ผลของการฟอกเลือดด้วยน้ำยาฟอกเลือดอุณหภูมิต่ำเทียบกับอุณหภูมิปรกติ ต่ออัตราการขจัดยูเรีย และความดันโลหิตในผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

Main Article Content

ปัญจพล กอบพึ่งตน
จีรตินันท์ นีระเสน
ปิยาภรณ์ ศิริจันทร์ชื่น

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การฟอกเลือดด้วยน้ำยาฟอกเลือดอุณหภูมิต่ำ (35-36 องศาเซลเซียส) เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ในการป้องกันการเกิดความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด แต่มีบางการศึกษาพบว่าอาจจะทำให้อัตราการขจัดยูเรียซึ่งเป็นหนึ่งในตัวบอกถึงความพอเพียงของการฟอกเลือดลดลง


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการฟอกเลือดด้วยน้ำยาฟอกเลือดอุณหภูมิต่ำเทียบกับอุณหภูมิปรกติ ต่อการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต และอัตราการขจัดยูเรียของผู้ป่วย


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มชนิดมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดทางเดียว ทำในผู้ป่วยไตวายอายุมากกว่า 18 ปี ที่รักษาด้วยการฟอกเลือด 56 คนที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ผู้ป่วยจะถูกสุ่มให้ได้รับการฟอกเลือดด้วยน้ำยาฟอกเลือดอุณหภูมิต่ำ (35 องศาเซลเซียส)หรืออุณหภูมิปรกติ (37 องศาเซลเซียส) เพื่อเปรียบเทียบความดันเลือดแดงเฉลี่ย และอัตราการขจัดยูเรีย ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นตัวแปรจัดกลุ่มเปรียบเทียบโดย exact probability tests เปรียบเทียบข้อมูลค่าเฉลี่ยต่อเนื่องโดย Student’s t-test หรือ Wilcoxon rank-sum test และใช้ Multivariable regression analyses เพื่อศึกษาผลของ อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ความเข้มข้นของเลือด และความเข้มข้นของอัลบูมินในเลือด ระหว่างทั้งสองกลุ่ม


ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือดแดงเฉลี่ยหลังฟอกเลือดไม่แตกต่างกัน (5.44±19.55 มิลลิเมตรปรอท เทียบกับ 9.13±13.06 มิลลิเมตรปรอท; p=0.430) มีอัตราการขจัดยูเรียไม่แตกต่างกัน (53.43±12.69 % เทียบกับ 53.17±18.07 %; p=0.950) ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรงและไม่มีผู้ป่วยรายใดที่มีความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด ไม่มีผู้ออกจากการศึกษา


สรุป และข้อเสนอแนะ: การฟอกเลือดด้วยน้ำยาฟอกเลือดอุณหภูมิต่ำไม่มีผลต่อความดันโลหิตหลังฟอกเลือดเมื่อเทียบกับการฟอกเลือดด้วยน้ำยาฟอกเลือดอุณหภูมิปรกติ และไม่ทำให้อัตราการขจัดยูเรียลดลง ดังนั้นในผู้ป่วยทั่วไปแนะนำให้ใช้น้ำยาฟอกเลือดอุณหภูมิปรกติในการฟอกเลือด

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Kanbay M, Ertuglu LA, Afsar B, Ozdogan E, Siriopol D, Covic A, Basile C, et al. An update review of intradialytic hypotension: concept risk factors, clinical implications and management. Clin Kidney J 2020; 13(6): 981–993.

Sars B, Van der Sande FM, Kooman JP. Intradialytic hypotension: Mechanisms and outcome. Blood Purif 2020; 49:158–167.

Van der Sande FM, Kooman JP, Van Kuijk WHM, Leunissen KML. Management of hypotension in dialysis patients: Role of dialysate temperature control. Saudi J Kidney Dis Transplant 2001;12(3):382-386.

Kooman J, Basci A, Pizzarelli F et al. EBPG guideline on haemodynamic instability. Nephrol Dial Transplant 2007; 22: ii22–ii44

Hussein TA, Malik AS. Effect of dialysate temperature on hemodynamic stability among hemodialysis patients. Iraqi J Med Sci 2014; 12(2): 173-179.

Azar AT. Effect of dialysate temperature on hemodynamic stability among hemodialysis patients. Saudi J Kidney Dis Transplant. 2009; 20(4): 596-03.

Sivasankari M, Jayaprakash V, Indhumathi E, Jagadeswaran D, Srivatsa A, Jayakumar M. The effect of dialysate temperature on urea reduction ratio among patients undergoing maintenance haemodialysis: A Case Control Study. J Clin Diagn Res. 2019; 13(2): 25-28.

Ayoub A, Finlayson M. Effect of cool temperature dialysate on the quality and patients’ perception of haemodialysis. Nephrol Dial Transplant 2004; 19: 190–194.

Bullen A, Rifkin D, Trzebinska D. Individualized cool dialysate as an effective therapy for intradialytic hypotension and hemodialysis patients’ perception. Ther Apher Dial 2019; 23(2): 145–152.

Tsujimoto Y, Tsujimoto H, Nakata Y, Kataoka Y, Kimachi M, Shimizu S, Ikenoue T, Fukuma S, Yamamoto Y, Fukuhara S. Dialysate temperature reduction for intradialytic hypotension for people with chronic kidney disease requiring haemodialysis. Cochrane Database of Systematic Reviews 2019, Issue 7. Art. No.: CD012598. DOI: 10.1002/14651858.CD012598.pub2.

Sarbaz H, Kiyani F, Keikhaei A, Bouya S. The effect of reduced dialysate temperature on dialysis adequacy of diabetic patients (A Clinical Trial Study). Med Surg Nurs J. 2019; 8(1):e90518.