ผลของการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา เบาหวานขณะตั้งครรภ์ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งต่อสตรีมีครรภ์และทารกในครรภ์ ในปัจจุบันพบว่าสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากการทบทวนเวชระเบียนในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ระหว่างพ.ศ. 2560- 2565 พบสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์สูงถึงร้อยละ 53.49 ของสตรีที่มาฝากครรภ์ แต่ยังไม่มีแนวทางการดูแลสตรีมีครรภ์กลุ่มนี้ที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเอง และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังได้รับความรู้ของสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดในสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน 22 ราย ณ หน่วยฝากครรภ์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โดยมีการประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังการได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์ และการติดตามการเพิ่มขึ้นของน้ำหนัก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์และแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและPaired t-test
ผลการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ภายหลังได้รับความรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) และค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)
สรุปและข้อเสนอแนะ พยาบาลควรส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองสำหรับสตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การวินิจฉัย ผลกระทบต่อสตรีมีครรภ์และทารกในครรภ์ ร่วมกับการให้ความรู้ในการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ได้แก่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายขณะตั้งครรภ์ การจัดการอารมณ์และความเครียด ทำให้สตรีมีครรภ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการจัดการตนเองและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Thongson T, editor. Obstetrics. 6th ed. Chiang Mai: Department of Obstetrics and Gynecology Faculty of Medicine Chiang Mai University; 2021.
International Diabetes Federation [Internet]. Brussels: IDF; 2024. Gestational diabetes; 2024 [cited 2024 Dec 3]. Available from: https://idf.org/about-diabetes/gestational-diabetes/
Diabetes Association of Thailand. Clinical practice guideline for diabetes [internet]. Bangkok: Srimuang Printing; 2023 [cited 2023 Jul 14]. Available from: https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-wTAxoOu6yL_YL9c7IG/vie
Silbert-Falgg J, Pillitteri A. Maternal and child health nursing: care of the childbearing and childrearing family/Adele Pillitteri. 8th ed. . Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2018.
Gilbert L, Gross J, Lanzi S, Quansah DY, Puder J, Horsch A. How diet, physical activity and psychosocial well-being interact in women with gestational diabetes mellitus: an integrative review. BMC Pregnancy Childbirth. 2019;19(1):60.
Tiensawang N. Gestational diabetes sreening in Wangsapung hospital. Udonthani Hospital Medical Journal. 2018;26(2):148-56.
Kanfer FH, Gaelick-Buys L. Self-management methods. In: Kanfer FH, Goldstein A, editors. Helping people change: a textbook of methods. New York: Pergamon Press; 1991. P.334-89.
Subarto C, Indriani, Sulistyaningsih. Self-management on gestational diabetes mellitus: a systematic literature review. International Respati Health Conference [internet]. 2019[cited 2023 Jul 14] Available from: http://prosiding.respati.ac.id/index.php/PIC/article/view/79
Pingwong K, Sittipa K. Factors related to self-management behaviors among pregnant women at risk of gestational diabetes mellitus. Nursing Journal CMU. 2022;49(1):317-28.
Jaturongkachock K, Intarasan T, Plodpluang U. The development of health literacy for pregnant women at risk of gestational diabetes mellitus in Banpong hospital. Region 4-5 Medical Journal. 2023;42(3):431-44.
Krungsaenmuang T, Wattananukulk S. The effects of a health behavior promotion program on gestational diabetes mellitus among pregnant women with potential risks. Journal of Health and Nursing Education 2021;27(1):106-21.
Panmuang S, Sutthiprapa A, Phuakphan W. The development of self-care program for pregnant women with gestational diabetes mellitus. Journal of Health Research and Development Nakhon Ratchasima Public Health Provincial Office. 2023;9(1):130-44.