ตำแหน่งที่เหมาะสมในการกดหน้าอกเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพด้วยเครื่องกดหน้าอกในตัวอย่างประชากรจังหวัดน่าน

Main Article Content

สุวิชญา สุรพรไพบูลย์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาแนะนำให้ใช้ตำแหน่งกึ่งกลางส่วนล่างของกระดูกหน้าอกในการวางมือเพื่อกดหน้าอกในการกู้ชีพ มีบางการศึกษาพบว่าตำแหน่งอื่นอาจเหมาะสมกว่าและในปัจจุบันที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลน่านใช้เครื่อง Corpuls quadboard และ LUCAS 3 v 3.1 ในการกดหน้าอกเป็นหลัก


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางแป้นของเครื่องกดหน้าอกเพื่อช่วยฟื้นคืนชีพในตัวอย่างประชากรจังหวัดน่าน


วิธีการศึกษา : ศึกษาโดยเก็บข้อมูลในผู้ป่วยโรงพยาบาลน่านที่ได้รับการถ่ายภาพถ่ายรังสีคอมพิวเตอร์ทรวงอกแบบฉีดสารทึบรังสี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 – 31 ธันวาคม 2562 หาระยะบนผิวหนังระหว่างจุดล่างสุดของกระดูกทรวงอกไปยังตำแหน่งต่างๆ ของหัวใจ ตับ และ กระเพาะอาหาร นำเสนอด้วย Mean+SD หากมีการกระจายตัวของข้อมูลแบบปกติหรือ Median (min, max) หากมีการกระจายของข้อมูลแบบไม่ปกติ ทดสอบการกระจายข้อมูลโดยใช้ Kolmogorov-Smirnova และหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางแป้นของเครื่องกดหน้าอกที่ทำให้กดผ่านตำแหน่งที่หัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดกว้างที่สุดโดยไม่โดนตับและกระเพาะอาหาร


ผลการศึกษา : ผู้เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 333 ราย มีระยะจากจุดล่างสุดของกระดูกกลางหน้าอกถึงตำแหน่งบนสุดของกระดูกกลางหน้าอก กึ่งกลางของกระดูกกลางหน้าอก กึ่งกลางส่วนล่างของกระดูกกลางหน้าอก จุดบนสุดของหัวใจ ทางออกของหัวใจห้องล่างซ้ายสู่หลอดเลือดแดงใหญ่ หัวใจห้องล่างซ้ายมีขนาดกว้างที่สุด บนสุดของกระเพาะอาหาร และบนสุดของตับเท่ากับ 188.8 + 18.31, 94.4 + 9.16, 47.2 + 4.58, 108.8 + 16.75, 61.08 + 15.85, 44.25 + 15.92, 0.66 + 21.45 และ 25.93 (-24.7, 91.42) มิลลิเมตร ตามลำดับ


สรุปผลและข้อเสนอแนะ : จากผลการศึกษาพบว่าควรวางแป้นของเครื่องกดหน้าอก Corpuls quadboard ให้ศูนย์กลางของแป้นอยู่เหนือตำแหน่งกึ่งกลางส่วนล่างของกระดูกหน้าอกประมาณ 1.87 ซม. และวางแป้นของเครื่องกดหน้าอก LUCAS 3 v 3.1 ให้ศูนย์กลางของแป้นอยู่ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของกระดูกทรวงอก

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Shin J, Rhee JE, Kim K. Is the inter-nipple line the correct hand position for effective chest compression in adult cardiopulmonary resuscitation? Resuscitation. 2007;75(2):305-10.

Hwang SO, Zhao PG, Choi HJ, Park KH, Cha KC, Park SM, et al. Compression of the left ventricular outflow tract during cardiopulmonary resuscitation. Acad Emerg Med.2009;16(10):928–33.

Olasveengen TM, Mancini ME, Perkins GD, Avis S, Brooks S, Castrén M, et al. Adult basic life support: 2020 international consensus on cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care science with treatment recommendations. Circulation. 202020;142(16_suppl_1):S41-S91.

Cha KC, Kim HJ, Shin HJ, Kim H, Lee KH, Hwang SO. Hemodynamic effect of external chest compressions at the lower end of the sternum in cardiac arrest patients. J Emerg Med. 201344(3):691-7.

Lee J, Oh J, Lim TH, Kang H, Park JH, Song SY, et al. Comparison of optimal point on the sternum for chest compression between obese and normal weight individuals with respect to body mass index, using computer tomography: a retrospective study. Resuscitation. 2018;128:1-5.

Perkins GD, Lall R, Quinn T, Deakin CD, Cooke MW, Horton J, et al. Mechanical versus manual chest compression for out-of-hospital cardiac arrest (PARAMEDIC): a pragmatic, cluster randomised controlled trial. Lancet. 2015;385(9972):947-55.

Rubertsson S, Lindgren E, Smekal D, Östlund O, Silfverstolpe J, Lichtveld RA, et al. Mechanical chest compressions and simultaneous defibrillation vs conventional cardiopulmonary resuscitation in out-of-hospital cardiac arrest: the LINC randomized trial. JAMA. 2014;311(1):53-61.

Atiksawedparit P, Sathapornthanasin T, Chalermdamrichai P, Sanguanwit P, Saksobhavivat N, Saelee R, et al. Using computed tomography to evaluate proper chest compression depth for cardiopulmonary resuscitation in Thai population: A retrospective cross-sectional study. PLoS One. 2023;18(2):e0279056.

Khunkhlai N, Aiempaiboonphan P, Kaewlai R, Jenjitranant P, Dissaneevate K, Khruekarnchana P. Estimation of optimal chest compression depth based on chest computed tomography in Thai patients. Resuscitation. 2017;118 Suppl 1:E56.

Statistic of Demographic, population and housing (in Thai) [Internet]. Bangkok: National Statistical Office of Thailand; 2023 [cited 2023 September 2]. Available from: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.