การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โรงพยาบาลชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มีการแพร่เชื้อจากคนสู่คนอย่างรวดเร็ว ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น พบบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อและเสียชีวิต ทำให้ต้องมีการปรับระบบการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยจำนวนมากได้และบุคลากรปลอดภัย
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนา และศึกษาผลลัพธ์ระบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โรงพยาบาลชัยภูมิ
วิธีการศึกษา : การวิจัยและพัฒนา ตามกรอบแนวคิดของโดนาบีเดียน ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้าง ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านผู้ป่วย ด้านระบบการพยาบาล 2) ด้านกระบวนการ พัฒนาระบบการพยาบาล และแนวปฏิบัติการพยาบาล ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของซูคัฟ ตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ นำแนวปฏิบัติฯทดลองใช้ ประเมินผลลัพธ์ ปรับปรุงจนได้แนวปฏิบัติฯที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และนำแนวปฏิบัติฯไปใช้จริง 3) ด้านผลลัพธ์ ด้านผู้ป่วยและด้านพยาบาล เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย (1) ระบบการพยาบาลและแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 (2) ประเมินความคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพต่อระบบการพยาบาลฯ (3) แบบประเมินความความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อระบบการพยาบาลฯไปใช้ (4) แบบประเมินการปฏิบัติพยาบาลในการทำหัตถการสำคัญ (5) แบบประเมินการปฏิบัติตามระบบการพยาบาลฯ วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษา : ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบการพยาบาลฯ 1. ด้านโครงสร้าง พบว่า ไม่มีหอผู้ป่วยแยกโรคความดันลบ พยาบาลมีอัตรากำลังและศักยภาพไม่เพียงพอ อุปกรณ์เครื่องมือไม่เพียงพอ ระบบการพยาบาลฯยังไม่ชัดเจน 2. ด้านกระบวนการ พัฒนาระบบการพยาบาลฯ ผสมอัตรากำลังพยาบาลจากสาขาการพยาบาลต่างๆ มอบหมายระบบการดูแลผู้ป่วยแบบเป็นทีมร่วมกับระบบการดูแลผู้ป่วยตามหน้าที่ หัวหน้าทีมการพยาบาลคือ พยาบาลที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางผู้ป่วยวิกฤต นิเทศการพยาบาลโดย หัวหน้าตึกและหัวหน้าสาขาการพยาบาลผู้ป่วยหนัก แนวปฏิบัติการพยาบาลฯ ประกอบด้วย 1) การคัดกรอง และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 2) การรับผู้ป่วย 3) การช่วยแพทย์ทำหัตถการและการใช้เครื่องมือแพทย์ 4) การควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 5) การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ 6) การประสานงาน 7) การจำหน่าย และ 3. ด้านผลลัพธ์ พบว่า ด้านผู้ป่วย 1) ได้รับการคัดกรองด้วยการตรวจ rapid antigen ก่อนเข้านอนรักษา เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 85 เป็น ร้อยละ 100 2) อุบัติการณ์ closed contact จาก 3 ครั้ง/เดือน ลดลงเป็น 1 ครั้ง/เดือน 3) อัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดลดลงจาก 14.97 : 1,000 vent. Day เป็น 5.46 : 1,000 vent. Day ด้านพยาบาล 1) ความคิดเห็นต่อระบบการพยาบาลฯเพิ่มขึ้นจากจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก 2) พึงพอใจต่อระบบการพยาบาลฯ เพิ่มขึ้นจากระดับปานกลางเป็นระดับมาก 3) หลังขึ้นปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 สามารถปฏิบัติหัตถการสำคัญได้มากกว่าก่อนขึ้นปฏิบัติงาน 4) ปฏิบัติตามระบบการพยาบาลฯ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 95.16 เป็น ร้อยละ 100 5) ติดเชื้อโควิด-19 จากการปฏิบัติงานลดลงจาก 5 ราย เป็น 3 ราย
สรุปและข้อเสนอแนะ : ระบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ จึงเสนอแนะให้ขยายผลนำไปใช้กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อ รวมถึงโรคอุบัติใหม่อื่นๆ และปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Disease Control. Situation of coronavirus 2019. [Internet]. 2021 [cited 2021 Aug 28]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf.
Department of Medical Service, Ministry of Public Health. Medical practice guidelines of critically ill with COVID-19. [Internet]. 2020 [cited 2021 Aug 18]. Available from: http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8194.
Nursing Division of Ministry of Public Health Thailand. Nursing administration for nursing care the patient with corona virus 2019/patient under investigation. [Internet]. 2020 [cited 2021 Apr 2. Available from: https://www.hfocus.org/content/2020/03/18789.
Chaiyaphum Hospital. Statistics report of the patient with Corona Virus 2019 Chaiyaphum Hospital. Chaiyaphum: Nursing Organization Department Chaiyaphum Hospital; 2020.
Chaiyaphum Hospital. Statistics report of the patient with Corona Virus 2019 Chaiyaphum Hospital. Chaiyaphum: Nursing Organization Department Chaiyaphum Hospital; 2021.
Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003.
Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model: promoting the scholarship of practice. Nurs Clin North Am 2000;35(2):301-9.
Trairatnopas V, Morsup T, Prapredkit S. Guidelines for nursing practice in the epidemic situation of COVID-19 infectious disease. Christian University Journal 2021;27(4):132-44.
Jirathummakoon S, Thepna A, Ongmeekiat T. Nursing management in 4G plus Era. Bangkok: TBS Product; 2016.
Thailand Nursing and Midwifery Council. Clinical nursing practice guideline to Corona Virus 2019 control for nurse and midwifery. [Internet]. 2020 [cited 2021 Sep 9]. Available from:
https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/Covid-Update01042020.pdf%20.
Thongngam S, Pumool S. Nursing care for patient with COVI-19 in the isolation unit, Siriraj Hospital. Siriraj Med Bull 2020;13(3):221-31.
Sharma SK, Nuttall C, Kalyani V; Hemlata. Clinical nursing care guidance for management of patient with COVID-19. J Pak Med Assoc 2020;70(Suppl 3)(5):S118-23.
Cha C, Park S. Information flow and nursing care during the early phase of the COVID-19 pandemic. Journal of Clinical Nursing 2021.
Sunkris K, Nudsuntear P, Kaewken W, Boonkong P. The development of critical nursing care system, Sakon Nakhon province. Journal of Nursing and Health Care 2015;33(2):110-21.
Kaewvichien S, Sangkhamal S. The development of nursing system for pediatric patients undergoing an open heart surgery at Queen Sirikit National institute of child health. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing 2016;27(1):56-71.
Supanam S, Ruangkitudom N, Manatsathit S. Development of nursing system for coronary artery disease patients at Chinnakhet Hospital in Bangkok. J Sci Technol MSU 2021;40(5):336-86.
Sungkaew S, Harnirattisai T, Srisatinarakul B. Registered nurses’ competency in caring for emerging infectious disease. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council 2020;35(3):69-86.
Ministry of Public Health. Guidelines for COVID-19 vaccination in the 2021 outbreak situation in Thailand. Nonthaburi: Department of Disease Control Ministry of Public Health; 2021.