การพยาบาลผู้ป่วยที่ถูกแมลงต่อยที่มารักษา ณ แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่ลาว : กรณีศึกษา เปรียบเทียบ 2 ราย ตามความรุนแรงของอาการแพ้
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : การแพ้จากแมลงต่อยเป็นปัญหาสำคัญที่อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดการแพ้ชนิดรุนแรง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ทั่วร่างกายหลายระบบที่เกิดขึ้นฉับพลัน และมีความรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พยาบาลแผนกฉุกเฉินถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินอาการ และให้การพยาบาลที่รวดเร็วช่วยให้ผู้ที่มีการแพ้ชนิดรุนแรงปลอดภัยจากภาวะวิกฤต
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประวัติ การคัดแยกผู้ป่วย
การรักษา ผลการรักษา ข้อวินิจฉัย การพยาบาล และการวางแผน
การพยาบาล ของกรณีศึกษา 2 ราย ตามความรุนแรงของอาการแพ้
วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาเป็นรายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 2 ราย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ในช่วงปี พ.ศ. 2563 เกณฑ์การคัดเลือก ได้แก่ อายุ 21 ปีขึ้นไป มีอาการแพ้จากการถูก แมลงต่อย ที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่ลาว จังหวัดเชียงราย วิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษาตามแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพ้ชนิดรุนแรง พ.ศ. 2560 และแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามหลักการ Emergency Severity Index (ESI)
ผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ที่ถูกแมลงต่อยมีความรุนแรงของอาการแพ้ที่แตกต่างกัน กรณีศึกษาที่ 1 อาการสำคัญ คือ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก และมีความดันโลหิตต่ำ ได้รับการวินิจฉัยว่ามีการแพ้ชนิดรุนแรงร่วมกับภาวะช็อกจากการถูกแมลงต่อย ถูกคัดแยกผู้ป่วยตาม ESI ให้อยู่ในระดับ 1 ให้การพยาบาลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาล ได้แก่ มีภาวะช็อกเนื่องจากปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรง และมีภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจตีบแคบ กรณีศึกษาที่ 2 อาการสำคัญ คือ ปวด บวม บริเวณศีรษะ ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการแพ้เฉียบพลัน ถูกคัดแยกผู้ป่วยตาม ESI ให้อยู่ในระดับ 2 ให้การพยาบาลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาล ได้แก่ ปวดศีรษะบริเวณที่ถูกต่อต่อยเนื่องจากมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และเสี่ยงต่อการเกิดปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงจากถูกแมลงต่อย จากการติดตามกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้ถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
สรุปและข้อเสนอแนะ : บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ถูกแมลงต่อยที่มารักษา ณ แผนกฉุกเฉิน มีความสำคัญยิ่งในการประเมินและคัดกรองผู้ป่วยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ตามแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีการแพ้ชนิดรุนแรง พ.ศ. 2560 และการคัดแยกผู้ป่วยตามหลักการ ESI ทำให้ผู้ป่วยได้รับ การดูแลรักษาตามความรุนแรงของอาการแพ้ที่แตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Cardona V, Ansotegui IJ, Ebisawa M, El-Gamal Y, Fernandez Rivas M, Fineman S, et al. World allergy organization anaphylaxis guidance 2020. World Allergy Organ J. 2020;13(10):100472
Tejedor Alonso M, Moro Moro M, Múgica García M. Epidemiology of anaphylaxis. Clin Exp Allergy. 2015;45(6):1027-39.
Kowjiriyapan Y. Clinical features of anaphylaxis in the Emergency Medicine Department of Chiangrai Prachanukroh Hospital. Chiangrai Medical Journal. 2017;9(2):29-39.
Medical Record and Statistics. Annual report 2020. Chiang Rai: Maelao Hospital; 2020
The Allergy, Asthma, And Immunology Association of Thailand. Clinical practice guideline for anaphylaxis 2017 [Internet]. 2017 [cited 10 Jan 2022]. Available from: https://www.allergy.or.th/ 2016/pdf/Thai_CPG_Anaphylaxis_2017_Full_version.pdf.
Sukswang S. Triage nurse: beyond main process through practice. Journal of Health Sciences Scholarship. 2018;5(2):1-14.
Ackley BJ, Ladwig GB, Makic MB, Martinez-Kratz M, Zanotti M. Nursing diagnosis handbook e-book: An evidence-based guide to planning care. Missouri: Elsevier Health Sciences; 2019.
Hinkle JL, Cheever KH. Brunner & Suddarth’s textbook of medical-surgical nursing, Vol. 1. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2018.
Macintyre PE, Schug SA. Acute pain management: a practical guide. 5th ed. Boca Raton: CRC Press; 2021.
Golden DB. Update on insect sting anaphylaxis. Curr Allergy Asthma Rep. 2021;21(3):1-7
Reber LL, Hernandez JD, Galli SJ. The pathophysiology of anaphylaxis. J Allergy Clin Immunol. 2017;140(2):335-48.