การศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขตเมืองและเขตชนบท จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ประการ เข้มแข็ง
นันทยา อ่อนคง
มณีรัตน์ วงศ์พุ่ม

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ(Health Literacy) และพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. (ออกกําลังกาย การบริโภคอาหาร,การจัดการความเครียดทางอารมณ์ การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา)ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขตเมืองและเขตชนบท จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อนําข้อมูลไปใช้ในการกําหนดกลยุทธ์การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในการป้องกันควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดําเนินการศึกษาโดยรวบรวม ข้อมูลจากประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จากระบบการคัดกรอง ในปีงบประมาณ 2557 ทั้ง 9 อําเภอ โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) ในเขตชุมชนเมือง เขตเทศบาล) และเขตชนบท จํานวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ ได้แก่ Independent t-test, chi-square


ผลการศึกษาเปรียบเทียบ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ในเขตเมืองและ เขตชนบท พบว่า ความรู้และความเข้าใจพื้นฐานฯ มีความแตกต่างทางสถิติ ค่า p-value = ๐.๐๐ (p < 0.05) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.0 ในเขตชนบท ซึ่งสูงกว่าเขตเมือง คือ 6.3 (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) และด้านการเข้า ร่วมกิจกรรมสุขภาพทางสังคมฯ ของกลุ่มเสี่ยงฯของเขตเมืองและเขตชนบท ไม่มีความแตกต่างกัน ค่า p-value =0.2 (p < 0.05) โดยพบว่าค่าเฉลี่ยในเขตชนบทสูงกว่าเขตเมือง คือ 10.6 และ 9.7 ตามลําดับ(คะแนนเต็ม 20 คะแนน) และพบว่ากลุ่มเสี่ยงมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านเกณฑ์ที่กําหนด ร้อยละ 73 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 70.1 และมีขั้นความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านเกณฑ์ในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน คือ ขั้นสื่อสารปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ร้อยละ 70.5 ขั้นการคิดวิจารณญาณหรือวิพากษ์ ร้อยละ 70.5 และขั้นพื้นฐาน (เป็นผู้มีทักษะทางปัญญาด้านสุขภาพ) ร้อยละ53 และแยกรายองค์ประกอบของความรอบรู้ด้านสุขภาพ พบว่า อยู่ในระดับสูง ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ พื้นฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักพฤติกรรม 3อ.2ส. ซึ่งกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ในระดับความรู้สูง ร้อยละ 60 และอยู่ในระดับพอใช้ ได้แก่ ด้านทักษะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านทักษะการจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพของ ตนเอง, ด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และด้านทักษะการตัดสินใจและเลือกที่ถูกต้อง และยังพบว่าทักษะการสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอ สําหรับด้านพฤติกรรมสุขภาพ ด้านการปฏิบัติตัวตามหลัก 3อ. ส. กลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 77.1 ซึ่งระดับพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.2ส. อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 67.3 รองลงมามีทักษะการปฏิบัติตัวฯ ในระดับไม่เพียงพอ ร้อยละ 23.0 ซึ่งจากการศึกษา ครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ควรมีการประเมินวัดความรอบรู้ทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เกิดประสิทธิผล และใช้กระบวนการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ เป็นกลยุทธ์หลักสําคัญเริ่มต้นในแผนงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ตามกลุ่มวัยและโรคที่เป็นปัญหาตาม แผนพัฒนา ระบบบริการสุขภาพ 

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1.วิชัย เอกพลากร,เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม,สุรศักดิ์ ฐานี พานิชสกุล,หทัยชนก พรรคเจริญ. การสำรวจสุขภาพประชาชน'ไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2. นนทบุรี: เดอะ กราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด.หน้า 1-5,17.

2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูล 21 แข้ม. (วันที่คันข้อมูล 10 สิงหาคม 2557). เข้าถึงได้จาก : http:/www.thaincd.com/information-tatistic/brfss-data.php.

3. ขวัญเมือง แก้วคำเกิง,นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร.ความฉลาดทางสุขภาพ.กองสุขศึกยา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.กรุงเทพฯนิวธรรมดาการพิมพ์: 2554.

4. Nutbeam, D. Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary Health education and communication strategies into health 21"century. Health Promotion International. 2000.15(8).

5. เบญจมาศ สุรมิตร ไมตรี. การศึกษาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความจลาดทางสุขภาพของคนไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. 2556.

6.ปุระชัยเปี่ยมสมบูรณ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม : การสังคราะห์และบูรณาการ. 2529 ปรับมาจาก Krejcie, R.V.and Morgan D.W. " Determnining SampleSize for Research Activities. " Psycholological measurment . 1970 : 607-610,อ้างถึงในสุจิตรา บณยรัตพันธุ์. ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. 2534 :
176-177.
7.จุฑามณี กันกรุง, ไพลิน เขียวอินทร์, สุนรี แซ่เถาและ จิตศิริน ลายลักษณ์. การศึกมาความฉลาดทางสุข
ภาวะของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2557.
8.อังศินันท์ อินทรกำแหง.การสังเคราะห์และการพัฒนาดัชนีวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทยอายุ เรปีขึ้น
ไป ในการส่ งเสริมค้ำานอาหาร ออกกำลังกาย จัดการอารมณ์ งดสุราและสูบบุหรี่. 2556 (วันที่คันข้อมูล 26
กันยายน 2558). เข้าถึงได้จาก: http:/sris.swu.ac.th/upload/158.pdf.
9.กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาสถานการณ์ความ
รอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง. 2556; 1-102.
10.อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความแตกฉานด้านสุขภาพของคนไทยอายุ เร ปีขึ้น ไป ในการปฏิบัติดาม
หลัก 30 2ส (ABCDE-Health Literacy Scale of ThaiAdults). 2557.