การศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเสี่ยงการซึมเศร้าโดยวิธี 9Q ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา โรคซึมเศร้า เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า ในทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 700,000 คน ดังนั้นการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างรวดเร็วและทันเวลาจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยบรรเทาความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังการฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ระบุว่าอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จของประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยเสี่ยงหลักที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตายสำเร็จได้แก่การป่วยโรคทางกายเรื้อรัง ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยลดลง
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยติดเตียง
วิธีการศึกษา การวิเคราะห์แบบย้อนหลังโดยใช้เครื่องมือวิจัยคือแบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) และแบบประเมินโรคซึมเศร้า (PHQ-9) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเรื้อรัง ได้แก่ ผู้ป่วยติดเตียงที่รับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่สาย จำนวน 300 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multivariable Regression Analysis หาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันตาม Barthel ADL กับภาวะเสี่ยงการซึมเศร้า
ผลการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันและภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยติดเตียงเมื่อผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง เป็นความสัมพันธ์แบบผกผัน กล่าวคือเมื่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันลดลง ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น กลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่มีค่า ADL 0-4 มีสัดส่วนของการเกิดภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด (ร้อยละ 95.24) เมื่อวิเคราะห์หาจุดตัดที่มีความสามารถในเชิงวินิจฉัยหรือคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าพบว่าคะแนน ADL < 9 คะแนน เป็นจุดตัดที่น่าจะเหมาะสมที่สุดในการคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้าด้วยค่า ADL
สรุปผลและข้อเสนอแนะ แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of Daily Living: ADL) สามารถใช้ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยเพื่อวางแผนการดูแลรักษาสภาพจิตใจ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ผลการประเมิน ADL < 9 คะแนนทุกราย ควรได้รับการคัดกรองเรื่องภาวะซึมเศร้า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Depression [Internet]. Bangkok: Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital; 2018 [cited 2023 Jul 3]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017
World Health Organization. Depression [Internet]. Geneva: WHO; 2021 [cited 2022 Dec 24]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression
Depression, know quickly to reduce suicide risk, easily check through "DMIND" by yourself [Internet]. Bangkok: bangkokbiznews; 2022 [cited 2023 Dec 19]. Available from: https://www.bangkokbiznews.com/social/1011008
Report of the assessment to medical services of depression patients [Internet]. Nonthaburi: The Excellence Center for Depressive Disorder; 2022 [cited 2022 Dec 24]. Available from: https://thaidepression.com/www/report/main_report/pdf/ahb-11-22-mix_HDC.pdf
Clarke DM, Currie KC. Depression, anxiety and their relationship with chronic diseases: a review of the epidemiology, risk and treatment evidence. Med J Aust. 2009;190(S7):S54-60.
Moussavi S, Chatterji S, Verdes E, Tandon A, Patel V, Ustun B. Depression, chronic diseases, and decrements in health: results from the World Health Surveys. Lancet. 2007;370(9590):851-8.
The guideline for taking care bedridden patients effectively [Internet]. Bangkok: Aryuwat Nursing Home; 2020 [cited 2022 Dec 24]. Available from: https://www.aryuwatnursinghome.com/healthy-tips/นวัตกรรมการดูแลผู้ป่วย/
The problem of suicide among Thai people in 2022 [Internet]. Khon Kaen: Suicide Prevention Center, Khon Kaen Ratchanakarin Psychiatric Hospital; 2022 [cited 2023 Jul 3]. Available From: https://suicide.dmh.go.th/news/files/สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัญหาการฆ่าตัวตายv2.1.pdf
Barthel Activities of Daily Living: ADL[Internet]. Nakornsrithammarat: Pakphanang Hospital [cited 2022 Dec 27]. Available from: http://www.pknhospital.com/2019/data/starRPST/homecare/cpso_star62_05.pdf
Department of Mental Health. PHQ-9 depression test questionnaire [Internet]. [Cited 2022 Dec 24]. Available from: https://dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf
Chang-Quan H, Zheng-Rong W, Yong-Hong L, Yi-Zhou X, Qing-Xiu L. Education and risk for late life depression: a meta-analysis of published literature. Int J Psychiatry Med. 2010;40(1):109-124.
Karuncharernpanit S, Limrat W, Makaroon W, Khumnate W, Chayvijit W, Sukomol V, et al. Factors related to depression among older people living in homes for the aged of the western part of Thailand. Asian Journal for Public Opinion Research. 2016;4(1):38-50.