สาเหตุของการขาดนัดพบแพทย์ในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้น ที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

เกศสุดา หาญสุทธิเวชกุล
ปรียารัตน์ เนตรสุวรรณ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคสมาธิสั้นในเด็กวัยเรียนของประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาต่อเนื่องโดยการรับประทานยาและปรับพฤติกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มีผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นที่ขาดนัด และมีการโทรศัพท์ติดตามผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการนัดหมายต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการขาดนัดอย่างเป็นระบบ ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาสาเหตุการขาดนัดเพื่อนำไปแก้ปัญหาอย่างถูกต้องและพัฒนาระบบการดูแลที่เหมาะสม


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการขาดนัด และสาเหตุของการขาดนัดในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้น ที่คลินิกปัญหาการเรียน แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์


วิธีการศึกษา: การศึกษาพรรณนาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เก็บข้อมูลจำนวนผู้ป่วยที่ขาดนัดจากบันทึกเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2566 และสัมภาษณ์ผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้นที่อายุน้อยกว่า 18 ปีทุกรายที่สามารถติดต่อได้และยินยอมเข้าร่วมงานวิจัยผ่านทางโทรศัพท์ โดยเก็บข้อมูลสาเหตุของการขาดนัดและข้อมูลอื่นๆ นำมาวิเคราะห์และนำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทำการวิเคราะห์กลุ่มย่อยเพื่อเปรียบเทียบสาเหตุการขาดนัดระหว่างผู้ป่วยที่มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอเมือง กับผู้ป่วยต่างอำเภอหรือต่างจังหวัด โดยใช้สถิติ exact probability test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p <0.05


ผลการศึกษา: ผู้ป่วยสมาธิสั้นทั้งหมด 1,053 ราย มีจำนวนนัด 3,655 ครั้ง มีจำนวนที่ขาดนัด 484 ครั้ง (ร้อยละ 13.24) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 139 ราย ผู้ป่วยสมาธิสั้นที่ขาดนัดอายุเฉลี่ย 10.34±2.15 ปี สาเหตุของการขาดนัดพบแพทย์ได้แก่ กลัวโรคโควิด-19 ระบาด ร้อยละ 62.59 ยาเหลือหรือรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ร้อยละ 47.48 ระยะทางไกลและเดินทางลำบาก ร้อยละ 27.34 ไม่สะดวกมาในวันที่นัด ร้อยละ  20.14 ปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ร้อยละ  19.42  อาการดีขึ้น ร้อยละ  18.71 เจ้าหน้าที่ไม่สื่อสารแนะนำข้อมูล ร้อยละ 7.19 ไม่เห็นผลลัพท์จากการรักษา ร้อยละ  5.76 ผลข้างเคียงจากการใช้ยา ร้อยละ  5.04 ระยะรอคอยตรวจนาน ร้อยละ 2.88 และผู้ป่วยไม่ยอมรับประทานยา ร้อยละ  1.44 จากการวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่า ผู้ป่วยต่างอำเภอและต่างจังหวัดมีปัญหาเรื่องระยะทางไกลเดินทางลำบาก และมีปัญหาค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากกว่าผู้ป่วยในเขตอำเภอเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001 และ p-value = 0.005 ตามลำดับ)


สรุปและข้อเสนอแนะ: การขาดนัดในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้นมีหลายสาเหตุ การให้บริการที่ครอบคลุมมากขึ้นและเพิ่มช่องทางในการเข้ารับการรักษา เช่น การแพทย์ทางไกล การส่งยาทางไปรษณีย์ การเปิดให้บริการดูแลโรคสมาธิสั้นในพื้นที่ห่างไกล โดยรูปแบบการให้บริการดังกล่าวต้องให้ความรู้ เน้นย้ำเรื่องความสำคัญของการใช้ยาต่อเนื่อง การปรับพฤติกรรม การเฝ้าระวังผลข้างเคียงของยา และมาตามนัด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

REFERENCES

Salari N, Ghasemi H, Abdoli N, Rahmani A, Shiri MH, Hashemian AH, et al. The global prevalence of ADHD in children and adolescents: a systematic review and meta-analysis. Ital J Pediatr. 202320;49(1):48.

Visanuyothin T, Pavasuthipaisit C, Wachiradilok P, Arunruang P, Buranasuksakul T. The prevalence of attention deficit/hyperactivity disorder in Thailand. Journal of Mental Health of Thailand. 2013;21(2):66-75.

Boon-yasidhi V. Attention deficit hyperactivity disorder:diagnosis and management.

J Psychiatr Assoc Thailand. 2012;57(4):373-86

Reale L, Bartoli B, Cartabia M, Zanetti M, Costantino MA, Canevini MP, et al. Comorbidity prevalence and treatment outcome in children and adolescents with ADHD. Eur Child Adolesc Psychiatry. 2017;26(12):1443-57.

Apinuntavech S. Treatment of ADHD with medication and psychosocial therapy in Thailand. Siriraj Med Bull. 2019;9(3):175-81.

Cuffe SP, Visser SN, Holbrook JR, Danielson ML, Geryk LL, Wolraich ML, et al. ADHD and Psychiatric Comorbidity: Functional Outcomes in a School-Based Sample of Children. J Atten Disord. 2020;24(9):1345-54.

Van Cleave J, Leslie LK. Approaching ADHD as a chronic condition: implications for long-term adherence. J Psychosoc Nurs Ment Health Serv. 2008;46(8):28-37.

Athipongarporn A, Limsuwan N. Reasons of poor treatment adherence in children and

adolescents with ADHD. Journal of the Psychiatric Association of Thailand. 2018;63(1):

-46. 9. Mechler K, Banaschewski T, Hohmann S, Häge A. Evidence-based pharmacological treatment options for ADHD in children and adolescents. Pharmacol Ther. 2022;230:107940.

Ingram S, Hechtman L, Morgenstern G. Outcome issues in ADHD: adolescent and adult long‐term outcome. Mental retardation and developmental disabilities research reviews.1999;5(3):243-50.

Kendzerska T, Zhu DT, Gershon AS, Edwards JD, Peixoto C, Robillard R, et al. The effects of the health system response to the COVID-19 pandemic on chronic disease management: a narrative review. Risk Manag Healthc Policy. 2021;14:575-584.

Ayele TA, Alamneh TS, Shibru H, Sisay MM, Yilma TM, Melak MF, Bisetegn TA, Belachew T, Haile M, Zeru T, Asres MS. Effect of COVID-19 pandemic on missed medical appointment among adults with chronic disease conditions in Northwest Ethiopia. Plos one. 2022 ;17(10):e0274190.

Parkin R, Nicholas FM, Hayden JC. A systematic review of interventions to enhance adherence and persistence with ADHD pharmacotherapy. J Psychiatr Res. 2022;152:201-18.

Boland H, DiSalvo M, Fried R, Woodworth KY, Wilens T, Faraone SV, et al. A literature review and meta-analysis on the effects of ADHD medications on functional outcomes. J Psychiatr Res. 2020;123:21-30.

Omokanye SA, Adeleke IT, Adekanye AO. Missed appointment at specialist outpatient clinics: The Federal Medical Centre, Bida, Northern Nigeria experience. Int J Biol. Pharm Sci Arch. 2021;1:133-44.

Alhamad Z. Reasons for missing appointments in general clinics of primary health care center in Riyadh Military Hospital, Saudi Arabia. Int J Med Sci Public Health. 2013;2(2):258-67.

Parkin R, Mc Nicholas F, Hayden JC. A systematic review of interventions to enhance adherence and persistence with ADHD pharmacotherapy. Journal of Psychiatric Research. 2022;152:201-18.

Sitholey P, Agarwal V, Chamoli S. A preliminary study of factors affecting adherence to medication in clinic children with attention-deficit/hyperactivity disorder. Indian J Psychiatry. 2011;53(1):41-4.