รูปแบบความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ศักดิ์ดา ธานินทร์
พิชญา ตาจุ่ม

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ปัญหากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถือได้ว่าเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนและการพัฒนาประเทศ หากกลุ่มเสี่ยงได้รับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคความดันโลหิตสูง จะทำให้สามารถป้องกันการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานด้านสุขภาพ ควรเป็นแบบอย่างที่ดีรวมทั้งถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่ประชาชน


วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน  2. เพื่อค้นหาระดับความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ในรูปแบบเกิดพร้อมกัน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุมกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยแบ่งการพัฒนาหน่วยบริการสาธารณสุขเป็น 4 โซนและคำนวณจากสัดส่วนของแต่ละอำเภอ 4 อำเภอ รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 455 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 40 คน  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหาโดยมุ่งประเด็นการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมของบุคลากรสาธารณสุข การปฏิบัติงานจริง การพัฒนาความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูง


ผลการศึกษา: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูงโดยรวมระดับดีมาก แยกรายด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านการเข้าถึงข้อมูล ด้านการสื่อสารสุขภาพ ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการตัดสินใจปฏิบัติที่ถูกต้องระดับดีมาก ส่วนด้านการจัดการตนเองระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมสุขภาพระดับดีมาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล การจัดการข้อมูล การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้ ส่วนปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และพฤติกรรมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง  


สรุปและข้อเสนอแนะ : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคความดันโลหิตสูงระดับดีมาก  ส่วนด้านการจัดการตนเองอยู่ในระดับปานกลาง จะเห็นได้ว่า เมื่อพิจารณาองค์ประกอบด้านการจัดการตนเอง พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ความเข้าใจ แต่ขาดความตระหนักถึงผลกระทบที่ตามมาให้เกิดการจัดการตนเองไม่เพียงพอ ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายควรมีนโยบายในการพัฒนาความรอบรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้านการจัดการตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง ให้การสนับสนุนงบประมาณหรือสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในชุมชน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Hypertension fact sheet 2020 [cited 2023 20 October 2023]. Available from: http://www.searo.who.int/linkfiles/non_communicablw_diseaea_hypertension-fs.pdf.

Strategic Group plan and evaluate Division of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual Report 2021 Nontaburi 2021 [cited 2023 20 October 2023]. Available from: https://thaincd.com/paper-manual/NCDAnnual_Report2564.pdf.

Health Data Center of Non-communicable diseases [Internet]. 2022. Available from: https://cri.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361.

Department of Health Service Support, Ministry of Public Health. Tools for individuals with hypertension in the community to modify health behaviors Nontaburi2022 [cited 2022 20 October 2022]. Available from: http://www.hed.go.th/linkHed/453.

Wiang Chai District Public Health Office. Annual report of Wiang Chai District Public Health Office a fiscal year 2021. In: Office WCDPH, editor. Chiang Rai Province2021. p. 125.

Chonlathit U. Health Literacy Concept and Definition [cited 2022 20 October 2022]. Available from: https://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplayCategory.php?id=11.

Rathachatranon W. Determining an Appropriate Sample Size for Social Science Research: The Myth of Using Taro Yamane and Krejcie & Morgan Method. Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies. 2019;8(2):11-28.

Boontham K. Techniques for creating a data collection tool for research. 7th edition ed. Bangkok: Si Anan Phim; 2010.

Taweesak N. Qualitative Research Methods Volume 2: Practical Guide for Applied Research for Development of People, Organizations, Communities, Society. 2nd Edition ed. Nakhon Ratchasima: Chok Charoen Marketing; 2006.

Wansiri N. Health Literacy in Thai Elders in Senior Citizens Club of Bangkok. Bangkok: Chulalongkorn University

Techavijitjaru C., Srisupornkornkul A., Changthet S. Selected factors that are related toHealth intelligence of village public health volunteers. . Nursing Journal Royal Thai Army. 2018;19(1):320-32.

Nitcharat N., Yuayong C. The relationship between health quotient Concerning obesity and health promotion behaviors of regular public health volunteers Village, Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province. . Journal of Nursing and Health. 2017;11(1):108-29.

Khuhamanee U, Rodjarkpai Y, Maharachpong N. Health Literacy and Role of Village Health Volunteer In Chronic Disease Prevention. Journal of the Department of Medical Services 2020;45(1):137-42.

Sahataya T. Performance of the roles and duties of village health volunteers (VHVs) in Ang Sila municipality. Mueang Chonburi District, Chonburi Province., Office MCDH; 2013.

Sumalee W, Chutimaphat D, Pranee K. Factors affecting behavior of Take medication in hypertension patients. Songkhla Nakarin Medical Journal. 2008;26(6):539-47.