ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศไทยส่งผลกระทบต่อการบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทำให้หน่วยปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานความปรกติใหม่ที่จะให้การดูแลผู้ป่วยที่เจ็บป่วยในภาวะฉุกเฉินและป้องกันการติดเชื้อไปยังบุคลากร โดยการปรับเปลี่ยนมาตรฐานในการดูแลรักษาทั้งในด้านโครงสร้าง ด้านบุคลากร และระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อศึกษา (1) ลักษณะของการปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย และ (2) อิทธิพลของปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านองค์การ ต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน
วิธีการศึกษา การวิจัยเป็นแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดเชียงราย จำนวน 2,504 คน กลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ 300 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามประเภทของผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามมีความเที่ยงระหว่าง 0.70-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการศึกษา ในภาพรวมการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับปฏิบัติทุกครั้งหรือทำเป็นปกติ โดยมาตรฐานความปกติใหม่ที่ปฏิบัติก่อนปฏิบัติงานอยู่ในระดับปฏิบัติเกือบทุกครั้ง ระหว่างการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปฏิบัติทุกครั้งหรือทำเป็นปกติ และหลังการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปฏิบัติทุกครั้งหรือทำเป็นปกติ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย มี 8 ตัวแปร เรียงจากอิทธิพลเชิงบวกจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสามารถและทักษะในการดูแลผู้ป่วย ปัจจัยองค์การด้านการวางแผนองค์การ ด้านการรายงาน ด้านการจัดการด้านสารสนเทศ ด้านการสนับสนุน ด้านการสื่อสาร และปัจจัยส่วนบุคคลเพศหญิง ตามลำดับ ส่วนปัจจัยองค์การด้านการจัดการงบประมาณมีอิทธิพลเชิงลบ โดยร่วมกันทำนายคะแนนการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปกติใหม่ได้ ร้อยละ 65.60
สรุปผลและข้อเสนอแนะ ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย มี 8 ตัวแปร ได้แก่ ความสามารถและทักษะในการดูแลผู้ป่วย และเพศหญิง การวางแผนองค์การ การรายงาน การจัดการด้านสารสนเทศ การสื่อสาร การจัดการงบประมาณ และการสนับสนุน ดังนั้นในการยกระดับการปฏิบัติการฉุกเฉินจึงควรมีการวางแผนการพัฒนาให้ครอบคลุมประเด็นดังกล่าวทั้งในระดับบุคคล และระดับนโยบายขององค์กรและจังหวัด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Thailand. The Secretariat of the Cabinet. Notification of the Emergency Medical Committee Subject: Type, Level, Authority, Scope of Responsibility and limitations of the operating unit B.E. 2562. Government Gazette 2019 (36, Section 58D). p. 2–11.
Thailand. The Secretariat of the Cabinet. National Emergency Medicine Act B.E. 2551. Government Gazette. 2008 (125, Section 44A). p. 1–17.
Thailand. The Secretariat of the Cabinet. Emergency Medical Committee Notification Re: Authority, Scope, Responsibilities and limitations in medical practice of medical assistants under medical orders or supervision B.E. 2556. Government Gazette. 2013 (130, Section Special 33 D). p. 38–9.
National Institute for Emergency Medicine. Emergency medical service report [Internet]. 2021 [cited 2022May4]. Available from: https://ws.niems.go.th/ITEMS_DWH/
Department of Disease Control. Thailand COVID – 19 situation report [Internet]. Novel Corona virus 2019. 2021 [cited 2022 Jan 4]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
Department of Public Health Emergency Management. Handbook of standard ambulance, safety patient transfer operation. Nonthaburi: Department of Permanent Secretariat, Ministry of Public Health; 2020.
National Institute for Emergency Medicine. Handbook and guideline for special COVID-19 operation team : SCOT. Nonthaburi: NIEM; 2020.
Schaitberger HA, Kelly EA. Interim guidance for emergency medical services (EMS) systems for COVID-19 in the United States [internet]. International association of fire fighter. 2020 [cited 2022 May 4]. Available from: https://www.iaff.org/wp-content/uploads/Coronavirus-Memo-V3.pdf
Kabbuasri T. POSDCoRB process and technique of POSDCoRB. Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand. 2019; 1(3): 15–22.
Thipmanee S, Kerdwichai N. POSDCoRB and good governance for startup in Thailand 4.0 era. Journal of MCU Humannities Review 2019;5(1):73-88.
Mohammadi F, Tehranineshat B, Bijani M, Khaleghi AA. Management of COVID-19-related challenges faced by EMS personnel: a qualitative study. BMC Emerg Med. 2021;21(1):95.
Pan American Health Organization. COVID-19 recommendations: prehospital emergency medical services (EMS), draft document, version 4.4. [internet] 2020 [cited 2021 March 1] .Available from: https://www.paho.org/en/documents/covid-19-recommendations-prehospital-emergency-medical-services-ems.
Alexander AB, Masters MM, Warren K. Caring for infectious disease in the prehospital setting: A qualitative analysis of EMS providers experiences and suggestions for improvement. Prehospital Emergency Care. 2019;24(1):77–84.
National Institute for Emergency Medicine. Self-assessment Criteria Quality Assessment and Certification of Thai Emergency Medical Service Accreditation : TEMSA for advanced life support unit [Internet]. National Institutefor Emergency Medicine. 2019 [cited 2022May17]. Available from: https://www.niems.go.th/1/UploadAttachFile/2019/EBook/47954_20190826111820.pdf
Asadzadeh A, Pakkhoo S, Saeidabad MM, Khezri H, Ferdousi R. Information technology in emergency management of COVID-19 outbreak. Informatics in Medicine Unlocked. 2020;21:100475
Mitropoulos S, Mitsis C, Valacheas P, Douligeris C. An online emergency medical management information system using mobile computing. Applied Computing and Informatics 2021;1-13.
Center of Disease Control. Interim guidance for managing healthcare personnel with SARS-COV-2 infection or exposure to SARS-COV-2 [Internet]. 2020 [cited 2022 May 17]. Available from: https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/hcp/guidance-risk-assesment-hcp.html
Kavuma P, Turyakira P, Bills C, Kalanzi J. Analysis of financial management in public emergency medical services sector: case study of the Department of Emergency Medical Services, Uganda. Afr J Emerg Med 2020;10 Suppl 1:S85-9.
IMF Preparing Public Financial Management Systems for Emergency Response Challenges [Internet]. Washington, DC: Fiscal Affairs Department, International Monetary Fund; 2020 [updated April 09; cited 2022 October 25]. Available from: https://www.imf.org/~/media/Files/Publications/covid19-special-notes/special-series-on-covid19-preparing-public-financial-management-systems-for-emergency-response.ashx.