การทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือแบบประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มฉบับประยุกต์ ของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุขึ้นมาหลากหลายรูปแบบ หนึ่งในนั้นคือแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้มฉบับประยุกต์จังหวัดลำปาง
วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบคุณสมบัติของเครื่องมือแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้มฉบับประยุกต์จังหวัดลำปาง
วิธีการศึกษา : กลุ่มประชากรคือผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ที่ได้รับการประเมินคัดกรองภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้มตามนโยบายจังหวัด ในช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม 2563 ติดตามการหกล้มจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ คำนวณหาค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าทำนายผลการทดสอบ และพื้นที่ใต้โค้ง ROC
ผลการศึกษา : กลุ่มประชากรจำนวน 1,602 คน อายุเฉลี่ย 73.43 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 73.00 พบอุบัติการณ์การหกล้มเท่ากับร้อยละ 8.43 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีการหกล้ม กับกลุ่มที่ไม่มีการหกล้มพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านอายุเฉลี่ย และคะแนนรวมของเครื่องมือแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้มฉบับประยุกต์จังหวัดลำปาง ส่วนเพศ การมองเห็น การทรงตัว โรคประจำตัว ประวัติการหกล้มในอดีต การใช้ยา รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ เครื่องมือฉบับประยุกต์มีค่าความไวร้อยละ 28.89 ค่าความจำเพาะร้อยละ 74.64 ค่าทำนายผลบวกร้อยละ 9.48 ค่าทำนายผลลบร้อยละ 91.94 และพื้นที่ใต้โค้ง ROC เท่ากับ 0.51
สรุปผลและข้อเสนอแนะ : เครื่องมือฉบับประยุกต์นี้มีข้อจำกัดในเรื่องค่าความไวและประสิทธิภาพจึงควรพิจารณาและทบทวนอีกครั้งในการนำไปใช้คัดกรองความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ หรืออาจมีการพัฒนาเครื่องมือคัดกรองใหม่โดยใช้ข้อมูลและการศึกษาที่มีก่อนหน้าโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
World Health Organization. Ageing and health [Internet]. Geneva: WHO; 2022[updated 2022 October 2; cited 2022 October 6]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ageing-and-health
Thailandometers. Elderly population [Internet]: Institute for Population and Social Research, Mahidol University; 2022 [cited 2022 October 6]. Available from: http://www.thailandometers.mahidol.ac.th/#elderly.
Assantachai P. Annual health check-up in the elderly [Internet]: Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital; 2017 [updated 2017 August 21; cited 2022 October 6]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=700.
Srichang N, Kawi L. Forecast of falls in the elderly (aged 60 years and over) in Thailand, 2017 - 2021 [Internet]: Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2016 [updated 2016 September 14; cited 2022 October 6]. Available from: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=12095&tid=&gid=1-027.
Ketpichayawatana J, Wiwatwanich S, Srisuk A, Jetmanorom S. Learn to understand the elderly. Bangkok:Yuenyong Printing;2018.
Somdej Phra Sangkharajyanasangvara Institute of Medicine for the Elderly. Guidelines for preventing falls in the elderly. Nonthaburi: Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2019.
World Health Organization. World report on ageing and health. Geneva: WHO;2015.
Meekes WM, Korevaar JC, Leemrijse CJ, van de Goor IA. Practical and validated tool to assess falls risk in the primary care setting: a systematic review. BMJ Open. 2021;11(9):e045431
Thiamwong L, Jitapunkul S, Panyacheewin J. Evaluation of the Thai fall-risk assessment tool (Thai FRAT) for predicting falls in the Thai community-dwelling elderly. Thai J Gerontol Geriatr Med. 2004;5(2):14-24.
Chow SC, Shao J, Wang H, Lokhnygina Y. Sample size calculations in clinical research. chapman and hall/CRC; 2017 Aug 15.