ประสิทธิภาพของการใช้เครื่องจี้ตัดเส้นเลือดด้วยคลื่นความถี่สูง ในการผ่าตัดต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกร
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา การรักษาโรคเนื้องอกต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรด้วยการผ่าตัดแบบดั้งเดิมทำด้วยการมัดผูกเส้นเลือด มีความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เส้นประสาทคู่ที่ 7 บาดเจ็บ น้ำลายคั่งที่ใต้ชั้นผิวหนัง และท่อน้ำลายรั่ว ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาลนานขึ้น หัตถการนี้จำเป็นต้องใช้ความละเอียดของการปิดเส้นเลือด และการแยกเส้นประสาท การใช้เครื่องจี้ตัดเส้นเลือดด้วยคลื่นความถี่สูงใช้ความร้อนแรงเสียดทานในการปิดเส้นเลือดและเลาะเนื้อเยื่อดังกล่าว มีโอกาสช่วยทำให้การทำหัตถการเป็นไปด้วยความราบรื่น รวดเร็ว และ เลือดออกน้อยลง
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลลัพธ์การรักษาด้วยการใช้งานเครื่องจี้ตัดเส้นเลือดด้วยคลื่นความถี่สูงในการผ่าตัดต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
วิธีการศึกษา การศึกษาโดยวิธี Retrospective cohort study โดยทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมน้ำลายข้างเดียวของต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรระหว่าง 1 ตุลาคม พ.ศ.2559 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2563 แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบดั้งเดิม คือใช้การหนีบและผูกเส้นเลือด และแบบใช้เครื่องจี้ตัดเส้นเลือดด้วยคลื่นความถี่สูง
ผลการศึกษา จากจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 14 ราย ผู้ป่วย 5 รายได้รับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม และ 9 รายได้รับการผ่าตัดแบบใช้เครื่องจี้ตัดเส้นเลือดด้วยคลื่นความถี่สูง เมื่อวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์พหุตัวแปรแบบถดถอย พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้อุปกรณ์จี้ตัดด้วยคลื่นความถี่สูงมีปริมาณเลือดที่ออกในขณะผ่าตัดน้อยกว่า (p 0.001) และปริมาณของเหลวสะสมในสายระบายทั้งหมดน้อยกว่า (p 0.030) และมีแนวโน้มจำนวนวันที่ใส่สายระบายน้อยกว่า (p 0.135) ในขณะที่ระยะเวลาในการผ่าตัดและระดับความเจ็บปวดไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ทั้งนี้ ผู้ป่วยทุกรายไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด
สรุปผลและข้อเสนอแนะ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้อุปกรณ์จี้ตัดด้วยคลื่นความถี่สูงมีประโยชน์ต่อการผ่าตัดต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ซึ่งมีโอกาสมีผลต่อการลดวันนอน เป็นโอกาสในการพัฒนางานการดูและผู้ป่วยทางโสตศอนาสิกต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Chauhan N, Shah JA. Parotid Gland Tumours: our experience. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg. 2019;71(3):378–82.
Tian Z, Li L, Wang L, Hu Y, Li J. Salivary gland neoplasms in oral and maxillofacial regions: a 23-year retrospective study of 6982 cases in an eastern Chinese population. Int J Oral Maxillofac Surg. 2010 Mar;39(3):235-42.
Sood S, McGurk M, Vaz F. Management of salivary gland tumours: United Kingdom national multidisciplinary guidelines. J. Laryngol. Otol. 2016;130 (S2):S142-S9.
Nahlieli O. Complications of traditional and modern therapeutic salivary approaches. Acta Otorhinolaryngol Ital. 2017;37(2):142-7.
Nadershah M, Salama A. Removal of parotid, submandibular, and sublingual glands. Oral Maxillofac Surg Clin North Am. 2012 May;24(2):295-305.
Fornaro R, Frascio M, Stabilini C, Ricci B, Mandolfino F, Sticchi C, et al. [Transcutaneous excision of the submandibular and sublingual glands: notes on anatomy and surgical technique]. Chir Ital. 2007;59(2):237-45.
Deganello A, Meccariello G, Busoni M, Parrinello G, Bertolai R, Gallo O. Dissection with harmonic scalpel versus cold instruments in parotid surgery. B-ENT. 2014;10(3):175–8
Polacco MA, Pintea AM, Gosselin BJ, Paydarfar JA. Parotidectomy using the Harmonic scalpel: ten years of experience at a rural academic health center. Head Face Med. 2017;13(1):8.
Hu Y, Zheng C, Cao R, Hong W, Zhang Z. Resection of benign tumours of the submandibular gland with harmonic scalpel-assisted minimally extracapsular dissection. J Int Med Res. 2020;48(1):300060519892783.
Şahin B, Esen E, Başaran B. Drainless resection of the submandibular gland with facial vessel preservation: A comparative study. J Stomatol Oral Maxillofac Surg. 2020;121(5):501-5.
Muhanna N, Peleg U, Schwartz Y, Shaul H, Perez R, Sichel JY. Harmonic scalpel assisted superficial parotidectomy. Ann Otol Rhinol Laryngol. 2014;123(9):636-40.
Chow TL, Chan TT, Choi CY, Lam SH. Submandibular sialoadenectomy with local anesthesia in the era of minimally invasive surgery. Otolaryngol Head Neck Surg. 2008;138(6):752-5.
Laverick S, Chandramohan J, McLoughlin PM. Excision of a submandibular gland: a safe day case procedure?. Br J Oral Maxillofac Surg. 2012;50(6):567-8.
Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Recommendations for the development of the service system ODS (One Day Surgery). [Bangkok]: Printing office the war veterans organization of Thailand under royal patronage of his Majesty the King;2017.
Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Safety in One Day Surgery (ODS). [Nonthaburi]: Theppenwanit printing house;2018.