การใช้โพรไบโอติกหลายสายพันธุ์ สำหรับโรคท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก

Main Article Content

ทศพร เทียมพันธ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคท้องเสียเฉียบพลันเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในเด็กไทย ปัจจุบันการรักษาด้วยโพรไบโอติกเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น Lactobacillus acidophilus, Bifidobacterium lactis, Lactobacillus rhamnosus, Bifidobacterium longum, Bifido bacterium bifidum เป็นต้น แต่ข้อมูลการศึกษาประสิทธิผลการใช้โพรไบโอติกในประเทศไทย ยังมีข้อมูลที่จำกัด


วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลการใช้โพรไบโอติกหลายสายพันธุ์ สำหรับรักษาโรคท้องเสียเฉียบพลันในเด็ก เทียบกับการรักษาแบบมาตรฐาน


วิธีการศึกษา: randomized controlled trial ในผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือนถึง 5 ปีที่มาด้วยอาการท้องเสียเฉียบพลัน และเข้ารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองซึ่งรักษาโดยใช้โพรไบโอติกหลายสายพันธุ์ในขนาด 1 เม็ด 3 เวลาหลังอาหารนาน 2 วัน เพิ่มเติมร่วมกับการรักษาแบบมาตรฐาน กับกลุ่มควบคุมที่รักษาด้วยวิธีมาตรฐาน (ORS และรักษาตามอาการ)  ติดตามการรักษาทุกวันจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ ผลลัพธ์หลักคือ เปรียบเทียบระยะเวลาท้องเสียหลังจากได้รับการรักษาจนหาย ผลลัพธ์รองคือ ศึกษาผลข้างเคียง (ที่อาจมี) จากการใช้โพรไบโอติกหลายสายพันธุ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test, rank sum test, exact probability test, Log-rank test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05


ผลการศึกษา: ผู้เข้าร่วมวิจัยกลุ่มละ 33 ราย รวม 66 ราย พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระยะเวลาท้องเสียหลังจากได้รับการรักษาจนหาย ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการรักษาเพิ่มเติมด้วยโพรไบโอติกหลายสายพันธุ์ และกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบมาตรฐาน (46.36±20.61 ชั่วโมงและ 94.06±50.69 ชั่วโมง ตามลำดับ; p<0.001) และไม่พบผลข้างเคียงจากการใช้ยาโพรไบโอติกหลายสายพันธุ์


สรุปและข้อเสนอแนะ: การให้การรักษาเพิ่มเติมด้วยโพรไบโอติกหลายสายพันธุ์ร่วมกับการรักษาแบบมาตรฐานในผู้ป่วยอายุ 1 เดือนถึง 5 ปี ที่มาด้วยอาการท้องเสียเฉียบพลัน สามารถลดระยะเวลาของการท้องเสียให้หายเร็วขึ้นได้และมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น หรือกลุ่มที่มีอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และศึกษาการใช้โพรไบโอติกสายพันธุ์อื่นๆเพิ่มเติม เช่น Bifidobacterium breve, Lactobacillus casei เป็นต้น เพื่อยืนยันประสิทธิภาพ และเป็นทางเลือกใหม่ของการรักษา

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Clinical practice guideline for acute diarrhea in children [Internet]. Bangkok: Thai Society of Pediatric Gastroenterology and Hepatology; 2019 [cited 2021 November 12]. Available from: http://www.pthaigastro.org/Document/hz0tpx1bdldozf11z5minfimCPG_Blue.pdf.

Schnadower D, Tarr PI, Casper TC, Gorelick MH, Dean JM, O'Connell KJ, et al. Lactobacillus rhamnosus GG versus Placebo for Acute Gastroenteritis in Children. N Engl J Med. 2018;379(21):2002-14.

Szajewska H, Skórka A, Ruszczyński M, Gieruszczak-Białek D. Meta-analysis: lactobacillus GG for treating acute gastroenteritis in children--updated analysis of randomised controlled trials. Aliment Pharmacol Ther. 2013;38(5):467-76.

Allen SJ, Martinez EG, Gregorio GV, Dans LF. Probiotics for treating acute infectious diarrhoea. Cochrane Database Syst Rev. 2010;2010(11):CD003048.

Szajewska H, Guarino A, Hojsak I, Indrio F, Kolacek S, Shamir R, et al. Use of probiotics for management of acute gastroenteritis: a position paper by the ESPGHAN Working Group for Probiotics and Prebiotics. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2014;58(4):531-9.

Szajewska H, Kołodziej M, Gieruszczak-Białek D, Skórka A, Ruszczyński M, Shamir R. Systematic review with meta-analysis: Lactobacillus rhamnosus GG for treating acute gastroenteritis in children - a 2019 update. Aliment Pharmacol Ther. 2019;49(11):1376-84.

Moreno-Muñoz JA, Martín-Palomas M, Jiménez López J. Bifidobacterium longum subsp. infantis CECT 7210 (B. infantis IM-1®) shows activity against intestinal pathogens. Nutr Hosp. 2022;39(Spec No3):65-8.

Canani RB, Cirillo P, Terrin G, Cesarano L, Spagnuolo MI, De Vincenzo A, et al. Probiotics for treatment of acute diarrhoea in children: randomised clinical trial of five different preparations. Bmj. 2007;335(7615):340.

Applegate JA, Fischer Walker CL, Ambikapathi R, Black RE. Systematic review of probiotics for the treatment of community-acquired acute diarrhea in children. BMC Public Health. 2013;13 Suppl 3(Suppl 3):S16.

Ki Cha B, Mun Jung S, Hwan Choi C, Song ID, Woong Lee H, Joon Kim H, et al. The effect of a multispecies probiotic mixture on the symptoms and fecal microbiota in diarrhea-dominant irritable bowel syndrome: a randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Clin Gastroenterol. 2012;46(3):220-7.