ความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง

Main Article Content

กาญวิภา คำทาสี
อริยา ศิริทองคำ
นัยนา สันติยานนท์
สุวิมล ยี่ภู่

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การแพ้ยาเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแพ้ยาเป็นอย่างดีจะช่วยป้องกันการแพ้ยาซ้ำ ซึ่งเป็นเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา


วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาและปัจจัยที่สัมพันธ์กับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยา


วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลองครักษ์ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2562 ที่มีประวัติแพ้ยา เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ วิเคราะห์คะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ p-value<0.05


ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 ราย ส่วนใหญ่มีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาอยู่ในระดับดี (27 ราย; ร้อยละ 61.40) โดยข้อคำถามที่ผู้ป่วยตอบได้มากที่สุด คือ การระบุอาการแพ้ยา (43 ราย; ร้อยละ 97.73) รองลงมา คือ การระบุข้อบ่งใช้ของยาที่มีประวัติแพ้ (34 ราย; ร้อยละ 77.27) การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาพบว่า อายุ ระดับการศึกษา การมีบัตรแพ้ยา และการมีผู้ดูแลเรื่องการใช้ยา มีความสัมพันธ์กับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001, 0.008, 0.023, 0.028 ตามลำดับ)


สรุปและข้อเสนอแนะ: คะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โดยอายุ ระดับการศึกษา การมีบัตรแพ้ยา และการมีผู้ดูแลเรื่องการใช้ยา มีความสัมพันธ์กับคะแนนความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยา ข้อมูลนี้เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับประวัติการแพ้ยา ซึ่งควรพิจารณาเพื่อประกอบการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Edwards IR, Aronson JK. Adverse drug reactions: definitions, diagnosis, and management. Lancet. 2000;356(9237):1255-9.

Chaipichit N, Jarernsiripornkul N, Chumworathayi P. Knowledge, understanding of drug allergy and drug allergy card carrying behavior of drug allergic patients in Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J. 2009; 24(3):224-30.

Li W, Zhu LL, Zhou Q. Safe medication use based on knowledge of information about contraindications concerning cross allergy and comprehensive clinical intervention. Ther Clin Risk Manag. 2013;9:65–72.

Swasdimongkol P. In-dept analysis of repeated drug allergy in Siriraj Hospital [internet]. (n.d.) [cited 2020 July 26]. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/soqd/admin/news_files/641_18_2.pdf

Wimon P. Effects of psychological intervention with pharmacist counseling on patients’ knowledge and active notification of drug allergy history. Thai J Pharm Prac. 2014;6(1):3-21.

Wiboonsirikul K. Development of repeated drug allergy prevention system in health promotion hospital etwork of Bang Pahan district, Phra Nakhon Si Ayutthaya province by evaluating the accuracy of patient drug allergic history. JPMAT. 2015;5(3):245-61.

Rakangtong C, Lerkiatbundit S. Factors affecting patients’ notification of drug allergy history. Thai J Pharm Prac. 2010;2(1):46-59.

Thanomsieng N. Quality assessment of questionnaire [internet]. (n.d.) [cited 2020 September 6]. Available from: https://home.kku.ac.th/nikom/item_relia_validity_2007_u1.pdf

Panya O, Chaiyasong S. Guidance for preventing repeated drug allergy in sub-district health promoting hospitals, Kamalasai district, Kalasin province. J Sci Technol MSU. 2016;35(5):549-58.

Jarernsiripornkul N, Chaipichit N, Chumworathayi P, Krska J. Management for improving patients' knowledge and understanding about drug allergy. Pharm Pract (Granada). 2015;13(1):513.

Sooksripeng B. Social Support Theory [internet]. 2012 [cited 2020 September 1]. Available from: https://www.gotoknow.org/posts/115753