ประสิทธิผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลพะเยานมแม่ของมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลพะเยา

Main Article Content

ปาริชาติ ธาดาจันทน์
รศ.ดร.ภก. สุรศักดิ์ เสาแก้ว

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 50 ของการเกิดมีชีพ แต่จากผลสำรวจในปี พ.ศ. 2562 ของสำนักสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พบว่ามีทารกเพียงร้อยละ 14 ที่ได้กินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต การใช้สื่อวีดิทัศน์ร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดมีรายงานว่าสามารถช่วยส่งเสริมการกินนมแม่ในทารกได้


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด ในบริบทของโรงพยาบาลพะเยา


วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง 2 กลุ่มวัดผลหลังให้กิจกรรม (Quasi-Experimental  Research, 2 groups posttest-only ) ศึกษาเปรียบเทียบถึงผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนและหลังการให้โปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในหญิงหลังคลอดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพะเยาระหว่างเดือนกันยายน 2564 – มีนาคม 2565 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 129 ราย เป็นกลุ่มทดลอง 63 ราย กลุ่มควบคุม 65 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และติดตามให้คำแนะนำเมื่อผู้ป่วยจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลทางโทรศัพท์/LINE application ไปจนถึงวันที่ 7 หลังคลอด จากนั้นติดตามผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 28 วันหลังคลอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยโลกิสติกส์


ผลการศึกษา: พบว่าแม่มีอายุโดยเฉลี่ย 30 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาปริญญาตรี มีงานประจำ ผลของการได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ณ 28 วันหลังคลอด มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหลังให้โปรแกรม ร้อยละ 71.40 และก่อนให้โปรแกรมร้อยละ 69.2 (P= 0.786) เมื่อวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยโลกิสติกส์ พบว่าการได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีแนวโน้มเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว (adjusted Odds ratio 2.11, 95%CI 0.547 – 8.158, p=0.278)


สรุปและข้อเสนอแนะ: การใช้สื่อวิดีทัศน์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดอาจช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ดังนั้นภายหลังการใช้โปรแกรมควรมีการติดตามให้คำแนะนำในรายที่ยังมีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง เปิดช่องทางในติดต่อสอบถามกับบุคลากรผู้เชี่ยวชาญนมแม่ทั้งทางโทรศัพท์และการเข้ามาปรึกษาในแผนกคลินิกนมแม่ และติดตามผลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปจนถึง 6 เดือน 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Prentice AM. Breastfeeding in the Modern World. Ann Nutr Metab. 2022;78 Suppl 2:29-38.

Centers for Disease Control and Prevention. Breastfeeding benefits both baby and mom [Internet]. Atlanta; 2021 [cited 2021 Oct 10]. Available from: https://www.cdc.gov/nccdphp/dnpao/features/breastfeeding-benefits/index.html#:~:text=Breast%20milk%20antibodies%20help%20protect,against%20certain%20illnesses%20and%20diseases.

National Statistical Office of Thailand. Thailand multiple indicator cluster survey 2019, survey findings report. Bangkok: National Statistical Office of Thailand; 2020.

World Health Organization. A campaign to promote breastfeeding in an occasion of Mother's Day and World Breastfeeding Week in Thailand [Internet]. Bangkok; 2019 [cited 2021 Oct 10]. Available from: https://www.who.int/thailand/news/detail/06-08-2019-a-campaign-to-promote-breastfeeding-in-an-occasion-of-mother's-day-and-world-breastfeeding-week-in-thailand.

National Statistical Office of Thailand. Thailand multiple indicator cluster survey 2019, snapshots of key findings report.Bangkok: National Statistical Office of Thailand; 2020.

Ongprasert K, Siviroj P. Factors Associated with the maintenance of breastfeeding at one year among women in Chiang Mai, Thailand. Int J Environ Res Public Health. 2021 1;18(17):9224.

Santos KJ, Santana GS, Vieira Tde O, Santos CA, Giugliani ER, Vieira GO. Prevalence and factors associated with cracked nipples in the first month postpartum. BMC Pregnancy Childbirth. 2016;16(1):209.

Gianni ML, Bettinelli ME, Manfra P, Sorrentino G, Bezze E, Plevani L, et al. Breastfeeding difficulties and risk for early breastfeeding cessation. Nutrients. 2019;11(10):2266.

Sakcharoen, P. Adult learning theory and selfdirected learning concept: learning process forpromoting lifelong learning. J of The Royal Thai Army Nurs. 2015; 16(1): 8-13.

Wan H, Tiansawad S, Yimyam S and Saiaporn P. Factors fredicting exclusive breastfeeding among the first time Chinese mothers. Pacific Rim Int J Nurs Res.2015; 9(1):32-44.

Sangin S, Chuenarrom N, Cheidchim R. Factors predicting six-month exclusive breastfeeding in eastern region of Thailand. Nurs Sci J Thail. 2020;38(3):22-34.

Ankinanda R. The situation of exclusive breastfeeding at one month after the first time postpartum mothers, Health Promotion Center Region 5 Ratchaburi [Internet]. Ratchaburi: Health Promotion Center Region 5; 2019 [cited 2022 May 20]. Available from: https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20190701151902_342/20190701151920_887.pdf.

Danthes, D. Effects of breastfeeding promoting program for working pregnant women on attitude and intention to exclusive breastfeeding.[dissertation].[ Chonburi]: Burapha University;2016.