การบริหารเวชภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพ

Main Article Content

Meaysean Pongvilairut

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: งานบริหารเวชภัณฑ์โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก มีหน้าที่รับผิดชอบในการคัดเลือกและจัดหายา แต่อยู่ภายใต้งบประมาณที่มีจำกัด ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาหาแนวทางจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวชภัณฑ์ยาด้วยการนำเทคนิคการวิเคราะห์ ABC-VED matrix มาใช้จำแนกกลุ่มยาเพื่อกำหนดปริมาณการสำรองยาให้เหมาะสม และนำกลุ่มยาที่ได้ไปทบทวนการใช้เพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีการจัดซื้อยาที่มีคุณภาพเข้าโรงพยาบาล รวมทั้งมีระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาคุณภาพยาเพื่อให้การบริหารเวชภัณฑ์มีประสิทธิภาพภายใต้งบประมาณที่จำกัด


วัตถุประสงค์: เพื่อ ศึกษาประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์โดยการวิเคราะห์กลุ่มยาด้วยหลักแนวคิด ABC-VED matrix และเปรียบเทียบมูลค่าการประหยัดจากการจัดซื้อยาวิธีสืบราคายา วิธีต่อรองราคายาที่มีผู้จำหน่ายรายเดียว (Monopoly) ที่มีมูลค่าสูง วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) วิธีคัดเลือก


วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังระหว่างปีงบประมาณ 2563-2565 กลุ่มตัวอย่างเป็นรายการยาและมูลค่ายาที่จัดซื้อจากโปรแกรมบริหารเวชภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี ABC–VED matrix นำเสนอข้อมูลเป็นเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ มูลค่า และค่าเฉลี่ย


ผลการศึกษา เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการทำ ABC-VED matrix แบ่งยาตามรายการและมูลค่า พบว่า ด้านจำนวนรายการยา ยากลุ่มที่มีจำนวนรายการยาเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ยาที่มีความจำเป็นในการรักษา (E) ยาที่มีความจำเป็นน้อย (D) และยาช่วยชีวิต (V) โดยเรียงลำดับดังนี้ CE, BE, AE, CD, BD, AD, CV, BV และ AV ยกเว้นในปี 2564 ที่ร้อยละของรายการยากลุ่ม AD มากกว่า BD ในขณะที่เมื่อพิจารณาด้านมูลค่า แบ่งยาเป็น 3 กลุ่มได้แก่ ยาที่มีมูลค่าสูง คือ AE, AD ยาที่มีมูลค่าปานกลาง คือ AV, BE และยาที่มีมูลค่าต่ำ คือ BD, BV, CE, CD, CV วิธีการจัดซื้อยาในปี 2564-2565 พบว่า วิธีสืบราคายาจำนวน 165 รายการ ประหยัดได้ 15.08 ล้านบาท  วิธีต่อรองราคายา Monopoly ที่มีมูลค่าสูง 83 รายการ ประหยัดได้ 4.08 ล้านบาท วิธี e-bidding 33 รายการ ประหยัดได้ 10.56 ล้านบาท และวิธีคัดเลือก 5 รายการ ประหยัดได้ 6.66 ล้านบาท มูลค่าการประหยัดของวิธีการจัดซื้อเมื่อเทียบต่อรายการยา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้แก่ วิธีคัดเลือก วิธี e-bidding วิธีสืบราคายา และวิธีต่อรองราคายา Monopoly ที่มีมูลค่าสูง โดยดัชนีคงคลังเฉลี่ยปีงบประมาณ 2563-2565 เป็น 1.12, 1.06 และ 1.03 ตามลำดับ


สรุปผลและข้อเสนอแนะ : การนำ ABC-VED matrix มาใช้เป็นเครื่องมือการทำงาน ทำให้การบริหารเวชภัณฑ์มีประสิทธิภาพดี และนำผลการวิเคราะห์ไปกำหนดปริมาณการสำรองยากลุ่มต่างๆ ในแต่ละเดือนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะยากลุ่ม AE และ AD ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมงบประมาณ วิธีการจัดซื้อยาเข้าโรงพยาบาลโดยวิธีคัดเลือก ช่วยให้เกิดการประหยัดได้มากกว่าวิธีอื่น (เมื่อเทียบต่อรายการยา) แต่จำนวนรายการยาที่ใช้กับวิธีคัดเลือกมีไม่มากนัก ดังนั้นควรเลือกวิธี e-bidding จะช่วยให้เกิดการประหยัดได้มาก กรณีที่งบประมาณในการจัดซื้อไม่พอเพียงในช่วงปลายปี ควรลดการจัดซื้อยากลุ่ม AD ซึ่งเป็นยาที่มีมูลค่าสูงและมีความจำเป็นน้อย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Aroonpiboon B. Efficiency, effectiveness [Internet]. Pathum Thani: Science and Technology Knowledge Services; 2014 [updated December 11; cited 2023 January 18]. Available from: https://www.thailibrary.in.th/2014/12/11/effectiveness/.

Drug use review: Quality tool for drug procurement, community of practice for drug safety workshop 2009 Sep 17. Prapanwattana M, Udomnuchaisup P, editors. Phitsanulok: Faculty of Pharmaceutical Sciences, Naresuan University; 2009.

Taechajumroengsuk B, Jodsombud K. Analysis application ABC-VED in drug storage management [internet]. Nonthaburi: Center for Continuing Pharmacy Education; 2018 [cited 2023 Jan 19]. Available from: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=477.

Udomthanatera K. Pareto principle tool (Pareto: 80/20) [internet]. iok2u.com; 2009 [cited 2023 Feb 20]. Available from: https://www.iok2u.com/article/marketing/tool-pareto-80-20.

Phathanasteankul T. ABC-VEN matrix system using in drug inventory management in Ratchaphiphat Hospital. J Charoenkrung Pracharak Hosp. 2013;9(1):59-67.

Kongkriatnakorn W. A study of drug classification in pharmacopoeia Srinakarin Hospital by ABC-VED matrix. North-Eastern Thai J Neurosci 2020;15(4):46-55.

Public Procurement and Supplies Administration Act, B.E. 2560 (2017) [Internet]. 2017 [cited 2023 Jan 18]. Available from: https://www.finance.rmuti.ac.th/pr/cgd-2560.PDF.

Nimithpornchai W. Drug and non-drug medical supplies purchasing at Sawanprachalux Hospital during 2013 – 2014, compared to those of 2015 – 2016 and 2017 – 2018. Thai J Pharm Pract. 2019;11(3):614-24.

Upakdee N, Assawamakin A, Promprasert W, Chungsivapornpong W, Sumitsawan J, Laitong P,

et al. The application of price performance criteria for government procurement of medicine: a case study in pilot hospitals. J Health Sys Res 2022;16(2):202-14.

Kittiratchakool N, Chungsivapornpong W, Kumluang S, Onjon O, Tantivess S. Drug procurement in public hospitals under the public procurement and supplies administration Act B.E. 2560 (2017).

J Health Sys Res. 2020;14(3):311-26.

Policy on development of medication management system [internet]. Nonthaburi: Drug and Medical Supply Information Center, Ministry of Public Health; 1999 [cited 2023 Jan 28]. Available from: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/49.