การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพด้วย Objective and Key Results (OKRs) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สยามราชย์ ฟูเจริญกัลยา
อนุรักษ์ ศรีใจ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพรูปแบบเดิมมักให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดมากเกินไป จนไม่เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพด้วย OKRs จึงเป็นแนวทางใหม่ที่จะทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดประสบผลสำเร็จได้


วัตถุประสงค์: (1) ศึกษาสภาพปัญหาและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพ (2) สร้างรูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพด้วย OKRs (3) ทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพด้วย OKRs และ                 (4) ศึกษาผลของรูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพด้วย OKRs


วิธีการศึกษา: ผู้ศึกษาได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (research and development) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและปัญหาของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพใน            กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ และผู้รับผิดชอบโครงการระดับอำเภอ จำนวน 235 คน ด้วยแบบสอบถาม ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพโดยอาศัยหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ร่วมกับการจัดทำ OKRs โดยคณะทำงานสร้างรูปแบบฯ จำนวน 20 คน ใช้การสนทนากลุ่ม (focus group discussion) ทดสอบรูปแบบฯ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ซึ่งมีคุณสมบัติ คือ               1) เป็นผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการบริหารงานสาธารณสุขไม่น้อยกว่า 10 ปี  2) ระดับการศึกษาตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไป 3) เป็นนักวิชาการที่มีความรู้ ความสามารถ ตรวจสอบรูปแบบฯ ที่ได้ร่างขึ้นด้วยแบบประเมิน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนนำร่อง 1 แห่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรผู้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อำเภอ จำนวน 175 คน ประเมินก่อนและหลังการร่วมกิจกรรมด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired-t-test  และ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผลรูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพ โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการติดตามผลสัมฤทธิ์             การดำเนินการผ่านระบบระบบติดตามผลงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพด้วย OKRs ระดับจังหวัด และระยะที่ 2          เป็นการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพ จำนวน               75 ราย วิเคราะห์ข้อมูลขั้นตอนที่ 1, 2 และ 4 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการศึกษา: (1) สภาพปัญหาของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพในรูปแบบเดิมที่ผ่านมา มีระดับปัญหาโดยรวมในระดับปานกลาง ( =3.00±0.21) และมีขั้นตอนที่ควรได้รับการปรับปรุง 2 ขั้นตอน (2) รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพแบบใหม่มี 9 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการจัดทำแผนกลยุทธ์ ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ และค่านิยมองค์กร ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ขั้นตอนที่ 6 การกำหนดระดับ OKRs องค์กร  ขั้นตอนที่ 7 การกำหนดการถ่ายระดับ Team OKRs ขั้นตอน          ที่ 8 การนำ OKRs ไปสู่การปฏิบัติ และขั้นตอนที่ 9 การควบคุม นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการทดสอบรูปแบบ พบว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพทุกขั้นตอน (IOC=0.80-1) (3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพในโรงพยาบาลชุมชนนำร่อง พบว่าเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อรูปแบบใหม่กับรูปแบบเก่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.013) (4) ผลสัมฤทธิ์ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ เป็นไปด้วยดี ส่วนผลการประเมินระดับความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  =4.15 ± 0.56)


สรุปผลและข้อเสนอแนะ: การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพระดับจังหวัดควรนำเอารูปแบบการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพด้วย Objective and Key Results (OKRs) ไปใช้เป็นเวลาอย่างน้อย 3-5 ปี และควรมีการปรับปรุงกระบวนการย่อยอยู่เสมอ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความท้าทายในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงานในทุก ๆ ปี

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

สยามราชย์ ฟูเจริญกัลยา, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย

ดำรงตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับชำนาญการพิเศษ

References

Secretary of the National Strategy Committee Office. National 2018-2037(short version). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board; 2021

Jungsamarn S. "Important Public Health Policies and National Strategic Management." Training Program for Middle Level Public Health Executives, Class 35, 2022. Lampang: Boromarajonani College of Nursing, Nakorn Lampang; 2022.

Ministerial regulations on Government Divisions Ministry of Public Health 2002 - 2020 [Internet]. Nonthaburi: Public Sector Development Group; 2019. [cited 2022 November 13]. Available from: https://opdc.moph.go.th/rule.php.

Public Health Strategist Network Committee. Handbook of standard operating procedures (SOP) Public Health Strategic Development Group Provincial Public Health Office. Nonthaburi: Strategy and Planning Division Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health; 2019.

State of the problem of driving public health strategy in Chiang Rai Province. Annual report. Chiang Rai: Public Health Strategic Development Group; 2021.

Iamchai K, Yuennan C, Salee K. Ministry of Public Health. J Health Syst Res Dev. 2020;13(2)318-26.

Rompho N. Organization and life development with the concept of OKRs. 2nd ed. Bangkok: Aksorn Samphan (1987); 2018.

Boonda P. Main steps of doing research and development in public health. Med J Clin Trials Case Stud. 2018;2(6): 000183. 9. Thanomsiang N. Sample size calculation [Internet]. Khon Kaen: Khon Kaen University; n.d. [cited 2022 April 2]. Available from: https://home.kku.ac.th/nikom/516201_sample_size_nk2561.pdf.

Kongterm T. Development of integrated strategic plan model for educational service area office (Ph.D. thesis in Educational Administration). Phitsanulok: Naresuan University; 2010.

Kwamkunkoei J. Strategic planning process. [internet]. Pathum Thani: Policy and Planning Division. Pathum Thani: Policy and Planning Division. Valai Alongkorn University under Royal Patronage; 2019. [cited 2021 Jan 13]. Available from: https://plan.vru.ac.th/?p=3596.

Petchkong M, Boonyoung N, Chukumnerd P. Experience of the front ward in the the

management of OKRs. Songkhla Nakarin. J Nurs. 2021;41(4)27-37.

Jaitiang N, Bunnun K. Strategic development of public health personnel in Phayao Province. J Public Health Law and Policy. 2021;7(2)349-58.

Kanyathita S. Effects of participatory strategic development process of personnel under Nakhon Pathom Provincial Public Health Office. J Health Syst Res Dev. 2020;13(1)310-20.