ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการติดตามการคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดที่แผนกผู้ป่วยนอกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

Main Article Content

กฤติพงศ์ ปรังฤทธิ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การสูญเสียการได้ยินในเด็กเป็นปัญหาที่พบบ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนาส่งผลให้เกิดความบกพร่องในด้านการสื่อความหมาย พัฒนาการทางภาษาและการพูดล่าช้ากว่าเด็กปกติ พัฒนาการทางสติปัญญารวมถึงด้านสังคมและอารมณ์บกพร่อง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์เริ่มคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่ปี 2560 จากการสังเกตพบว่าผู้ปกครองไม่ได้พาเด็กที่มีผลการคัดกรองไม่ผ่านจากหอผู้ป่วยมาตรวจซ้ำที่แผนกโสต ศอ นาสิก ส่งผลให้เด็กจำนวนมากขาดติดตามการตรวจคัดกรองการได้ยิน จึงไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วเด็กสูญเสียการได้ยินหรือไม่


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไม่มาติดตามนัดตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิด


วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษารูปแบบ Prospective descriptive ที่แผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ในกลุ่มผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดที่ไม่มาติดตามนัดตรวจคัดกรองการได้ยินซ้ำ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 โดยสัมภาษณ์ผู้ปกครองทางโทรศัพท์และวิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา 


ผลการศึกษา : จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครองจำนวน 81 ราย พบว่าส่วนใหญ่ผู้ปกครองติดงานหรือภารกิจส่วนตัว (ร้อยละ 27.16) ผู้ปกครองลืมวันนัดตรวจ (ร้อยละ 18.52) ระยะทางจากบ้านอยู่ไกลจากรพ.(ร้อยละ 16.05)  ผู้ปกครองรู้ว่ามีนัดตรวจแต่ไม่เห็นความสำคัญของการมาตรวจซ้ำ(ร้อยละ 14.81) ผู้ปกครองกังวลเรื่องสถานการณ์โรคระบาดโควิด 2019 (ร้อยละ 8.64) ผู้ปกครองไม่สะดวกเรื่องระบบขนส่งหรือการเดินทาง(ร้อยละ 7.41) เด็กป่วย(ร้อยละ 6.17) และผู้ปกครองไม่ได้รับคำแนะนำให้มาติดตามนัด(ร้อยละ 1.23) ตามลำดับ


สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ปกครองติดงานหรือภารกิจส่วนตัวเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ส่งผลให้ไม่ได้พาเด็กแรกเกิดมาติดตามนัดตรวจคัดกรองการได้ยินซ้ำ จึงได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาคือการสร้างระบบจัดการข้อมูลของเด็กแรกเกิดและระบบติดตามการได้ยินอย่างมีประสิทธิภาพ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง  การโทรศัพท์แจ้งเตือนก่อนวันนัดหมาย และที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือการทุ่มเทหรือความร่วมมือกันของทีมสหวิชาชีพรวมถึงผู้บริหารระดับสูงเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนดำเนินงานจะทำให้การให้บริการตรวจคัดกรองการได้ยินในเด็กแรกเกิดประสบผลสำเร็จ 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Yimtae K, Potaporn M, Kaewsiri S. The committee of newborn hearing screening guidelines of Thailand. Bankok:Off-set;2019. (In Thai)

American Academy of Pediatrics, Joint Committee on Infant Hearing. Year 2007 position statement: principles and guidelines for early hearing detection and intervention programs. Pediatrics.2007;

(4):898-921.

American Academy of Pediatrics; Joint Committee on Infant Hearing. Year 2019 position statement: principles and guidelines for early hearing detection and intervention programs. J Early Hear Detect Interv. 2019;4(2):1-44.

Hrncic N, Goga A, Hrncic S, Hatibovic H, Hodzic D. Factors affecting neonatal hearing screening follow-up in developing countries: one insitution prospective pilot study. Medeni Med J. 2021;36(1):14-22.

Friderichs N, Swanepoel D, Hall JW. Efficacy of a community-based infant hearing screening program utilizing existing clinic personnel in Western Cape, South Africa. Int. J. Pediatr. Otorhinolaryngol. 2012;76(4):552-9.

Olusanya BO, Swanepoel de W, Chapchap MJ, Castillo S, Habib H, Mukari SZ, et al. Progress towards early detection services for infants with hearing loss in developing countries. BMC Health Serv Res. 2007;7:14.

Olusanya BO. Follow-up default in a hospital-based universal newborn hearing screening programme in a low-income country. Child Care Health Dev. 2009;35(2):190-8.

Ali L, Siddiq S, Khan MA, Maqbool S. A hospital-based universal newborn hearing screening programme using transient evoked otoacoustic emission (TEOAE). Pakistan Pediatric J. 2000;24:117-25.

Razak A, Fard D, Hubbell R, Cohen M, Hartman-Joshi K, Levi JR. Loss to follow-up after newborn hearing screening: analysis of risk factors at a Massachusetts urban safety-net hospital. Ear Hear. 2021;42(1):173-9.

Srisubat A, Imsuwansri T, MukkunT, Thaiyakul A, Konlaeaid S, Limpichaisopon K, et al. Model development for Universal Newborn

Hearing Screening (UNHS) in province level: action research. Journal of the Department of Medical Services. 2020;46(1):160-9. (in thai)

Prieve B, Dalzell L, Berg A, Bradley M, Cacace A, Campbell D, et al. The New York State universal newborn hearing screening demonstration project: outpatient outcome measures. Ear Hear. 2000;21(2):104-17.

Razak A. Loss to Follow-Up after newborn hearing screening: Analysis of risk factors at a Massachusetts urban safety-net hospital. Ear Hear. 2021;42(1):173-9.

Holte L, Walker E, Oleson J, Spratford M, Moeller MP, Roush P, et al. Factors influencing follow-up to newborn hearing screening for infants who are hard of hearing. Am J Audiol. 2012;21(2):163-74.

Li PC, Chen WI, Huang CM, Liu CJ, Chang HW, Lin HC. Comparison of newborn hearing screening in well-baby nursery and NICU: A study applied to reduce referral rate in NICU. PloS one. 2016;11(3):e0152028.

Blaseg N, Williams H, Jepperson S, Massersmith J. The impact of the COVID-19 pandemic impacted newborn hearing screening program in western states. J Early Hear Detec Interven. 2021;6(2):62-9.