ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาในช่วงแรก; การศึกษาย้อนหลัง 10 ปี ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมา (multiple myeloma) พบได้ร้อยละ 10 ของมะเร็งทางโลหิตวิทยา ระยะเวลาการรอดชีวิตหลังได้รับการวินิจฉัยประมาณ 5.2 ปี โดยก่อนหน้านี้ยังไม่มีการศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาในจังหวัดเชียงราย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษา ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาในช่วงแรก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาในช่วงแรก ของผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมา ตามรหัส ICD-10 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 212 คน พบว่า 72 คน (ร้อยละ 33.96) เสียชีวิตภายในช่วงระยะเวลา 12 เดือนหลังได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมา จากการวิเคราะห์พหุตัวแปร โดยวิธี multivariable logistic regression พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเพิ่มการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะการทำงานของไตบกพร่อง และปัจจัยที่ความสัมพันธ์ต่อผลการเพิ่มการรอดชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และสาเหตุการเสียชีวิต 3 อันดับแรก คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด, การติดเชื้อที่ปอด และภาวะไตวายเฉียบพลัน
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: ภาวะไตวายมีผลเพิ่มการเสียชีวิต และ การรับยาเคมีบำบัดเพิ่มการรอดชีพในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ควรให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติ ให้เห็นความสำคัญของการรักษานี้ และสาเหตุการเสียชีวิตในระยะ 12 เดือนแรก เกิดการจากติดเชื้อและภาวะไตวาย จึงควรเฝ้าระวังและรีบให้การรักษาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Rajkumar SV. Updated Diagnostic Criteria and Staging System for Multiple Myeloma. American Society of Clinical Oncology educational book American Society of Clinical Oncology Annual Meeting. 2016;35:e418-23.
Firth J. Haematology: multiple myeloma. Clinical medicine (London, England). 2019;19(1):58-60.
Jones A, Bowcock S, Rachet B. Survival trends in elderly myeloma patients. Eur J Haematol. 2021;106(1):126-31.
Kumar SK, Dispenzieri A, Lacy MQ, Gertz MA, Buadi FK, Pandey S, et al. Continued improvement in survival in multiple myeloma: changes in early mortality and outcomes in older patients. Leukemia. 2014;28(5):1122-8.
Guidelines for diagnosis and treatment of hematologic diseases 2018 vol. 3. Nawarawong W, Numbenchapol T, Wiangnon S, editors. Bangkok: The Thai Society of Hematology; 2018.
Kumar V, Ailawadhi M, Dutta N, Abdulazeez M, Aggarwal CS, Quintero G, et al. Trends in Early Mortality From Multiple Myeloma: A Population-Based Analysis. Clin Lymphoma Myeloma Leuk.
;21(5):e449-e55.
Gregersen H, Vangsted AJ, Abildgaard N, Andersen NF, Pedersen RS, Frølund UC, et al. The impact of comorbidity on mortality in multiple myeloma: a Danish nationwide population-based study. Cancer Med. 2017;6(7):1807-16.
Dimopoulos MA, Moreau P, Terpos E, Mateos MV, Zweegman S, Cook G, et al. Multiple myeloma: EHA-ESMO clinical practice guidelines for diagnosis, treatment and follow-up.
Hemasphere. 2021;5(2):e528.
Sonneveld P, Goldschmidt H, Rosiñol L, Bladé J, Lahuerta JJ, Cavo M, et al. Bortezomib-based versus nonbortezomib-based induction treatment before autologous stem-cell transplantation in patients with previously untreated multiple myeloma: a meta-analysis of phase III randomized, controlled trials. J Clin Oncol. 2013;31(26):3279-87.
Sneyd MJ, Cox B, Morison IM. Trends in myeloma incidence, mortality and survival in New Zealand (1985-2016). Cancer Epidemiol. 2019;60:55-9.
Liu J, Liu W, Mi L, Zeng X, Cai C, Ma J, et al. Incidence and mortality of multiple myeloma in China, 2006-2016: an analysis of the Global Burden of Disease Study 2016. J Hematol Oncol. 2019;12(1):136.
Mohty M, Cavo M, Fink L, Gonzalez-McQuire S, Leleu H, Mateos MV, et al. Understanding mortality in multiple myeloma: Findings of a European retrospective chart review. Eur J Haematol.
;103(2):107-15.
Hsu P, Lin TW, Gau JP, Yu YB, Hsiao LT, Tzeng CH, et al. Risk of Early Mortality in Patients With Newly Diagnosed Multiple Myeloma. Medicine (Baltimore). 2015;94(50):e2305.