ผลของการจัดตั้งคลินิกจิตดีต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยนอกโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลแม่ทะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

จิรพร เมธีโชติเศรษฐ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาทางจิตเวชที่สำคัญและพบได้บ่อยทั้งในต่างประเทศและในประเทศ การไม่ร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งส่งผลต่อการรักษาโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลแม่ทะ มีการดูแลผู้ป่วยนอกในคลินิกโรคซึมเศร้า แต่ยังพบผู้ป่วยที่ไม่ร่วมมือในการรับประทานยาโรคซึมเศร้ามากถึงร้อยละ 40 ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรค และมีผลกระทบต่อครอบครัวตามมา จึงเห็นความสำคัญของการปรับกระบวนการให้คำปรึกษาในคลินิกเดิม อันนำมาสู่การจัดตั้งคลินิกที่ให้ชื่อว่าคลินิกจิตดี


 


วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาผลของการจัดตั้งคลินิกจิตดีต่อความร่วมมือในการใช้ยาต้านเศร้าและผลลัพธ์ของการรักษาโรคซึมเศร้าในโรงพยาบาลแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง


 


วิธีการศึกษา :  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบ Pre – Post Intervention   กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยนอกโรคซึมเศร้าที่มารับบริการในโรงพยาบาลแม่ทะ ระหว่างเดือน ธันวาคม 2564 – พฤษภาคม 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจเข้าร่วมการศึกษา จำนวน 156 คน จากผู้ป่วยนอกโรคซึมเศร้าทั้งหมด 309 คน กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินความร่วมมือในการรับประทานยาโดยใช้แบบตรวจวัดการรับประทานยา Visual analog scale (VAS)  ร่วมกับการนับยา (Pill count) และมีการประเมินอาการของโรคซึมเศร้า โดยใช้แบบ 9 คำถาม (9Q) เป็นข้อมูลก่อนเข้ารับบริการคลินิกจิตดี และได้รับการประเมินอีกครั้งเมื่อครบระยะเวลา ๖ สัปดาห์ เป็นข้อมูลผลของการจัดตั้งคลินิกจิตดี ซึ่งมีกิจกรรมที่ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอนคือ 1. กิจกรรมการให้บริบาลทางเภสัชกรรมตามแบบแนะนำ 2. การประเมินความถูกต้องและความร่วมมือในการใช้ยา 3. การค้นหาปัญหาในการใช้ยาและแนวทางแก้ไข 4. การติดตามผลความร่วมมือและอาการไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบความแตกต่างทางสถิติโดยใช้ Paired -sample t-test  กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ p-value<0.05


ผลการศึกษา: พบว่า หลังจากเข้ารับบริการจากคลินิกจิตดี ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรับประทานยา และผลลัพธ์การรักษาโรคซึมเศร้า ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยคะแนนเฉลี่ยในการรับประทานยาก่อนและหลังเข้าคลินิกโดยใช้ VAS เท่ากับ 55.19±26.11 และ 99.87±1.13 คะแนน (p< 0.001) เมื่อประเมินโดยวิธีนับจำนวนเม็ดยาคงเหลือ เท่ากับ 58.83±28.60 และ 99.95±0.45 คะแนน (p< 0.001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยอาการของโรคซึมเศร้าเท่ากับ 8.21±2.18 และ 4.62±1.22 คะแนน (p< 0.001) ตามลำดับ


สรุปผลและข้อเสนอแนะ :  ผลของการจัดตั้งคลินิกจิตดี ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการรับประทานยาต้านเศร้าดีขึ้น และมีผลลัพธ์ในการรักษาโรคซึมเศร้าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่งานวิจัยมีกลุ่มเดียวไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบทำให้ไม่สามารถตัดอิทธิผลธรรมชาติได้  จึงควรมีการติดตามและประเมินผลซ้ำในระยะยาวเพื่อติดตามความก้าวหน้าของผู้ป่วย และควรมีการนำรูปแบบไปพัฒนาเป็นแนวทางการให้คำปรึกษาของเภสัชกร เพื่อสร้างความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า รวมทั้งประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่มีปัญหาของผู้ป่วยในลักษณะเดียวกันต่อไป

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

World Health Organization. Depression [Internet]. 2021 [cited 2022 Mar 8]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs369/en/

Department of Mental Health, Ministry of public health. Annual report 2016 [Internet]. 2016 [cited 2022 Mar 8]. Available from: http://www.dmh.go.th/report/datacenter/map/reds.asp

Moonchai K, Sangon s, Ninthachan P, Rungrungsiripan M. Factors associated with adherence to medication in major depressive disorder patients. Thai Red Cross Nursing Journal. 2020; 13(1): 240-20.

Al Jumah K, Hassali MA, Al Qhatani D, El Tahir K. Factors associated with adherence to medication among depressed patients from Saudi Arabia: a cross-sectional study. Neuropsychiatr Dis Treat. 2014;10:2031-7.

Alekhya P, Sriharsha M, Priya Darsini T, Reddy SK, Venkata Ramudu R, et al. Treatment and disease related factors affecting nonadherence among patients on long term therapy of antidepressants. J depress Anxiety 2015;4(2):175.

Sawada N, Uchida H, Suzuki T, Watanabe K, Kikuchi T, Handa T, et al. Persistence and compliance to antidepressant treatment in patients with depression: a chart review. BMC Psychiatry. 2009;9:38.

Yau WY, Chan MC, Wing YK, Lam HB, Lin W, Lam SP, et al. Noncontinuous use of antidepressant in adults with major depressive disorders - a retrospective cohort study. Brain Behav. 2014;4(3):390-7

Prukkanone B, Vos T, Burgess P, Chaiyakunapruk N, Bertram M. Adherence to antidepressant therapy for major depressive patients in a psychiatric hospital in Thailand. BMC Psychiatry. 2010 ;10:64

Pharmacy and Consumer Protection Unit. Medication Adherence in Patients with Depression Report. Performance of pharmacy department Mae Tha Hospital. Annual report 2021 summary meeting of Mae Tha District Public Health Coordinating Committee; October 2021;

Mae Tha Hospital Lampang Province.

Greenberg PE, Fournier AA, Sisitsky T, Pike CT, Kessler RC. The economic burden of adults with major depressive disorder in the United States (2005 and 2010). J Clin Psychiatry. 2015;76(2):155-62.

Pagare V, Shreif K, Thomas E, Jackson K, Buxton S, Rhule V, et al. Visual analogue scale [Internet]. United kingdom: Physiopedia. 2023 [cited 2023 June 8]. Available from: https://www.physio-pedia.com/Visual_Analogue_Scale

Department of Mental Health. Verbal screening/depression scale [Internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2014 [cited 5 Jan2021]. Available from: https://vjlh.go.th/booking/upload_file2/2450661385f86a43f9e92d.pdf

Thiensan T. The results of family counseling with providing mental health education program on drug behavior according to the treatment criteria of schizophrenic patients in the community [dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2013.

Udomrat P. Psychoeducation in schizophrenia. In: Udomrat P, Wasikananon S, editors. Textbook of schizophrenia. Songkhla: Chanmuang Press; 2009. P. 271 - 9.

Hamann J, Langer B, Winkler V, Busch R, Cohen R, Leucht S, et al. Shared decision making for in-patients with schizophrenia. Acta Psychiatr Scand. 2006;114(4):265-73

Yeh MY, Sung SC, Yorker BC, Sun CC, Kuo YL. Predictors of adherence to an antidepressant medication regimen among patients diagnosed with depression in Taiwan. Issues Ment Health Nurs. 2008;29(7):701-17.

Kumar S, Sedgwick P. Non-compliance to psychotropic medication in eastern India: clients' perspective. Part II. Journal of Mental Health, 2001; 10(3):279-5.

Teerathong S, Prasartkaew N, Maneesrivongkool V. The effect of home visit program with telephone follow-up on health behaviors and health condition of patients with uncontrolled high blood pressure. Ramathibodi Nursing Journal, 2014;20(3):356 - 15.

Department of Mental Health. Depressive disorder management guidelines for general practitioners in primary and secondary hospitals. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2010.

Glick ID, Stekoll AH, Hays S. The role of the family and improvement in treatment maintenance, adherence, and outcome for schizophrenia. J Clin Psychopharmacol. 2011;31(1):82-5.