การพัฒนารูปแบบการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย - Mae Sai Model

Main Article Content

เพรียวภูรินทร์ มะโนเพียว
อมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่ติดกับประเทศเมียนมาและมีการขนส่งสินค้าหลากหลายชนิดผ่านด่านแม่สาย การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้มีการจำกัดการเดินทางและการขนส่งสินค้าทุกประเภท จึงมีความสำคัญที่จะพัฒนารูปแบบในการควบคุมโรคโควิด-19 ของช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศพรมแดนแม่สายให้มีประสิทธิภาพและยังสามารถขนส่งสินค้าตามความจำเป็นระหว่างสองประเทศได้


วัตถุประสงค์: 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการควบคุมโรคโควิด-19 (Mae Sai Model) 2) ประเมินผลการมีส่วนร่วมในการพัฒนา Mae Sai Model และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ Mae Sai Model


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดยการทำงานร่วมกันของหน่วยงานในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศพรมแดนแม่สายและในพื้นที่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิ และจัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการศึกษา: การพัฒนา Mae Sai Model  เกิดจากการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและภาวะคุกคามร่วมกันของคณะทำงานพัฒนาสมรรถนะช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงราย ร่วมกับการประเมินสถานการณ์การควบคุมโรคโควิด-19 โดย Mae Sai Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การตรวจสอบเอกสาร ต.8 คนขับรถขนส่งสินค้าที่เดินทางมาจากพื้นที่ทั้งสองประเทศ 2) การวัดอุณหภูมิร่างกาย 3) การแจกบัตรเตือนเรื่องสุขภาพ โดยเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ 4) ผ่านพิธีการศุลกากรและความมั่นคง 5) เปลี่ยนผู้ขับรถขนส่งสินค้า ณ จุดที่กำหนด และ6) ควบคุมยานพาหนะผ่านจุดน้ำยาฆ่าเชื้อ การประเมินผลการมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี และผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบส่วนใหญ่อยู่ระดับดี


สรุปและข้อเสนอแนะ: Mae Sai Model เป็นรูปแบบที่ทุกหน่วยงานในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ พรมแดนแม่สาย และหน่วยงานในพื้นที่อำเภอแม่สายได้ร่วมกันพัฒนา สามารถตรวจจับการระบาด ณ ช่องทางเข้าออกประเทศ และจำกัดบริเวณผู้ขนส่งสินค้าจากเขตติดโรคติดต่ออันตราย ทำให้ติดตามและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พื้นที่ชายแดนสองประเทศได้ ดังนั้นความร่วมมือของทุกหน่วยงานเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนา Mae Sai Model

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Department of Disease Control. Guideline: emergency response to corona virus 2019 in Thailand. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2021.

Chanweerakul A. Notification of Ministry of Public Health Re: Coronavirus disease 2019 (COVID-19). Ministry of Public Health, No.2 Thailand; 2020.

Communicable Diseases Committee CR. Statut of Chiang Rai communicable diseases committee #1. Thailand; 2020.

Prachsakul P, Governor of Chiang Rai. Command of closing points of entry in border area, Chiang Rai province. 1380/2563 Thailand; 2020.

CCSA. The Center for COVID-19 Situation Administration (CCSA) Re: Epidemic of Coronavirus disease 2019 (Covid-19). No.7 Thailand; 2020.

Department of Disease Control. Standard of practice at International Health Quarantine Office, point of entry. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2020.

Prachachat Business Online. Mae Sai border checkpoint takes strict measures Prohibited drivers of goods without a medical certificate to pass the checkpoint. [Internet]. 2021 [cited 2022 Apr 20]. Available from: https://www.prachachat.net/local-economy/news-592759https://www.prachachat.net/local-economy/news-592759

Ketdao R, Thiengtrongdee A, Thoin P. Development of Covid-19 surveillance prevention and control moddel health promoting hospital in sub-distruct level, Udonthani province (Udon Model COVID-19). J Heal Sci. 2021;30(1):53–61.

Chuenchom P, Yodsuwan S, Ployleaung T, Muenchan P, Kanthawee P. The development of COVID-19 epidemic management system at Thai-Laos border: a case study Chiangkong district, Chiang Rai province. Chiang Rai Med. 2022;14(1):71–92.

Wijit W, Uttamangkaphong S, Suttawong T. Surveillance of Coronavirus disease 2019 In Thai and Myanma delivery driver at Mae Sot's International Communicable Disease Control Checkpoint 2 from October 2020 to January 2021. Journal of Disease Prevention and Control: DPC. 2 Phitsanulok. 2021;8(1):44–56.

Burns J, Movsisyan A, Stratil JM, Biallas RL, Coenen M, Emmert-Fees KMF, et al. International travel‐related control measures to contain the COVID‐19 pandemic: a rapid review. Cochrane Database Syst Rev. 2021;3(3):CD013717.

Department of Disease Control. Communicable disease Act B.E. 2558. Third edit. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University Printing; 2016.

World Health Organization (WHO). International Health Regulations 2005. 3rd ed. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2021.

Stufflebeam DL, Coryn CLS. Evaluation theory, models, and applications. San Francisco, CA: John Wiley & Sons; 2014.

Kanthawee P, Siriwattanakul H, Singharachai C, Sridurongkatham P, Trongsakul S, Dokmaingam P, et al. An evaluation of awareness and preparedness on infectious and emerging diseases at the cross border areas; Thailand - Myanmar - Cambodia – Lao PDR project in the fiscal year 2015-2017. J Heal Syst Res. 2020;14(1):51–61.