การประเมินความรู้ด้านยา และสำรวจความชุกของการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมของร้านขายของชำ ในเขตตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

สรรธิวัฒน์ เลิศภานิธิศ
สุรศักดิ์ เสาแก้ว

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล มีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย       อย่างไรก็ตามยังคงพบปัญหาการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในชุมชนอยู่ จึงต้องมีการวิจัยเชิงสำรวจการขายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านขายของชำ เพื่อนำผลมาพัฒนาและออกแบบแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่


วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจความชุกของการขายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านขายของชำ ประเมินความรู้ด้านยา ของเจ้าของร้านขายของชำ และประเมินแรงจูงใจในการนำยามาจำหน่ายในร้านขายของชำ ในเขตชุมชน ตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา


วิธีการศึกษา: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากเจ้าของร้านขายของชำ 39 ร้าน สำรวจการขายยา และสัมภาษณ์เจ้าของร้านขายของชำ โดยเภสัชกรปฐมภูมิด้วยแบบสำรวจการจำหน่ายยา ในร้านขายของชำที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการจำหน่ายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านขายของชำโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test


ผลการศึกษา: ความชุกของการขายยาที่ไม่เหมาะสมในร้านขายของชำพบทั้งหมด 31 ร้านคิดเป็นร้อยละ79.49 ประเภทยาที่ไม่เหมาะสมที่พบมากที่สุดคือยาแผนโบราณ ยาอันตราย และพบยาที่ไม่มีเลขทะเบียนตำรับยา หรือยาที่ไม่มีฉลากหรือฉลากไม่ครบถ้วน มีการจำหน่ายยาสามัญประจำบ้านทุกร้าน สำหรับแรงจูงใจและสาเหตุของการจำหน่ายยา คือความต้องการผลกำไร และความต้องการของคนในชุมชน เมื่อประเมินความรู้ด้านยาของเจ้าของร้านชำพบว่า มีคะแนนความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับการขายยาในร้านชำเฉลี่ย 10.20±1.08 คะแนน     และความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากยา การตรวจสอบคุณภาพยา และประโยชน์ โทษของยา เฉลี่ย 8.33±2.29 คะแนน จากคะแนนเต็ม 11 ในทั้งสองด้าน


สรุปผล และข้อเสนอแนะ: ร้านขายของชำส่วนใหญ่มีการจำหน่ายยาอันตรายและยาที่ไม่เหมาะสม (ร้อยละ79.49)  ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับการขายยาในร้านขายของชำ ความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากยาการตรวจสอบคุณภาพยาและประโยชน์และโทษของยา และแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการจำหน่ายยา อาจส่งผลทำให้เกิดปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลในชุมชนได้ ดังนั้นควรมีกระบวนการทำความเข้าใจและสนับสนุนเพื่อให้เจ้าของร้านขายของชำสามารถเลือกยามาจำหน่ายในร้านได้ถูกต้องตามกฎหมาย

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

สรรธิวัฒน์ เลิศภานิธิศ, โรงพยาบาลดอกคำใต้ ต.ดอนศรีชุม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา 56120

เภสัชกร

References

Thongyang P. Consumer protection practice guidelines of the Tambon Health Promoting Hospital. Bangkok: Usa Printing; 2010.

Samunee K . Consumer protection of medicines and health for the people. Maha Sarakham: Social Pharmacy Group Faculty of Pharmacy Mahasarakham University; 2022.

Singhiranusorn C. Operating guidelines develop a rational drug use system in the community. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2020.

Thongyang P. Handbook for pharmacists in pharmacy operations in primary care units.Bangkok: Sri Muang Printing; 2017.

Dokbua J, Khantimung R, Puksahad H, Sunongbua N. The situation of selling drugs in grocery stores. Pathum Ratchawongsa District Amnat Charoen Province. Journal of Consumer Health Protection. 2021; 1(1): 37-44.

Boonyang A, Muenpa R. The prevalence of improper drug distribution at grocers in Phitsanulok and its influencing factors. Thai Journal of Pharmacy practice. 2019; 11(1): 105-18.

Sangthong W. The prevalence of grocery stores selling antibiotics in Mae Suai District. Chiang Rai and factors that cause disposition. Thai Journal of Pharmacy practice. 2015; 7(1): 38-46.

Bunyot S, Muenpa R. The situation of distribution and use of common household drugs in the community at a district in the Northeastern region. Thai Journal of Pharmacy practice. 2021; 13(3): 578-89.

KhunYosying A. Prevalence and characteristics of grocery stores selling antibiotics in Wang Nuea District, Lampang Province. Thai Journal of Pharmacy practice. 2015; 7(2):114 -9.

Phetraburanin P, Saokaew S. Prevalence of unsafe drugs in grocery stores: a case study in the districts of Lom Kao, Khao Kho and Nam Nao in the Phetchabun Province. Thai Journal of Pharmacy practice. 2019; 11(2):422-30