ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถตนเองเพื่อควบคุมภาวะอ้วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เทศบาลนครเชียงราย

Main Article Content

เพ็ญศรี ไข่คำ
นภาเพ็ญ จันทขัมมา
วันเพ็ญ แวววีรคุปต์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภาวะอ้วนในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน หากไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กวัยเรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว


วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถตนเอง พฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วน ดัชนีมวลกาย และ เส้นรอบเอว ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมพัฒนาความสามารถตนเองเพื่อควบคุมภาวะอ้วนกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ   


วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะอ้วน จำนวน 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มอย่างง่ายตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยโรงเรียนเทศบาล 5 เป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนเทศบาล 6 เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวนกลุ่มละ 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t-test,  Independent  t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการศึกษา :  หลังใช้โปรแกรมฯ การรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ (80.00 ±9.75 vs 70.57± 10.26; p=0.001 และ 51.30 ±5.14 vs 46.45± 5.52; p=0.001 ตามลำดับ) และสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้โปรแกรม (80.00 ±9.75 vs 73.13± 10.66; p=0.012 และ 51.30 ±5.14 vs 46.96± 5.77; p=0.003 ตามลำดับ) ส่วนดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวของกลุ่มทดลองเมื่อเปรียบเทียบก่อน-หลังได้รับโปรแกรมฯ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางถิติ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มเปรียบเทียบพบว่า เส้นรอบเอวของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ  (101.36 ±8.74 vs 108.06± 13.21; p=0.024) ส่วนดัชนีมวลกายทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมพัฒนาความสามารถตนเองเพื่อควบคุมภาวะอ้วนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ใช้ได้ผลดีในการพัฒนาการรับรู้ความสามารถตนเอง และพฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนของนักเรียน จึงสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนอื่นได้ ควรมีผู้ปกครองของเด็ก เข้ามามีส่วนร่วมเนื่องจากเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง ที่เป็นส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติ การเลือกรับประทานอาหาร

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Department of Health, Ministry of Public Health. (2014). Guidelines for preventing obesity

in children. Nonthaburi: The Veterans Welfare Organization's Printing House.

Ministry of Public Health. (2019). The percentage of high school-aged children is

proportionate. Retrieved on June 14, 2020. Available from: http://dashboard.anamia.moph.go.

.th/dashboard/overweightstudent

Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). Available from: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard

Health Data Center 2021 (Internet). Chiang Rai : Chiang Rai Provincial Public Health Office ;

(cited 2022 Aug 2022 ). Available from: http://cri.hdc.moph.go.th.

Bureau of Policy and Strategy Ministry of Public Health. (2013). Summary of important

statistics 2013. Bangkok: The Veterans Welfare Organization's Printing House under the Royal

Patronage of His Majesty the King.

Buasri S. et al. (2020). Food, vegetable and fruit consumption behavior of school-age

children in Chiang Rai Province. Nurse Journal, 47(2), 24 – 36.

Department of Health, Ministry of Public Health. (2017). Health promotion guidelines

prevent disease in school-age children and youth. (5th edition). Bangkok: Office of Academic

Services Silpakorn University.

Phuangmalai O., Muktaphan B. (2018). The relationship of sedentary behavior and obesity

among junior high school students at Satit School Khon Kaen University. Journal of Health

Education, 41(1), 90-102.

Department of Health, Ministry of Public Health. (2016). Handbook of control and

prevention of overnutrition in school-aged children. Bangkok: Or Rung Rueng Printing House.

Bandura, A. (1977). Self Efficacy: Toward Unifying Theory of Behavioral Change.

Suwanampa N., and Salawongluck T. (2019). Effects of behavior modification program

food consumption and exercise to prevent obesity for elementary school students in under

Nakhon Ratchasima Municipality Nakhon Ratchasima Province. Ratchaphruek Journal, 17(1),

-120.

Nam Sook Seo, Young Hee Kim, Hae Young Kang.( 2005 ). Effects of an Obesity Control

Program Based on Behavior Modification and Self-efficacy in Obese Elementary School Children. Journal of Korean Academy of Nursing 2005; 35(3): 611-620. ( cited 19 Jan 2022). Available from : https://doi.org/10.4040/jkan.2005.35.3.611

Anantavan S. ( 2009). Exercise promoting behavior in overweight students.Master of Science ( Public health) Thesis Mahidol University, Bangkok.

Chuchan S., Thongbai W., and Kambutr J. (2014). Effects of the Awareness Promotion

Program.self-efficacy and family support for children's dietary habits Late school age with

overweight condition. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok,32(1), 31-43.

Konthongthom T., Nookong A, and Sangperm P. (2018). Effects of a weight control

program on consumption behavior and physical activity behavior of malnourished school-

aged children. over. Journal of Nursing Chulalongkorn University, 30(2), 28-40.

Injorhor Ch.(2011). Effect of weight loss program on weight loss behavior. BMI Waist circumference of people who are overweight, age group 35-60 years