.นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชนก; 2553

5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.ทริคดื่มนมตามนาฬิกาชีวิต.(อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 พ.ย.2556]: เข้าถึงจากhttp://www.thaihcalthor.th/content/6959.

6. ภาสกิจ วัณนาวิบูล.นาฬิกาชีวิตกับวิถีแห่งธรรมชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ.หมอชาวบ้าน: 2555

7. โรงพยาบาลกงไกรลาศ.ระบบคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังจากโปรแกรมHOSXP PCU ปี 2556.สุโขทัย.โรงพยาบาลกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย;2556

8. สุทธิวัสส์ คำภา.นาฬิกาชีวิต ตอน เปิดตู้เย็นเป็นตู้ยา.พิมพ์ครั้งที่ 4.นนทบุรี:แปลน พริ้นท์ดิ้ง: 2555

9. วิเชียร เกตุสิงห์ .สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย.กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช ;2538:10-15

10. สุวัฒน์ มหัตนิรันคร์และคณะ.เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตของการองค์การอนามัยโลก100ตัวชี้วัดและ26 ตัวชี้วัด.เชียงใหม่:โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540

11. คงคา หิมาลัย.นาฬิกาชีวิตเพื่อสุขภาพดีและมีความสุข.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คลื่นอักษร: 2555. 208 หน้า12. นิตยสาร Health Today.อาหารเช้าด้านโรค.(อินเตอร์เน็ต].([ข้าถึงเมื่อวัน 10 ม.ค. 2556]; เข้าถึงได้จาก http://www.med.cmu.ac.th/hospital/opdhealth/morningfood.htm.

13. ฉันทนา แรงสิงห์ . คุณภาพการนอนหลับและภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์,บัณฑิตวิทยาลัย
,กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2550

14. ผาณิตา ชนะมณีและคณะ.คุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษามหาวิทยาลัยในภาคใต้.สงขลา
นครินทร์เวชสาร2549:24:163-173

15. สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.คุณภาพชีวิตคนไทยปี 2555.กรุงเทพฯ;สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : 2555

16.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 7ประโยชน์ดีๆของการตื่นเช้าที่คุณอาจคาดไม่ถึง.เอินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวัน18 ม.ค. 2556]; เข้าถึงได้จากhttp:/health.kapook.com/view๘b๕๓๑.html.