ผลลัพธ์ของการเร่งผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก ในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงในการระงับความรู้สึก (ASA classes III-IV)

Main Article Content

นที ธนทรัพย์สิน
อมรศักดิ์ รูปสูง
จิราพร เพิ่มเยาว์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การผ่าตัดกระดูกสะโพกหักภายใน 24-72 ชั่วโมงหลังจากรับไว้ในโรงพยาบาล สามารถลดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราตายที่ 1 ปี ได้อย่างมีนัยสำคัญอย่างไรก็ดีมีการศึกษาไม่มากที่กล่าวถึงผลการเร่งผ่าตัด
ในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงในการระงับความรู้สึก


วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลลัพธ์ของการเร่งผ่าตัด ได้แก่ อัตราตาย  ภาวะแทรกซ้อน และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่มีความเสี่ยงสูงในการระงับความรู้สึก


วิธีการศึกษา : การวิจัยแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่มีความเสี่ยงสูงในการระงับความรู้สึก (ASA classes III-IV) ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 จากเวชระเบียน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง โรคประจำตัว ประเภทของกระดูกสะโพกหัก ชนิดการผ่าตัด คะแนนคุณภาพชีวิต (Barthel index) ภาวะแทรกซ้อนภายหลัง
การผ่าตัด 30 วัน ข้อมูลการเสียชีวิตภายใน 30 วัน และโทรศัพท์ติดตามข้อมูลการเสียชีวิตที่ 1 ปี แบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด < 48 ชั่วโมง กลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด 48-72 ชั่วโมง และกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัด
เกิน 72 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน


ผลการศึกษา : ผู้ป่วยทั้งหมด 379 ราย อายุเฉลี่ย 76.67±9.06 ปี กระดูกสะโพกหักนอกเยื่อหุ้มข้อ 267 ราย (ร้อยละ 70.45) หักในเยื่อหุ้มข้อ 112 ราย (ร้อยละ 29.55) เป็นกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดน้อยกว่า 48 ชั่วโมง 145 ราย (ร้อยละ 38.26) ภายใน 48-72 ชั่วโมง 73 ราย (ร้อยละ 19.26) และมากกว่า 72 ชั่วโมง 161 ราย (ร้อยละ 42.48) หลังการผ่าตัดไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มทั้งด้านภาวะแทรกซ้อน Barthel index และอัตราการเสียชีวิต โดยพบภาวะแทรกซ้อนที่ 1 เดือน ร้อยละ 15.17 ร้อยละ 20.55 และ ร้อยละ 14.29 ในกลุ่มที่ได้รับการผ่าตัดน้อยกว่า 48 ชม. ระหว่าง 48-72 ชม. และ มากกว่า 72 ชม.ตามลำดับ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด คือ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ พบเป็นผู้ป่วยติดเตียงร้อยละ 4.61 ในกลุ่มน้อยกว่า 48 ชม. ร้อยละ 11.11 ในกลุ่ม 48-72 ชม. และร้อยละ 5.17 ในกลุ่มมากกว่า 72 ชม. มีผู้ป่วยเสียชีวิตภายใน 1 เดือนทั้งหมด 6 ราย เกิดจากภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจทั้งหมด และจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตที่ 1 ปี มีทั้งหมด 9 ราย


สรุปและข้อเสนอแนะ : ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของภาวะแทรกซ้อน คุณภาพชีวิต และอัตราการเสียชีวิต จากการเร่งการผ่าตัด ในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่มีความเสี่ยงสูงในการระงับความรู้สึก ภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ในช่วง 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การเฝ้าระวังและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญในการลดการเสียชีวิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. Situation of the Thai elderly 2018. Bangkok: Institute for Population and Social Research Mahidol University; 2019

Chaysri R, Leerapun T, Klunklin K, Chiewchantanakit S, Luevitoonvechkij S, Rojanasthien S. Factors related to mortality afterosteoporotic hip fracture treatment at Chiang Mai University Hospital, Thailand, during 2006 and 2007. J Med Assoc Thai. 2015;98(1):59-64.

Simunovic N, Devereaux PJ, Sprague S, Guyatt GH, Schemitsch E, Debeer J, et al. Effect of early surgery after hip fracture on mortality and complications: systematic review and metaanalysis. CMAJ. 2010;182(15):1609-16.

Moja L, Piatti A, Pecoraro V, Ricci C, Virgili G, Salanti G, et al. Timing matters in hip fracture surgery: patients operated within 48 hours have better outcomes - a meta-analysis and meta-regression of over 190,000 patients. PLoS ONE. 2012;7(10):e46175.

Yonezawa T, Yamazaki K, Atsumi T, Obara S. Influence of the timing of surgery on mortality and activity of hip fracture in elderly patients. J Orthop Sci. 2009;14(5):566-73.

Lizaur-Utrilla A, Martinez-Mendez D,Collados-Maestre I, Miralles-Muñoz FA, Marco-Gomez L, Lopez-Prats FA. Early surgery within 2 days for hip fracture is not reliable as healthcare quality indicator. Injury. 2016;47(7):1530-5.

Holt G, Smith R, Duncan K, Finlayson DF, Gregori A. Early mortality after surgical fixation of hip fractures in the elderly: an analysis of data from the scottish hip fracture audit. J Bone Joint Surg Br. 2008;90(10):1357-63

Mariconda M , Costa G , Cerbasi S , Recano P , Aitanti E , Gambacorta M , et al. The determinants of mortality and morbidity during the year following fracture of the hip: a prospective study. Bone Joint J. 2015;97-B(3):383-90.

Moran CG, Wenn RT, Sikand M, Taylor AM. Early mortality after hip fracture: is delay before surgery important?. J Bone Joint Surg Am. 2005;87(3):483-9.

Doruk H, Mas MR, Yildiz C, Sonmez A, Kýrdemir V. The effect of the timing of hip fracture surgery on the activity of daily living and mortality in elderly. Arch Gerontol Geriatr. 2004;39(2):179-85.

Vidán MT, Sánchez E, Gracia Y, Marañón E, Vaquero J, Serra JA. Causes and effects of surgical delay in patients with hip fracture: a cohort study.Ann Intern Med. 2011;155(4):226-33.

Hapuarachchi KS, Ahluwalia RS, Bowditch MG. Neck of femur fractures in the over 90s: a select group of patients who require prompt surgical intervention for optimal results. J Orthop Traumatol. 2014;15(1):13-9.

Pioli G, Lauretani F, Davoli ML, Martini E, Frondini C, Pellicciotti F, et al. Older people with hip fracture and IADL disability require earlier surgery. J Gerontol A Biol Sci Med Sci. 2012;67(11):1272-7.

Laohaprasitiporn P, Jarusriwanna A, Unnanuntana A. Validity and Reliability of the Thai Version of the Barthel Index for Elderly Patients with Femoral Neck Fracture. J Med Assoc Thai 2017; 100(5):539

Johnell O, Kanis JA. An estimate of worldwide prevalence and disability associated with osteoporosis fractures. Osteoporos Int 2006;17(12):1726-33.

Jordan KM, Cooper C. Epidemiology of osteoporosis. Best Pract Res Clin Rheumatol. 2002;16(5):795-806

Roobsoong A, Permyao J, Chantiratikul S. Clinical outcomes of peritrochanteric hip fracture in the intermediate postoperative care project between the regional and district hospitals in Chiang Rai Province: preliminary comparative results. Journal of Health Systems Research 2020;14(1):88-100.(in Thai).

Ma RS, Gu GS, Huang X, Zhu D, Zhang Y, Li M, et al. Postoperative mortality and morbidity in octogenarians and nonagenarians with hip fracture: an analysis of perioperative risk factors. Chin J Traumatol. 2011;14(6):323-8.

Hershkovitz A, Polatov I, Beloosesky Y, Brill S. Factors affecting mortality of frail hip-fractured elderly patients. Arch Gerontol Geriatr. 2010;51(2):113-6.

Chatterton BD, Moores TS, Ahmad S, Cattell A, Roberts PJ. Cause of death and factors associated with early in-hospital mortality after hip fracture. Bone Joint J. 2015;97-B(2):246-51.