ผลกระทบต่อทารกจากมารดาที่ใช้สารแอมเฟตามีนระหว่างการตั้งครรภ์และปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการถอนยาในทารก

Main Article Content

นทสรวง ชาวปรางค์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา ทารกที่เกิดจากมารดาที่ใช้สารแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ มักพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนคือ น้ำหนักตัวน้อย ทารกเกิดก่อนกำหนด การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ นอกจากนี้ยังเกิดอาการถอนยาในทารกแรกเกิด โดยอาการถอนยาจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายทารก ได้แก่ ระบบประสาท ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ เพิ่มระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่มากขึ้น  ทำให้เป็นปัญหาของโรงพยาบาล ทารกและครอบครัวของทารก


วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของสารแอมเฟตามีนต่อทารกที่พบได้บ่อย และปัจจัยที่มีผลต่ออาการถอนยาปานกลางถึงรุนแรงของทารกที่เกิดจากมารดาใช้สารแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์


วิธีการศึกษา ศึกษาย้อนหลังในทารกแรกเกิดที่มารดามีประวัติใช้สารแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2564


ผลการศึกษา ทารกที่เกิดจากมารดาใช้สารแอมเฟตามีนขณะตั้งครรภ์และตรวจพบสารแอมเฟตามีนในปัสสาวะก่อนคลอดจำนวนทั้งหมด 89 ราย โดยทารกเป็นเพศหญิง 45 ราย(ร้อยละ 50.56) อายุครรภ์ครบกำหนด 67 ราย(ร้อยละ 75.28) คลอดโดยวิธีธรรมชาติ 55 ราย (ร้อยละ 61.80) คลอดก่อนถึงโรงพยาบาล 9 ราย (ร้อยละ 10.11) น้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่า 2,500 กรัม 29 ราย(ร้อยละ 32.58) ปัญหาทั่วไปของทารกที่พบคือ น้ำตาลต่ำแรกคลอด 15 ราย (ร้อยละ 16.85) หายใจเหนื่อยหลังคลอด 38 ราย (ร้อยละ 42.70) ภาวะตัวเหลือง 12 ราย (ร้อยละ13.48) รับนมได้ช้า 14 ราย (ร้อยละ 15.73) ทารกมีอาการถอนยาจำนวน 86 ราย(ร้อยละ 96.63) ตรวจพบสารแอมเฟตามีนในปัสสาวะของทารกจำนวน 70 ราย (ร้อยละ 78.65) โดยมีอาการไม่รุนแรง 64 ราย (ร้อยละ 71.91) และมีอาการปานกลางถึงรุนแรง 22 ราย (ร้อยละ 24.72) จากการศึกษาไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการถอนยาในทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อวิเคราะห์ในกลุ่มทารกที่มีอาการถอนยาปานกลางถึงรุนแรง พบว่าทารกคลอดครบกำหนด>37สัปดาห์มีสัดส่วนมากกว่าทารกคลอดก่อนกำหนด((ร้อยละ26.98 และร้อยละ21.74 ตามลำดับ) และทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม มีสัดส่วนมากกว่าทารกที่มีน้ำหนักตัวมากกว่า 2,500กรัม ((ร้อยละ27.59 และร้อยละ24.56 ตามลำดับ)


สรุปและข้อเสนอแนะ ทารกที่เกิดจากมารดาที่ใช้สารแอมเฟตามีนระหว่างการตั้งครรภ์ พบอาการถอนยา ร้อยละ 96.63 ตรวจพบสารแอมเฟตามีนในปัสสาวะ ร้อยละ 78.65 ไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการถอนยาในทารกที่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าทารกที่คลอดครบกำหนด และทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม มีแนวโน้มในการเกิดอาการถอนยาถอนยาปานกลางถึงรุนแรงมากกว่า ดังนั้นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและกุมารแพทย์ต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดในทารกกลุ่มนี้เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาได้เร็ว

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Thaithumyanon P, Limpongsanurak S, Praisuwanna P, Punnahitanon S. Impact of prenatal illicit drug exposure on the mother and infant. Chula Med J. 2004;48(4):235-45.

Substance Abuse and Mental Health Services Administration (SAMHSA). Results From the 2010 National Survey on Drug Use and Health: Summary of National Findings [Internet]. Rockville, MD: SAMHSA/US Dept Health and Human Services; 2011 [cited 2022 Apr 4]. Available from: https://www.samhsa.gov/data/sites/default/files/NSDUHNationalFindingsResults2010-web/2k10ResultsRev/NSDUHresultsRev2010.pdf

Techatraisak K, Udnan C, Chabbang O, Boriboonhirunsarn D, Piya-Anant M. Pregnancy outcomes in methamphetamine abuse mothers. Siriraj Med J. 2007;59(6):290-2.

Chomchai C, Na Manorom N, Watanarungsan P, Yossuck P, Chomchai S. Methamphetamine abuse during pregnancy and its health impact on neonates born at Siriraj Hospital, Bangkok, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2004;35(1):228-31.

Phupong V, Darojn D. Amphetamine abuse in pregnancy: the impact on obstetric outcome. Arch Gynecol Obstet. 2007;276(2):167-70.

Little BB, Snell LM, Gilstrap LC 3rd. Methamphetamine abuse during pregnancy: outcome and fetal effects. Obstet Gynecol. 1988;72(4):541-4.

Chaiverapundech J, Kanchanabat S. Prenatal methamphetamine exposure and neonatal outcomes. Vajira Med J. 2017;60(1):53-64.

Kocherlakota P. Neonatal abstinence syndrome. Pediatrics. 2014;134(2):e547-61.

Hall ES, Wexelblatt SL, Crowley M, Grow JL, Jasin LR, Klebanoff MA, et al. A multicenter cohort study of treatments and hospital outcomes in neonatal abstinence syndrome. Pediatrics. 2014;134(2):e527-34.

Johnson K, Greenough A, Gerada C. Maternal drug use and length of neonatal unit stay. Addiction. 2003;98(6):785-9.

Wells C, Loshak H. Treatment of neonatal abstinence syndrome due to crystal methamphetamine: a review of clinical effectiveness and guidelines [Internet]. Ottawa (ON): Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health; 2019 [cited 2022 Apr 4]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK546254/

Hudak ML, Tan RC; Committee on Drugs; Committee on Fetus and Newborn; American Academy of Pediatrics. Neonatal drug withdrawal. Pediatrics. 2012;129(2):e540-60.

Gomez Pomar E, Finnegan LP, Devlin L, Bada H, Concina VA, Ibonia KT, et al. Simplification of the Finnegan neonatal abstinence scoring system: retrospective study of two institutions in the USA. BMJ Open 2017;7(9):e016176.

Schep LJ, Slaughter RJ, Beasley DM. The clinical toxicology of metamfetamine. Clin Toxicol (Phila). 2010;48(7):675-94.

Diaz SD, Smith LM, LaGasse LL, Derauf C, Newman E, Shah R, et al. Effects of prenatal methamphetamine exposure on behavioral and cognitive findings at 7.5 years of age. J Pediatr. 2014;164(6):1333-8.

Ladhani NN, Shah PS, Murphy KE; Knowledge Synthesis Group on Determinants of Preterm/LBW Births. Prenatal amphetamine exposure and birth outcomes: a systematic review and metaanalysis. Am J Obstet Gynecol. 2011;205(3):219.e1-7.

Campo J. Maternal and newborn inpatient stays with a substance use or use-related diagnosis [Internet]. Olympia, WA: Health Care Research Center, Washington State Office of Financial Management; 2016 [cited 2022 Apr 4]. Available from: https://ofm.wa.gov/sites/default/files/public/legacy/researchbriefs/2016/brief075.pdf

Toubas PL, Sekar KC, Wyatt E, Lawson A, Duke JC, Parker MD. Respiratory abnormalities in infants of substance-abusing mothers: role of prematurity. Biol Neonate. 1994;66(5):247-53.

Doberczak TM, Kandall SR, Wilets I. Neonatal opiate abstinence syndrome in term and preterm infants. J Pediatr. 1991;118(6):933-7.