คุณภาพชีวิตของบุคคลที่เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแม่ทะ จ.ลําปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลแม่ทะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาคือผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่คลินิกโรคเรื้อรังของ โรงพยาบาลแม่ทะจํานวน 245 ราย กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เก็บข้อมูลโดย การใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก ชุดย่อฉบับภาษาไทยที่องค์การอนามัยโลกยอมรับ อย่างเป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง อยู่ในระดับ ปานกลางร้อยละ 74.5 คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดีร้อยละ 82.8 ด้านจิตใจ อยู่ในระดับดีร้อยละ 77.4 และคุณภาพชีวิตด้านสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 11.5 โดยอายุ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (P-value = 0.018) ส่วนปัจจัยด้าน เพศ สถานภาพสมรส อาชีพ ระยะเวลาที่เป็นโรค ระดับความดันโลหิต ค่าดัชนีมวลกาย และระดับ น้ําตาลในเลือดไม่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
Article Details
ข้อลิขสิทธิ์วารสาร
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร. 2 พิษณุโลก เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน กองบรรณาธิการวิชาการ และ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลกไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วยทั้งหมดหรือร่วมรับผืิดชอบใดๆ หากพบว่าบทความของท่านมีการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism) มากกว่า 25 เปอร์เซ็นวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์เผยแพร่ทุกกรณี วิธีตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (plagiarism)
References
2. สมร พรหมพิทักษ์กุล. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานของศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร.วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 2553:40(3):343-355.
3.เสกสรร หีบแก้ว. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอกุฉินาราย จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารวิจัย และพัฒนาระบบสุขภาพ.2555; 2007 -2013.
4.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง . รายงานประจำ ปี 2556.
5.สุรชัย โชคครรชิตไชยและคณะ. การดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรมัการเกษตร
แห่งประเทศไทย:2554.
6.ราเชษฐ เชิงพนม. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่
คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลคลองหาด จังหวัดสระแก้ว.วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2551: ฉบับที่ 25
7.สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศาสตร์ รายงานการวิจัย คุณภาพชีวิตของคนไทยปี 2553:7-10.