ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ขนิษฐา อินทร์มณี
เอกพล กาละดี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : กระทรวงสาธารณสุขมุ่งพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมจึงได้มีการพัฒนาเครื่องมือการพัฒนาคุณภาพหน่วยบริการสุขภาพในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเกณฑ์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว การดำเนินงานเภสัชกรรมเป็นหนึ่งในเกณฑ์ที่สำคัญ เพื่อการพัฒนายกระดับให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสามารถดูแลประชาชนได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาวของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี


วิธีการศึกษา : การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มประชากรที่เป็นผู้รับผิดชอบงานเภสัชกรรมในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 78 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด  การทดสอบของฟิสเชอร์ สถิติถดถอยพหุลอจีสติกและกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05


ผลการศึกษา : ประชากรที่ศึกษา ร้อยละ 87.2 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 35.7 ปี  ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข การศึกษาระดับปริญญาตรี รับผิดชอบงานเภสัชกรรมน้อยกว่า 5 ปี ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีขนาดกลาง ส่วนใหญ่เคยได้รับการอบรมเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว  ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเภสัชกรรมและการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 82.1, 75.6 และ 76.9 ตามลำดับ ผลการดำเนินงานเภสัชกรรมของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดปทุมธานี ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ร้อยละ 91.0  (95%CI: 82.4 - 96.3) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว คือ การได้รับการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐาน (p-value = 0.048) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (p-value = 0.001) และปัจจัยด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (p-value =0.003)


สรุปและข้อเสนอแนะ : การได้รับการอบรมเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานเภสัชกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรให้ความสำคัญ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Strategy and planning division of Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. Twenty-Year National Strategic Plan for Public Health [Internet]. Thailand; 2017. [Cited 2021 Nov 21]. Available from: https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171117-MinistryofPublicHealth.pdf

National Health Security Office. Starred Sub-District Health Promoting Hospitals [Internet]. Thailand; 2021. [Cited 2021 Nov 21]. Available from: https://bit.ly/3imCeNs.

Gishealth.moph [Internet]. Thailand: Ministry of Public Health; 2017. [Cited 2021 Nov 20]. Available from: http://gishealth.moph.go.th

Utnam N. A study of the assessment model of Tid Dao Sub-district Health Promoting Hospital in the 8th health district. [Dissertationฉพี]. Bangkok: Kasetsart University; 2016.

Kongsueb H, Ruangrattanatrai W. Success factors in the implementation of quality development of the Sub-district Health Promoting Hospital Tid Dao. Journal ofmHealth Research and Development Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office 2019;5(1):72-84.

Phurichaivoranant T. Success of star-award Sub-district Health Promoting Hospital Operations in Kanchanaburi Province. [Dissertation]. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2019.

Puttamonsing P. Key success factors and organizational support affecting the Star Health Promoting Hospital of health personnel at Sub-District Health Promoting Hospitals in Buriram Province. [Dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University; 2019.

Keawyeam W. Factors related to the quality development of medical and public health laboratories of primary care units according to Starred Sub-district Health Promoting Hospital standards in Krabi Province. [Dissertation]. Nontaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2019.

Nopmanee N. Correlations between readiness, perceptions and attitudes of health providers toward the five stars standard criteria of Sub-district Health Promoting Hospital quality development. Thai Health Science Journal and community public health. 2020;3(1):45-57.

Kongjun S. The evaluation quality improvement criteria of Tambon Health Promoting Hospital (Star Hospital) Songkhla Province. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office 2020;8(4): 148-66.

Pimwong T. Otivation affecting the performance for the star standard of Sub-district Health Promoting Hospital of health personnel at Sub-district Health Promoting Hospitals in Roi-Et Province. [Dissertation]. Khon Kaen: Khon Kaen University;2018.