ความสัมพันธ์ของระดับค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน กับภาวะกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : ปัจจุบันประเทศไทยมีอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดเชียงราย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนรวมถึงผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแต่ยังมีการศึกษาน้อยในประเทศไทยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของระดับ PM 2.5 กับภาวะกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับ PM 2.5 และปัจจัยอื่นๆ กับภาวะกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-section study) เก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาด้วยภาวะกำเริบเฉียบพลัน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562 โดยเก็บข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ อาชีพ สิทธิ์การรักษาและประวัติการสูบบุหรี่ ข้อมูลที่มีความสำคัญกับการพยากรณ์โรค ได้แก่ จำนวนโรคร่วม วันที่เข้ารับการรักษา ระดับความรุนแรงของผู้ป่วยตาม ABCD assessment tool for staging COPD ประวัติเคยเข้ารับการรักษาด้วยภาวะกำเริบเฉียบพลันในรอบ 1 ปี ประวัติการใส่ท่อช่วยหายใจจากภาวะกำเริบเฉียบพลัน การมีภาวะปอดติดเชื้อ การมีภาวะหลอดลมอักเสบ ข้อมูลด้านสภาพอากาศและมลภาวะ ได้แก่ ค่า PM 2.5 โดยใช้ค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงจากเว็บไซต์ https://aqicn.org/ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistic) วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Cox Proportional Hazards Regression Analysis เพื่อหาอิทธิพลของปัจจัยพื้นฐานต่ออัตราการรอดชีพ นำเสนอด้วย adjusted hazard ratio คู่กับค่าความเชื่อมั่น 95% และ p-value กำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเข้ารับบริการด้วยภาวะกำเริบเฉียบพลันที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์จำนวน 1,549 ครั้ง พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คือ PM 2.5 > 50 µg/m3 (adjusted Hazard ratio 2.45, 95%CI 2.17-2.77, p<0.001) ช่วงอายุที่เพิ่มขึ้นทุก 10 ปี (adjusted Hazard ratio 1.13, 95%CI 1.05- 1.21, p= 0.002) และเพศชาย (adjusted Hazard ratio 1.14, 95%CI 1.02-1.29, p=0.021) ส่วนปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ประวัติการสูบบุหรี่ จำนวนโรคร่วม ระดับความรุนแรงของโรค การเคยเกิดภาวะกำเริบในช่วง 1 ปี การเคยใส่ท่อช่วยหายใจ การมีภาวะปอดติดเชื้อหรือหลอดลมอักเสบ ไม่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลและข้อเสนอแนะ : ค่า PM 2.5 > 50 µg/m3 มีความสัมพันธ์กับภาวะกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในวันที่ PM 2.5 สูงขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Health consequences of air pollution on populations [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2019 [updated November 15; cited 2022 December 22]. Available from: https://www.who.int/news/item/15-11-2019-what-are-health-consequences-of-air-pollution-on-populations
Air4Thai. Thailand's air quality and situation reports [Internet]. Bangkok: Air Quality and Noise Management Bureau; 2019 [cited 2020 July 9]. Available from: http://air4thai.pcd.go.th/webV2/index.php.
The top 10 causes of death [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2020 [updated December 9; cited 2022 December 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death.
Burden of COPD Central Chest Institute of Thailand [Internet]. Bangkok; 2019 [cited 2019 July 9]. Available form: https://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2019/01/8.-one-page-COPD-edit-8-10-61.pdf.
Chronic Obstructive Pulmonary Disease [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2022 [updated May 20; cited 2021 July 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd).
Choi J, Oh JY, Lee YS, Min KH, Hur GY, Lee SY, et al. Harmful impact of air pollution on severe acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease: particulate matter is hazardous. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2018;13:1053-9.
Xu Q, Li X, Wang S, Wang C, Huang F, Gao Q, et al. Fine Particulate Air Pollution and Hospital Emergency Room Visits for Respiratory Disease in Urban Areas in Beijing, China, in 2013. PLoS One. 2016;11(4):e0153099.
Global initiative for Chronic Obstructive Pulmonary Disease [Internet]. Global Initiative for Chronic Obstructive Pulmonary Disease, Inc; 2020 [cited 2021 October 5]. Available from: https://goldcopd.org/wp-content/uploads/2020/12/GOLD-2021-POCKET-GUIDE-v2.0-14Dec20_WMV.pdf.