ปัจจัยที่มีผลต่อการสอบไม่ผ่านเกณฑ์การสอบรายยาว ในแผนกอายุรกรรมของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา
การสอบรายยาว เป็นการสอบประเมินทักษะการให้การรักษาผู้ป่วย การใช้เหตุผลทางคลินิก การสื่อสารกับผู้ป่วย นักศึกษาแพทย์บางคนสอบไม่ผ่านเกณฑ์การสอบรายยาว จึงศึกษาเพื่อหาสาเหตุของการสอบตกการสอบรายยาวของการเรียนการสอนในประเทศไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาแพทย์สอบไม่ผ่านเกณฑ์การสอบรายยาว
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ที่ทำการสอบรายยาว แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ธันวาคม 2562 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอบไม่ผ่านการสอบรายยาว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Student t-test, Wilcoxon rank sum test และ Exact probability test ตามความเหมาะสม วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอบไม่ผ่านการสอบรายยาวโดยใช้ univariable logistic regression และ multivariable logistic การศึกษานี้กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ p <0.05
ผลการศึกษา
นักศึกษาแพทย์ที่สอบรายยาว 30 คน สอบไม่ผ่าน 6 คน (ร้อยละ 20) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยเช่น อายุ เพศ คะแนนเกรดเฉลี่ย เกรดคะแนนการสอบภาควิชาอายุรกรรมในอดีต ลำดับการขึ้นเรียนตามภาควิชา ประสบการณ์ในการสอบรายยาวมาก่อน ไม่มีผลต่อการสอบไม่ผ่านเกณฑ์การสอบรายยาวของนักศึกษาแพทย์ แต่พบว่าหากนักศึกษาสอบผู้ป่วยที่โรคตรงสาขาเฉพาะทางของอาจารย์มีโอกาสสอบไม่ผ่านเกณฑ์ 9.99 เท่า (OR 9.99, 95%CI 0.99-100.61, p=0.051) เมื่อปรับปัจจัยอื่นที่อาจจะมีผลเกี่ยวข้องแล้วพบว่า การสอบผู้ป่วยที่โรคตรงสาขาเฉพาะทางของอาจารย์ มีโอกาสสอบไม่ผ่านเกณฑ์ 14.90 เท่า (adjusted OR 14.9, 95%CI 1.08-205.01, p=0.043)
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของอาจารย์ผู้คุมสอบมีผลต่อการสอบไม่ผ่านเกณฑ์การสอบรายยาวของนักศึกษาแพทย์ จึงควรมีเกณฑ์การเลือกผู้ป่วยและเกณฑ์การประเมินให้เหมาะสมต่อระดับความรู้ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 และควรจัดให้มีการอบรมอาจารย์ในด้านการเรียนการสอนและพัฒนาการจัดสอบให้มีมาตรฐาน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Reed DA, Shanafelt TD, Satele DW, Power DV, Eacker A, Harper W, et al. Relationship of pass/fail grading and curriculum structure with well-being among preclinical medical students: a multi-institutional study. Acad Med. 2011;86(11):1367-73.
Guraya SY, Guraya SS, Habib F, AlQuiliti KW, Khoshhal KI. Medical students' perception of test anxiety triggered by different assessment modalities. Med Teach. 2018;40 Suppl 1:S49-55.
Cömert M, Zill JM, Christalle E, Dirmaier J, Härter M, Scholl I.
Assessing communication skills of medical students in objective structured clinical examinations (OSCE)--a systematic review of rating scales. PLoS One. 2016;11(3):e0152717.
De Mel S, Jayarajah U, Seneviratne SA. Medical undergraduates' perceptions on the end of course assessment in Surgery in a developing country in South Asia. BMC Res Notes. 2018;11(1):731.
Newble DI. The observed long-case in clinical assessment. Med Educ. 1991;25(5):369-73.
Masih CS, Benson C. The long case as a formative assessment tool - views of medical students. Ulster Med J. 2019;88(2):124-7.
Olson LG. The ability of a long-case assessment in one discipline to predict students' performances on long-case assessments in other disciplines. Acad Med. 1999;74(7):835-9.
Wass V, van der Vleuten C. The long case. Med Educ. 2004;38(11):1176-80.