ความแม่นยำของการใช้แถบตรวจปัสสาวะเพื่อช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง

Main Article Content

รจิตา หาญตะล่อม
กัญญนิภา ศรีพรหม
ศรีรัตน์ กวินปณิธาน

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้อง ซึ่งนำไปสู่การรักษาที่ล้มเหลว หรือต้องเปลี่ยนวิธีฟอกไต จนถึงเสียชีวิต การวินิจฉัยการติดเชื้อเบื้องต้นอย่างรวดเร็วน่าจะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เร็วขึ้น


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติเชิงวินิจฉัยของแถบตรวจปัสสาวะ ที่มี leukocyte esterase (LE) reagent (LE urine strip)  กับ การตรวจนับ white blood cell (WBC)โดยกล้องจุลทรรศน์ตามมาตรฐานในน้ำล้างไต (peritoneal dialysate fluid : PDF) เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง ในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง


วิธีการศึกษา : เป็น diagnostic accuracy research เก็บข้อมูลแบบ prospective ศึกษาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องถาวร ที่นอนรักษาในโรงพยาบาลปากช่องนานา หรือ มีอาการน่าสงสัย หรือ มีความเสี่ยงในการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง เช่น มีการปนเปื้อนทางการสัมผัส (contamination) จำนวนผู้ป่วย 30 ราย ได้ PDF 326 ตัวอย่าง นำมาจุ่ม LE urine strip และส่งนับเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ตามมาตรฐาน เพื่อวินิจฉัยการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง คำนวณหาค่าความไว (sensitivity) ความจำเพาะ (specificity) และความแม่นยำ (accuracy) ของการวินิจฉัยโดยใช้แถบตรวจปัสสาวะ


ผลการศึกษา : LE urine strip มีความไว (sensitivity) ในการวินิจฉัยการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้อง 85.71% ความจำเพาะ (specificity) ในการวินิจฉัย 87.19 % ค่าพยากรณ์ผลบวก (positive predictive value) 69.90% ค่าพยากรณ์ผลลบ (negative predictive value) 94.62%  และความแม่นยำ (accuracy) 86.81% การอ่านผลการติดเชื้อจาก LE urine strip มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทิศทางเดียวกันกับ WBC  ร้อยละของ neutrophil  และ จำนวนสัมพัทธ์ของ neutrophil   (absolute  neutrophil count) ใน PDF โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Spearman ดังนี้ rho = 0.679 , 0.627 และ 0.680  ตามลำดับ ด้วย p < 0.001 ทั้ง 3 ตัวแปร


สรุปผลและข้อเสนอแนะ : การใช้แถบตรวจปัสสาวะ leukocyte esterase ตรวจน้ำล้างไตทางช่องท้องแล้วผลเป็น 2+ หรือ 3+  สามารถช่วยวินิจฉัยการติดเชื้อในเยื่อบุช่องท้องเบื้องต้นได้ จึงควรนำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้เริ่มการรักษาผู้ป่วยได้ทันที ก่อนที่ห้องปฏิบัติการจะรายงานผลการนับเซลล์ตามมาตรฐาน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Luvera U. Renal replacement therapy in Thailand. In: Satirapoj B. Essential nephrology. 2nd ed. Bangkok: Nam Aksorn Printing House. 2013. p. 489-99 (in Thai)

NHSO, National Health Security office. CKD report. Registration in RRT [Internet] 2022 [cited 2022 May 4]. Available from: https://ucapps4.nhso.go.th/CKDWebReport/main_fu.jsp

NHSO, National Health Security office. CKD report. Peritonitis rate in CAPD patient [Internet] 2022 [cited 2022 May 4]. Available from: http://ucapps4.nhso.go.th/CKDWebReport/main_indi.jsp

Li PK, Chow KM, Cho Y, Fan S, Figueiredo AE, Harris T, et al. ISPD peritonitis guideline recommendations: 2022 update on prevention and treatment. Perit Dial Int. 2022;42(2):110-53.

Li PK, Szeto CC, Piraino B, Bernardini J, Figueiredo AE, Gupta A, et al. Peritoneal dialysis-related infections recommendations: 2010 update. Perit Dial Int. 2010;30(4):393-423.

Li PK, Szeto CC, Piraino B, de Arteaga J, Fan S, Figueiredo AE, et al. ISPD peritonitis recommendations: 2016 update on prevention and treatment. Perit Dial Int. 2016;36(5):481-508.

Akman S, Uygun V, Guven AG. Value of the urine strip test in the early diagnosis of bacterial peritonitis. Pediatr Int. 2005;47(5):523-7.

Rathore V, Joshi H, Kimmatkar PD, Malhotra V, Agarwal D, Beniwal P, et al. Leukocyte esterase reagent strip as a bedside tool to detect peritonitis in patients undergoing acute peritoneal dialysis. Saudi J Kidney Dis Transpl. 2017;28(6):1264-69.

Park SJ, Lee JY, Tak WT, Lee JH. Using reagent strips for rapid diagnosis of peritonitis in peritoneal dialysis patients. Adv Perit Dial. 2005; 21:69-71

Ho ML, Liu WF, Tseng HY, Yeh YT, Tseng WT, Chou YY, et al. Quantitative determination of leukocyte esterase with a paper-based device. RSC Adv. 2020;10(45):27042-9.

Bacârea A, Fekete GL, Grigorescu BL, Bacârea VC. Discrepancy in results between dipstick urinalysis and urine sediment microscopy. Exp Ther Med. 2021;21(5):538.

Dulaney JT, Hatch FE Jr. Peritoneal dialysis and loss of proteins: a review. Kidney Int. 1984;26(3):253-62.