การประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรงเรียนผู้สูงอายุถือเป็นรูปแบบของการจัดกิจกรรม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และเพิ่มพูนในสิ่งที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิต การส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงการพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ขณะเดียวกันยังเป็นพื้นที่ของผู้สูงอายุที่จะได้แสดงศักยภาพโดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ ประสบการณ์ ที่สั่งสมให้แก่บุคคลอื่นเพื่อสืบสานภูมิปัญญา ให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย หากผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม แบบองค์รวมและเป็นระบบในระยะยาว ย่อมส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทำให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างผาสุก และมีสุขภาวะในปั้นปลายของชีวิต กล่าวได้ว่าโรงเรียนผู้สูงอายุ จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเกิดคุณภาพชีวิตที่ดีตามความเหมาะสม
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และการประเมินผลการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mix method research) ประกอบด้วยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเป็นนักเรียนของโรงเรียนผู้สูงอายุในอำเภอแม่จัน 13 แห่ง รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยอิงจาก WHOQOL–BREF–THAI ของกรมสุขภาพจิต จำนวน 356 คน และเชิงคุณภาพโดยแบบสัมภาษณ์ จำนวน 130 คน โดยผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา และการสอบทานแบบสามเส้า วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบสเปียร์แมน
ผลการศึกษา: พบว่าผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตโดยรวมระดับดี เมื่อแยกรายด้านพบอยู่ในระดับดี คือด้านจิตใจและด้านสิ่งแวดล้อม พบอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านสุขภาพกาย และด้านสัมพันธภาพทางสังคม อีกทั้งพบในระดับไม่ดีในด้านสัมพันธภาพทางสังคม ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ได้แก่ สุขภาพผู้สูงอายุเมื่อเปรียบเทียบวัยเดียวกัน รายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย สุขภาพผู้สูงอายุเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว สถานภาพสมรส การเป็นสมาชิกในโรงเรียนผู้สูงอายุ ≤3ปี ความถี่การเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียน และระดับการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05,r=0.216, 0.179, 0.134,0.114, 0.109, 0.105และ 0.104 ตามลำดับ)
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโรงเรียนมีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี แม้จะมีความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายก็ตาม เห็นได้ว่าควรสนับสนุนกิจกรรมในทุกด้าน และเน้นในด้านการสร้างสัมพันธภาพทางสังคม โดยอาศัยความร่วมมือของเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพชีวิตคือ ชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายต่างๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Karakad J. Thailand and aging society [Internet]. Bangkok: Institute for Innovative Learning, Mahidol University; 2022 [cited 2020 October 28]. Available from:
https://il.mahidol.ac.th/upload/img/2019-05-15-052430.pdf
Health Data Center. The number of elderly people in the area of responsibility is classified according to their daily living ability [Internet]. HDC of Chiang Rai Provincial Public Health Office: 2019-2021. [cited 2020 October 28]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=953a2fc648be8ce76a8115fbb955bb51
Health Data Center. Top 10 causes of illness among outpatients according to disease groups [Internet]. HDC of Chiang Rai Provincial Public Health Office: 2019-2021. [cited 2020 October 28]. Available from: http://61.19.32.29/hdc/reports/report.php?source=pformated/format2.php&cat_id=491672679818600345dc1833920051b2&id=65fdb98bca9c344737fcb1fd4b64e9e5
Sukcharoen P, Rakhab A, Thongied K. The Concerns of seniors in suratthani: lessons learned from an elderly school. Journal of Humanities and Social Sciences. 2019;11(1):61-81.
Yothikarn W. The activities reinforcing value and happiness of the elderly in elderly schools. Journal Of Social Synergy. 2020;11(2):37-53.
Imiwat P, Wongpatum N, Somkuan K, Tunkaew S. Guidelines developing elderly’s quality of life via Community Learning Center. Journal of MCU Peace Studies .2019;7(2):364-78
Wongwanich S. Project design and evaluation based on teory of change. Journal of Social Research. 2009:7-19.
Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. Harper & Row: New York;1973.
Neuman WL. Social research methods: qualitative and quantitative approaches. Teaching Sociology. 2000;30(3):380-1.
Mahatnirunkul S, Tantipiwatanasakul W, Pumpaisanchai W. World Health Organization Quality of Life Brief – Thai, WHOQOL-BREF-THAI [Internet]. Nonthaburi: Department of Mental Health; 1997 [cited 28 October 2020]. Available from: https://dmh.go.th/test/whoqol/
Chiangrai Provincial Administrative Organization. Lessons learned from the elderly school in Chiang Rai province to improve the quality of life of the elderly in Chiang Rai province. Chiang Mai: Wanida Karnpim; 2020.
Hinkle DE, Wiersma W, Jurs SG. Applied tatistics for the behavioral sciences.4th ed. Boston : Houghton Mifflin;1998.
Thurmond VA. The point of triangulation. J Nurs Scholarsh. 2001;33(3):253-8.
Kamnak R, Phanlertphanij S. The model of participation in elderly health promotion of Wat Hua Fai elderly school, San Klang sub-district, Phan district, Chiang Rai province. Social Sciences Research and Academic Journal. 2021;11(4):47-62.
Tanintayangkul N, Sangsi R, Pasangkhini S. A study of behaviors and development guidelines towards the life quality of elderly according to well–being principles: a case study of ban Plabu, Nong Saeng sub district, Wapi Pathum district, Mahasarakham province. NRRU Community Research Journal. 2018;12(12):192-203.
Luangpantao K. Factors related to quality of life among elderly people for the curriculum of the elderly school in Plaplachi subdistrict, U-thong district, Suphanburi province. Academic Journal of Community Public Health. 2019;5(2):14-26.
Wiphawin C, Maneesil S. Factors relating to enhance the quality of life of the elderly Insaluang-Keelek community Maerim district Chiangmai province. Santapol College Academic Journal. 2020;6(3):18-27.
Wisutruangdat W. Factors Related to the Elderly’s Quality of Life in Samrongnua subdistrict municipality, Samut Prakan province. The 3rd STOU Graduate Research Conference. 2013;1-10.
PhrakkruSophonphutthisat, PhrapaladBoonjerdSucitto (Soontornsuk), PhraTherdsakSattindhro(Sriwirat), Deethaisong N, Saengnont K. Management of elderly health and welfare of the elderly school in the northeast. Journal of MCU Nakhondhat. 2019;2(25):960-72.