การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 8 ตําบลจอมทอง อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

จีระศักดิ์ ทัพผา
ดิเรก ดิษฐเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก : กรณีศึกษาชุมชนบ้านท่าโพธิ์ หมู่ที่ 8 ตําบลจอมทอง อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของโรคไข้เลือดออก คิดเป็นร้อยละ 82.5 มีส่วนร่วมในการ จัดทําแผนการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก คิดเป็นร้อยละ 71.8 มีส่วนร่วมในการดําเนินงานป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออก คิดเป็นร้อยละ 71.6 และมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออก คิดเป็นร้อยละ 48.1 ปัญหาการมีส่วนร่วม คือ ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์ ปัญหาและสาเหตุปัญหาของโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับปานกลาง (x=2.52) แผนการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออกที่ชุมชนสร้างขึ้นไม่สอดคล้องกับปัญหาอย่างแท้จริง อยู่ในระดับน้อย (1-2.45) ชุมชนไม่ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ในการดําเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก อยู่ในระดับน้อย (X=2.32) ประชาชนขาดความรู้ ขาดความเข้าใจและขาดทักษะในการติดตามและประเมินผลการดําเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับน้อย (=2.28) และความต้องการการมีส่วนร่วม คือ ประชาชนต้องการมี ส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในระดับมาก (X-442) ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่พัฒนาขึ้นมี 1 รูปแบบ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างความ ตระหนักถึงปัญหาและสาเหตุโรคไข้เลือดออกของชุมชน ขั้นตอนที่ 2 การจัดทําแผนการป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 3 การดําเนินงานป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก ขั้นตอนที่ 4 การติดตามและประเมินผล ป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก เมื่อนํารูปแบบไปทดลองใช้กับประชาชน พบว่า ประชาชนในชุมชนทุกครัวเรือน ได้ดําเนินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกใน 4 ขั้นตอน ทุกกิจกรรม และผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้ง 4 ขั้นตอน พบว่า มีความสอดคล้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และมีการยอมรับได้

Article Details

บท
บทความวิชาการทั่วไป

References

1. รุ่งกานต์ ศรลัมพ์. การส่งเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชนในกรมควบคุมโรคติดต่อ. ในคู่มือโรค
ไข้เลือดออกฉบับประเกียรณก. นนทบุรี:กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2544.

2. โรคติดต่อนำโดยแมลง, สำนัก. คู่มือแนวทางการดำเนินงานการป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดย
แมลงสำหรับบุคลากรสาธารณสุขระดับอำเภอ.นนทบุรี:ม.ป.พ.(2554). 2554.

3. รัตนา เหมือนสิทธิ์. (ม.ป.ป.). การสำรวจลูกน้ำยุงลายของตำบลพุกร่าง. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

4. วิชิต สารกิจ และคนอื่นๆ. การพัฒนารูปแบบการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของ
ประชาชน.บุรีรัมย์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด.2553.

5. พอชม ฉวีวัฒน์. การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อโครงการประชาร่วมใจป้องกันและควบคุมโรค
ไข้เลือดออกเฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุ 72พรรษ กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2543.

6. สังคม ศุภรัตนกุล. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการควบคุมลูกน้ำยุงลายของประชาชนในเขต
เมืองจังหวัดหนองบัวลำกู. หนองบัวลำกู: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด. 2547.

7. อนุวัติ คูณแก้ว. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่ผลงานทางวิชาการเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ. โรงพิมพัแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. 2554.

8. เดชา บัวเทศ, วันเพ็ญ บัวเทศ และระพืพร บูรณคุณ. การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงลายของแกนนำชุมชนบ้านหนองคณที่หมู่ที่ 4 ตำบลทุกร่าง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี. สระบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1สระบุรี. 2547.

9. บัณฑร อ่อนคำ. รูปแบบการแก้ปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่โดยเน้นบทบาทชุมชนและระบบกลไก
ของรัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน : กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันยาเสพติดให้โทษ. 2539.