การเปรียบเทียบประสิทธิภาพ Alvarado score และ RIPASA score ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในห้องฉุกเฉิน

Main Article Content

ยุวลักษณ์ บุตรศรี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : Alvarado score และ RIPASA score เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน แต่ทั้ง 2 เครื่องมือมีความไว ความจำเพาะและความถูกต้องต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือที่ดีที่สุดจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดที่รวดเร็วและสามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้


วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความไว ความจำเพาะและความถูกต้องของ Alvarado score และ RIPASA score ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันในห้องฉุกเฉิน


วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิด diagnostic accuracy research โดยรวบรวมข้อมูลแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องขวาล่างและสงสัยโรคไส้ติ่งอักเสบ ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงคำ จังหวัดพะเยา ระหว่างวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ประเมินผลความถูกต้องของ Alvarado score เปรียบเทียบกับ RIPASA score โดยหาความไว ความจำเพาะ
ความถูกต้องและหาพื้นที่ใต้กราฟ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องขวาล่างและได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งจำนวน 119 ราย พบว่าเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันจำนวน 90 ราย เป็นเพศหญิงและเพศชายใกล้เคียงกัน อายุเฉลี่ย 43.77 ปี ผล Alvarado score มีคะแนนเฉลี่ย 8  ส่วน RIPASA score มีคะแนนเฉลี่ย 10.5  คะแนนของ Alvarado score และ RIPASA score ในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ไม่เป็นโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.031) เมื่อพิจารณาจาก ROC curve พบว่าที่จุดตัดคะแนน RIPASA score≥ 7.5 มีความไว ความจำเพาะและความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 90.00, 89.66 และ 89.92  และมีพื้นที่ใต้กราฟ AUC 0.93 (95%CI=0.88-0.98) ในขณะที่ Alvarado score ≥ 7 มีความไว ความจำเพาะ และความถูกต้องเท่ากับ
ร้อยละ 82.22, 79.31 และ 81.50  และมีพื้นที่ใต้กราฟ AUC 0.86 (95% CI=0.79-0.94)  


สรุปและข้อเสนอแนะ RIPASA score มีความไวและมีความถูกต้องในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันได้ดีกว่า Alvarado score   ควรนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาส่งต่อและรับผู้ป่วยโรคไส้ติ่งอักเสบไว้รักษาในโรงพยาบาล

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bhudhisawasd V. Surgical diseases of the vermiform appendix. 2nd ed. Bangkok: Ruenkaew Printing; 2540.

Wickramasinghe DP, Xavier C, Samarasekera DN. The worldwide epidemiology of acute appendicitis: an analysis of the global health data exchange dataset. World J Surg. 2021;45(7):1999-2008.

Chatbanchai W, Hedley AJ, Ebrahim SB, Areemit S, Hoskyns EW, de Dombal FT. Acute abdominal pain and appendicitis in north east Thailand. Paediatr Perinat Epidemiol. 1989;3(4):448-59.

Addiss DG, Shaffer N, Fowler BS, Tauxe RV. The epidemiology of appendicitis and appendectomy in the United States. Am J Epidemiol. 1990;132(5):910-25.

Horntrich J, Schneider W. [Appendicitis from an epidemiological viewpoint]. Zentralbl Chir. 1990;115(23):1521–9.

Flum DR, McClure TD, Morris A, Koepsell T. Misdiagnosis of appendicitis and the use of diagnostic imaging. J Am Coll Surg. 2005;201(6):933-9.

Kırkıl C, Karabulut K, Aygen E, Ilhan YS, Yur M, Binnetoğlu K, et al. Appendicitis scores may be useful in reducing the costs of treatment for right lower quadrant pain. Ulus Travma Acil Cerrahi Derg. 2013;19(1):13-9.

Di Saverio S, Podda M, De Simone B, Ceresoli M, Augustin G, Gori A, et al. Diagnosis and treatment of acute appendicitis: 2020 update of the WSES Jerusalem guidelines. World J Emerg Surg. 2020;15(1):27.

Walczak DA, Pawełczak D, Żółtaszek A, Jaguścik R, Fałek W, Czerwińska M, et al. The value of scoring systems for the diagnosis of acute appendicitis. Pol Przegl Chir. 2015;87(2):65-70.

Frountzas M, Stergios K, Kopsini D, Schizas D, Kontzoglou K, Toutouzas K. Alvarado or RIPASA score for diagnosis of acute appendicitis? A meta-analysis of randomized trials. Int J Surg.

;56:307-14.

Elhosseiny MM, Eltokhy E, Elekiabi OA. Comparative study between alvarado score& ripasa score in diagnosis of acute appendicitis. J Surg. 2018;6(2):1–5.

Palguna IMMSD, Sueta MAD, Mahadewa TGB. Comparison of alvarado scores, Tzanakis scores, and RIPASA scores in the diagnosis of acute appendicitis in Sanglah hospital. Neurol Spinale Medico Chir. 2022;5(1):52–7.

Alnjadat I, Abdallah B. Alvarado versus RIPASA score in diagnosing acute appendicitis. Rawal Med J. 2013;38(2):147–51.

Nedphokaew N. Evaluation of Alvarado score and RIPASA score for diagnosis of appendicitis. Mahasarakham Hosp J. 2018;15(3):55–64.

Singh DK, Prasad B, Kumar A. A comparative study of ultrasonography and different scoring systems in diagnosing cases of acute appendicitis. JMSCR 2020;8(3):242-6.

Lamjitsopa S, Tunsiri V, Durongbhandhu T. The diagnostic accuracy of Lintula, RIPASA and Alvarado scoring systems for diagnosis of acute appendicitis. Thai J Emerg Med. 2020;2(2):37–50.