การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้านการบริโภคอาหารรสเค็ม โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปี พ.ศ. 2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญระดับโลกและระดับประเทศ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสาเหตุสำคัญหนึ่งคือ พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ทำให้ได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินความด้องการของร่างการ โดยเฉพาะเกลือโซเดียม จากการสำรวจการบริโภคเกลือโซเดียมในประเทศไทย พบว่าคนไทยได้รับโซเดียมจากการรับประทานอาหารมากถึง 4,351.69 มิลลิกรัมต่อวัน เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ซึ่งการบริโภคเกลือโซเดียมมากเกินความต้องการมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารรสเค็ม ก่อนและหลังดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาวิจัยเชิงประเมินผล โดยมีการสำรวจระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการบริโภคอาหารรสเค็ม ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ก่อนและหลังดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม 8 ขั้นตอน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นจาก การทบทวนวรรณกรรม ระยะเวลาการศึกษาระหว่างเดือน มีนาคม – ธันวาคม 2563 พื้นที่ศึกษา ชุมชนที่สมัครใจเข้าร่วมจังหวัดละ 1 ชุมชน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน รวมทั้งสิ้น 8 ชุมชน เก็บข้อมูลก่อนและหลังดำเนินการ เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงาน จำนวนชุมชนละ 60 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 480 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired Samples T-test
ผลการศึกษา : จากการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้านการบริโภคอาหารรสเค็ม โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่า หลังดำเนินการกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มมากกว่าก่อนดำเนินการในทุกๆด้าน โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านความรู้ และด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารรสเค็ม (7.25±1.94 v.s. 8.01±1.32, p<0.001 และ 2.22±0.19 vs 2.26±0.21, p<0.001 ตามลำดับ) ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยด้านทัศนคติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3.44 ±0.38 vs 3.48±0.46, p=0.110)
สรุปและข้อเสนอแนะ : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงความรู้และพฤติกรรมได้ อย่างไรก็ตามการเสริมสร้างทัศนคติในการลดการบริโภคเค็ม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนเพื่อเสริมสร้างทัศนคติให้แก่กลุ่มเป้าหมายและเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Strategy and Plans Group Bureau of Non-Communicable Diseases. Department of Disease Control. 5-Year national NCD prevention and control strategic plan (2017 - 2021).Bangkok: Emotion Art; 2017.
Vijitsoonthornkul K. Behavioral risk factor surveillance system 2015 [internet]. Nonthaburi: Division of Non-Communicable Diseases; 2015 [cited 2022 Jul 6]. Available from: http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=10520&tid=&gid=1-015-005.
Global action plan for the prevention and control of non-communicable diseases 2013–2020. Geneva: World Health Organization; 2013.
National Health Assembly Resolution 2013. 6th ed. Nonthaburi: National Health Commission Office; 2014.
National Health Assembly Resolution 2015. 8th ed. Nonthaburi: National Health Commission Office; 2016.
Bureau of Non-communicable Diseases Department of Disease Control. Community-based NCD prevention and control action guide: reducing the risk of community-based NCDs (NCDs) for healthcare workers responsible for chronic NCDs. Bangkok: Emotion Art; 2018.
Bloom BS, Hastings JT, Madaus GF, Baldwin TS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.
Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.
Best JW. Research in education. 4th ed. New Jersy: Pretice Hall; 1981.
Chokevivat V. Declaration of Helsinki 2013 [Internet]. Bangkok: Health Systems Research Institute; 2021 [August 17; cited 2022 November 10]. Available from: http://www.ihrp.or.th/book/detail/210.
Wongthida K. The development of health behavioral change of food consumption and nutrition labels reading among chronic disease patients in Ban Pa Hiang community, Bo Haeo district sub-district, Mueang district, Lampang province. Journal of Health Sciences Scholarship. 2020;7(1):55-75.
Panmung N, Srisawat K, Bunthawi P. The experimental study of using the low salt intervention program in communities. Department of Health Service Support Journal. 2020;16(3):39-48.
Jundai A, Puwapanich P. The effects of motivational counseling for attitude change on knowledge and attitude toward smoking among drugaddicts at Paktho hospital, Changwat Ratchaburi. Thai Journal of Nursing. 2018;67(1):40-5.