การศึกษาระบาดวิทยาและลักษณะของผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงและผลการดำเนินงานของคลินิกเท้าเบาหวานที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลน่าน

Main Article Content

ธนากร ธนามี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง โดยเท้าเบาหวาน (Diabetic foot) เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญซึ่งมีความรุนแรงและส่งผลให้ผู้ป่วยถูกตัดเท้าหรือขา จึงมีการศึกษาระบาดวิทยาของผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงในจังหวัดน่าน เพื่อให้ได้ข้อมูลประกอบการวางแผนและพัฒนาระบบการรักษาผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงในจังหวัดน่าน


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระบาดวิทยาและลักษณะของผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงและผลของการจัดตั้งคลินิกเท้าเบาหวานและผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลน่าน


วิธีการศึกษา: วิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงโดยสืบค้นข้อมูลผู้ป่วยเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 มิถุนายน 2565 โดยสืบค้นจากรหัส ICD-10 กลุ่มโรคเบาหวาน และ ICD-10 หัตถการตัดเท้าหรือขา โดยผู้ป่วยต้องมีข้อมูลเพียงพอให้สืบค้นและไม่ได้ถูกตัดอวัยวะจากสาเหตุที่ไม่ได้สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน โดยเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยและข้อมูลการรักษาในคลินิกเท้าเบาหวานโรงพยาบาลน่าน นำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สำหรับข้อมูลคุณภาพด้วยจำนวน (ร้อยละ) ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)


ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงทั้งหมด 54 ราย อายุเฉลี่ย 60±11.30 ปี ผู้ป่วยเป็นเพศชายร้อยละ 64.80 เป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 96.30 ผู้ป่วยร้อยละ 87.04 มีโรคอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ความดันโลหิตสูงร้อยละ 59.30  ไตวายเรื้อรังร้อยละ 44.40 ผู้ป่วยเสียชีวิต 4 รายเนื่องจากติดเชื้อที่แผลบริเวณเท้า ผู้ป่วยจำนวน 44 ราย โดนตัดเท้าหรือขาร่วมด้วย โดยสาเหตุการตัดร้อยละ 95.50 เกิดจากแผลติดเชื้อ ตำแหน่งที่โดนตัดได้แก่ นิ้วเท้าร้อยละ 45.50 ตัดขาระดับใต้เข่าร้อยละ 29.50 บางส่วนของเท้าร้อยละ 20.50 มีผู้ป่วย 34 รายได้เข้ารับการรักษาต่อที่คลินิกเท้าเบาหวาน โดยอาการนำที่มา ได้แก่ โดนตัดขาใต้เข่าและเหนือเข่า ร้อยละ 44.10 มีแผลร้อยละ 29.40  โดยผู้ป่วยร้อยละ 90 แผลหาย ระหว่างการติดตามผู้ป่วยที่คลินิกเท้าเบาหวานไม่พบผู้ป่วยถูกตัดเท้าหรือขาซ้ำ


สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้ป่วยเท้าเบาหวานความเสี่ยงสูงในจังหวัดน่านมีความรุนแรงของโรคสูง พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากแผลติดเชื้อ รวมทั้งถูกตัดขาหรือเท้า แต่ความสามารถในการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยที่คลินิกเท้าเบาหวานยังมีน้อยและล่าช้า ดังนั้นควรมีการให้ความรู้ผู้ป่วยในการดูแลเท้า พัฒนาระบบการตรวจคัดกรองและระบบการส่งต่อรวมถึงศักยภาพของคลินิกเท้าเบาหวานเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาที่ก่อนที่จะพบปัญหาที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Rattarasarn C. Current situation and cooperation to reform diabetes treatment in Thailand [Internet]. Bangkok: Novo Nordisk Pharma (Thailand); 2017 [cited 2022 Sep 1]. Available from: https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf

Bureau of Non-Communicable Diseases, Department of Disease Control Ministry of Public Health. Thailand National NCD Plan 2017-2021. Bangkok: Emotion Art; 2017.

Bureau of Non-Communicable Disease, Department of disease control, Ministry of Health. Thailand Non-Communicable Disease Report 2019. Bangkok: Aksorn Graphic and Design; 2019.

Diabetes Association of Thailand under The Patronage of Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn. Clinical practice guideline for diabetes 2017. Bangkok: Romyen media; 2017.

Schellhase KG, Koepsell TD, Weiss NS. Glycemic control and the risk of multiple microvascular diabetic complications. Fam Med. 2005;37(2):125–30.

Sarinnapakorn V, Sunthorntepwarakul T, Deerochanawong C, Niramitmahapanya S, Napartivaumnuay N. Prevalence of diabetic foot ulcers and risk classifications in type 2 diabetes mellitus patients at Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai. 2016;99 Suppl 2:S99-105.

Institute of Medical Research and Technology Assessment, Department of Medical Services, Ministry of Health. Prevention and management of diabetic foot complication. Nonthaburi: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand; 2013.

Sareekam M, Makboon K. Clinical outcome of diabetic foot clinic at the department of physical medicine and rehabilitation Saraburi Hospital. Res Dev Health Syst J. 2021;14(3):246–59.

Tantisiriwat N, Janchai S. Common foot problems in diabetic foot clinic. J Med Assoc Thai.

;91(7):1097–101.

Yusof NM, Rahman JA, Zulkifly AH, Che-Ahmad A, Khalid KA, Sulong AF, et al. Predictors of major lower limb amputation among type II diabetic patients admitted for diabetic foot problems. Singapore Med J. 2015;56(11):626–31.

Ministry of Public Health. Diabetic foot screening report. [Internet]. 2022 [cited 2023 Jan 29]. Available from : https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=1932e7f6482a5e1e3c20b51927ef4adc

The Comptroller General's Department, Ministry of Finance. Types and rates of prosthetic and orthotic devices for treatment (No.4); 2016.

National Health Security Office. Types and rates of prosthetic and orthotic devices for treatment

( document No.1); 2021.

Patout CAJ, Birke JA, Horswell R, Williams D, Cerise FP. Effectiveness of a comprehensive diabetes lower-extremity amputation prevention program in a predominantly low-income African-American population. Diabetes Care. 2000;23(9):1339–42.

Singh N, Armstrong DG, Lipsky BA. Preventing foot ulcers in patients with diabetes. JAMA.

;293(2):217–28.

Krittiyawong S, Ngarmukos C, Benjasuratwong Y, Rawdaree P, Leelawatana R, Kosachunhanun N, et al. Thailand diabetes registry project: prevalence and risk factors associated with lower extremity amputation in Thai diabetics. J Med Assoc Thai. 2006;89 Suppl 1:S43-48.