การบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีผลกระทบที่รุนแรงเช่น สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่มีผู้ป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขได้นำระบบบัญชาการเหตุการณ์มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข และมีนโยบายกระจายการดำเนินงานสู่ภูมิภาคในระดับจังหวัด แต่การดำเนินงานดังกล่าวต้องมีการปรับใช้ตามสถานการณ์ ศักยภาพองค์กร และบริบทในพื้นที่
วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงราย 2. เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดเชียงราย นำไปประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในรูปแบบเกิดพร้อมกัน ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากจากเอกสาร รายงานการถอดบทเรียน รายงานการประชุม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา: จังหวัดเชียงราย ดำเนินการเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์การระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 วางระบบป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 โดยระบบบัญชาการเหตุการณ์ เพื่อบัญชาการและประสานระหว่างหน่วยงาน ด้วยหลัก 2P2R ได้แก่ การดำเนินงานป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม การตอบโต้ และการฟื้นฟู โดยอาศัยกลไกคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงราย บูรณาการการดำเนินงานในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และชุมชน การประเมินผลการดำเนินงานบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงราย พบว่าอยู่ในระดับสูง (Mean=2.49, SD=0.63) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในจังหวัดเชียงราย ได้มีการปรับโครงสร้างการบัญชาการเหตุการณ์ให้เข้ากับสภาพปัญหาในพื้นที่และศักยภาพขององค์กร นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติและมาตรฐานการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติจริง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรทุกระดับและทุกภาคส่วน
สรุปและข้อเสนอแนะ: ก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 จังหวัดเชียงรายไม่มีแผนเตรียมรับมือภัยพิบัติตามหลัก 2P2R และบทบาทผู้รับผิดชอบไม่ชัดเจน เมื่อเกิดเหตุการณ์พบปัจจัยความสำเร็จในด้านการบัญชาการเหตุการณ์ และความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่พบอุปสรรคในการวางแผนจัดการโรคอุบัติใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทพื้นที่และความหลากหลายของชนชาติพันธุ์ หลังเกิดเหตุการณ์สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายจึงมีการเตรียมความพร้อมปรับปรุงแผนต่างๆ และปรับโครงสร้างการบัญชาการเหตุการณ์โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ข้อเสนอแนะควรมีการทบทวนแผน และบทบาทหน้าที่ตามผังโครงสร้างการบัญชาการเหตุการณ์ทุกปี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Disease Control. COVID-19 Situation Review Report and measures to control and prevent at the world level and in Thailand [Internet]. [cited 2023 Jan 10] Available from: http://www.thaincd.com/document/file/download/knowledge/COVID19.65.pdf
National Statistical Office. . Analysis report on the COVID-19 pandemic situation in Satun Province, 2021. Satun: Satun Printing House; 2021.
Institute for Population and Social Research Mahidol University. Impact of COVID-19 on the health of Thai people [internet]. [cited 2023 Jan 10]. Available from: https://www.thaihealthreport.com/file_book/Indicator2565.pdf
Thai Health Resourcecenter. Thai health report 2022 [internet]. [cited 2023 Jan 10]. Available from: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/thaihealthwatch
Limsringam P, Sasithanakornkaew S, Apisupachoke W. Information perception concerning novel coronavirus (COVID-19) through social media on the attitudes and preventive behaviors of citizens in Bangkok. Journal of MCU Nakhondhat 2021;8(9):18-33.
Emerging Infectious Diseases. Communicable Disease Academic Development Divison. Situation of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) public health measures and problems, obstacles, disease prevention and control in travelers [Internet]. 2021 [cited 2023 Jan 10]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Coronavirus Disease (COVID-19) [internet] 2022 [cited 2023 Jan 10]. Available from: https://pr.moph.go.th/_WEBADMIN/uploads/attfiles/4bjuv2rsuxickckwc.pdf"
Bureau of General Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Infectious diseases on international borders [Internet]. 2015. [cited 2019 Jan 14]. Available from: http://k4ds.psu.ac.th/ncd/situation
Best John W. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall; 1977.
Siriboriruk J, Prueksaritanond S. COVID-19. Burapha Journal of medicine 2020;7(1):89-95.
Aeungsusak K, Chunsuttiwat S. Thailand: Transition from “Semi-Lockdown” to Stability. Journal of Health Science 2020;29(2):377-80
Wijit W, On-in P, Saadrat K, and Sukprasan T. A comprehensive surveillance, prevention and control of the Coronavirus Disease 2019 model of large enterprises Phitsanulok Province, year 2021. Journal of Roi Kaensarn Academi 2022;7(10):393-410.
Laoluekiat S, Pipatnoraseth S, Anuntariyakoon C. Assessment on the prevention and control system for Corona Virus 2019 (COVID-19) in Phaholpolphayuhasena Hospital, Kanchanaburi Province. J Heal Sci. 2023;32(3):479–87.
Darun P, Waisaen C, Keawnissai A, Sangpech V. Evaluation of Public Health Emergency Operations Center: Case of dengue hemorrhagic fever in Beung Kan Province, 2019. Nursing, Health, and Education Journal 2020;3(2):3-17.
Worachat D, Nuntapanich C, Prasanthong R, Kunchusawad P. Development of public health emergency and disaster operations center: Chachoengsao Province. J Prapokklao Hosp Clin Med Educat Center 2018;35(2):190-202.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Framework for the development of emergency response centers and event management systems in public health emergency situations. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2015.
Leuang-On V. Business continuity plan (BCP) development guide within organizations for preparedness: the case of emerging infectious disease outbreak. Nonthaburi: Royal Thai Army Triamudom Suksa School;2013.
Sansiritawisuk G, Ditwiset W, Romyen L. A comparison of urban and rural communities management approaches to control the outbreak of COVID-19 in the 10th public health region. Journal of Management Science Sakon Nakhon Rajabhat University 2021;1(1):1-15.
Changchuea W, Mayomthong N. Effectiveness of the mechanism for surveillance, prevention and control of coronavirus disease 2019 by the provincial communicable disease committee, Ang Thong Province. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand 2021;11(3):506–27.