การพัฒนาระบบการจัดการการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 บริเวณชายแดนไทย-ลาว กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ภุชงค์ ชื่นชม
สิทธิชัย ยอดสุวรรณ
ธิติพงษ์ พลอยเหลือง
ประสงค์ หมื่นจันทร์
พิษณุรักษ์ กันทวี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นเขตชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยที่ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทำให้มีประชากรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาเป็นแรงงานทั้งในและนอกระบบจำนวนมาก เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงต่อโรคและภัยสุขภาพที่ระบาดตามแนวชายแดน เช่นการระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน  จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคอุบัติใหม่ ในพื้นที่ชายแดนให้มีประสิทธิภาพ


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการจัดการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชนชายแดน ไทย-ลาว อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย


วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ (contextual participatory) จัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) การสนทนากลุ่มย่อย (focus group discussion) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) และใช้การสอบทานแบบสามเส้า (triangulation technique) จัดทำแบบร่าง วิพากษ์ ปรับปรุงแก้ไข และสรุปรูปแบบการพัฒนา และจัดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา:  จากระบบการจัดการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 บริเวณชายแดนไทย-ลาว ที่มีอยู่                        เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และปัญหาจากการทำงาน จึงพัฒนาระบบให้เกิดแบบแผนในการปฏิบัติงานของภาคเครือข่ายในพื้นที่ไปในทางเดียวกัน เกิดรูปแบบการรวมระบบเป็นหนึ่งเดียว (one system) ใช้หนึ่งช่องทางในการสื่อสาร (one channel) และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังโรคในชุมชน (one community) และจากการประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก (คะแนนเฉลี่ย 10.25±1.06) ด้านทัศนคติ อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 4.67±0.78) และด้านพฤติกรรม อยู่ในระดับดี (คะแนนเฉลี่ย 4.86±0.61)


สรุปและข้อเสนอแนะ: การพัฒนาระบบการจัดการการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 บริเวณชายแดนไทย-ลาว กรณีศึกษาอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสร้างกรอบแนวทางความร่วมมือ เป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวังโรค ในการปฏิบัติงานระดับพื้นที่ (local) มีรูปแบบการทำงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในการดำเนินงานด้านความร่วมมือ ควรมีการดำเนินนโยบายสาธารณสุขชายแดนที่ครอบคลุมและยืดหยุ่น โดยการให้อิสระในการกำหนดแนวทางปฏิบัติงานในพื้นที่สามารถบริหารจัดการตนเองได้ รวมไปถึงการสร้างแนวร่วมของภาคีเครือข่ายหน่วยงานและองค์กรที่สนับสนุนงานสาธารณสุขชายแดน ร่วมกันแบบบูรณาการทั้งในระดับชาติ ระดับกระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล จนมาถึงหมู่บ้านหรือชุมชนชายแดน การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามารถจัดการปัญหาสุขภาพข้ามแดน และส่งเสริมแนวทางการส่งเสริมศักยภาพชุมชนชายแดน ให้เป็นอาสาสมัครเฝ้าระวังป้องกันโรคและภัยสุขภาพชายแดน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bureau of General Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Infectious diseases on international borders [Internet]. 2015. [cited 2019 Jan 14]. Available from: http://k4ds.psu.ac.th/ncd/situation.

Srilapasuwan P, Wiwatwongkasem C, Kittipichai V, Narumol E, Sathiwipawee P, Sujararat D. Data analysis and conclusion of result surveillance protection and control non communicable disease, Thailand 2008-2012. Nonthaburi: Department of Disease Control and Ministry of Public Health, Mahidol University, Faculty of Public Health; 2013.

World Health Organization (WHO). Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. [cited 2020 Aug 30]. Available from: https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200201-sitrep-12-ncov.pdf?sfvrsn=273c5d35_2.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Situation of COVID19 in Thailand [Internet]. [cited 2022 Jan 10]. Available from :. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

Chiang Rai Provincial Public Health Office. Situation of COVID19 in Chiang rai [Internet]. [cited 2022 Jan 10]. Available from: http://www.chiangrai.go.th/covid/.

Bureau of Epidemiology DoDC, Ministry of Public Health. Report of key performance indicators. Nonthaburi: Department of Disease Control, Bureau of Epidemiology; 2016.

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Report of key performance indicators. Nonthaburi: Department of Disease Control, Bureau of Epidemiology; 2016.

Department of Disease Control, Bureau of Epidemiology. International Health Regulations (IHR2005) and Global Health Security Agenda (GHSA) [Internet]. 2018 [cited 2018 Feb 18]. Available from: http://www.boe.moph.go.th/files/meeting/IHR2015/2.pdf.

Bloom BS. Learning for mastery. Instruction and curriculum. Regional education laboratory for the Carolinas and Virginia, topical papers and reprints, number 1. Evaluation comment. 1968;1(2):1-12.

(CCSA) TCfC-SA. Enhancement of preventive measures to control the coronavirus disease 2019 (Covid-19) in the April 2021 [Internet]. 2021 [cited 2022 February 10]. Available from: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/160464-01.pdf.

Viriyavipart C, Tangsawad S, Simmatan S, Prompukde B. Development of tuberculosis prevention and control surveillance system along Thai-Laos cross border, Nongkhai province:an applied MOU. Journal of the office of DPC 7 Khon Kaen. 2016;2(1):112-33.

Thaewnongiew K, Thatpet S, Nilvarangkul K, Tangsawad S, Sarachai P. Development model of communicable disease surveillance system at a district level in the Northeastern Thailand. Disease Control Journal. 2015;41(4):329-40.

Theeranut A, Luangamornlert S, Srithanyarat W, Tassniyom N, Jitpimolmard S. Development of transitional care model for the elderly with chronic illness. Journal of Nursing Science and Health. 2012;32(1):1-11.

Nak-ai W, Muangyim K, Wannapahul D. The participation process for preventingCOVID19: a case study of active aging in Nhong Ta Go community. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University.2020;14(3):20-30.

Plienpanich S, Suriyon N, Kanthawee P. The development of communicable disease and emerging disease surveillance, prevantion and control system along Thai-Myanmar and Thai-Lao PDR,border areas Chiang Rai province 2017-2018. Dis Control J.2019;45(1): 85-96.

Phansuma D, Boonruksa P. Knowledge, attitudes, and preventive behaviors of COVID-19 among residents in Pru Yai Sub-district, Muang District, Nakhon Ratchasima province. Srinagarind Medical Journal. 2021;36(5):597-604.