การประเมินงานวิจัยชนิดการทดลองแบบสุ่มที่มีการควบคุม: อัพเดทเครื่องมือแคสพี หลุมพรางของการใช้แคสพี และเครื่องมือประเมินชนิดอื่น ๆ

Main Article Content

ภูมิพัฒน์ ทองน้อย
ดร. ภก.ณัฐ นาเอก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ผู้อ่านทราบแนวทางการประเมินงานวิจัยรูปแบบสุ่มที่มีการควบคุมด้วยเครื่องมือแคสพีฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563 และเครื่องมือประเมินงานวิจัยชนิดอื่น ๆ

  2. เพื่อให้ผู้อ่านตระหนักถึงข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือแคสพีเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยรูปแบบสุ่มที่มีการควบคุม

บทคัดย่อ

          การประเมินความน่าเชื่อถือของวรรณกรรมปฐมภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานวิจัยรูปแบบสุ่มที่มีการควบคุม เป็นทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ประกอบการดูแลผู้ป่วย บทความฉบับก่อนหน้า[1]ได้แนะนำเครื่องมือประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยรูปแบบสุ่มที่มีการควบคุมที่มีชื่อว่าแคสพีซึ่งประกอบด้วย 11 ข้อคำถามเพื่อตอบคำถามที่สำคัญสามข้อ 1) ผลลัพธ์ของการศึกษามีความถูกต้องหรือไม่ 2) ผลลัพธ์ของการศึกษาเป็นอย่างไร และ 3) จะประยุกต์ใช้ผลลัพธ์ของการศึกษากับผู้ป่วยได้อย่างไร บทความฉบับนี้จะเป็นการอธิบายถึงรายละเอียดของเครื่องมือแคสพีที่มีการปรับปรุงล่าสุด โดยได้เปรียบเทียบกับฉบับก่อนหน้า นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงข้อควรระวังหรือหลุมพรางในการใช้เครื่องมือดังกล่าวจากประสบการณ์ของผู้เขียน ตลอดจนมีการแนะนำเครื่องมืออื่น ๆ สำหรับใช้ประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยรูปแบบสุ่มที่มีการควบคุม ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแนะนำเทคนิคสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและพัฒนาการดูแลผู้ป่วยผ่านหลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ต่อไป

Article Details

บท
บทความพิเศษ

References

Na-Ek N. The guide to critically appraise a randomised controlled trials (RCT) using a CASP tool. Chiangrai Medical Journal. 2020;12(2):131–55.

Critical Appraisal Skills Programme. 2020-CASP checklists. [Internet]. 2020 [cited 2021 Sep 25]. Available from: https://casp-uk.net/casp-tools-checklists/.

Kirkwood BR, Sterne JAC. Essential medical statistics. 2nd ed. Malden, Massachusetts: Blackwell Science; 2003.

What Works Clearinghouse. What Works ClearinghouseTM Standards Handbook (Version 4.0) [Internet]. [cited 2020 Aug 10]. Available from: https://ies.ed.gov/ncee/wwc/Docs/referenceresources/wwc_standards_handbook_v4.pdf

Jadad AR, Moore RA, Carroll D, Jenkinson C, Reynolds DJ, Gavaghan DJ, et al. Assessing the quality of reports of randomized clinical trials: is blinding necessary? Control Clin Trials. 1996;17(1):1-12.

Sholzberg M, Tang GH, Rahhal H, AlHamzah M, Kreuziger LB, Áinle FN, et al. Effectiveness of therapeutic heparin versus prophylactic heparin on death, mechanical ventilation, or intensive care unit admission in moderately ill patients with covid-19 admitted to hospital: RAPID randomised clinical trial. BMJ. 2021;375:n2400.

Randomised trial of intravenous streptokinase, oral aspirin, both, or neither among 17187 cases of suspected acute myocardial infarction: ISIS-2. Lancet. 1988;332(8607):349–60.

Xiong GL, Adams J. FRISBEE: does the study fly in the face of evidence-based medicine? Curr Psychiatr. 2007;6(12):96.

Duke University Medical Center Library & Archives. Evidence-based practice: appraise [Internet]. [cited 2020 Aug 11]. Available from: https://guides.mclibrary.duke.edu/ebm/appraise

Jackson R, Ameratunga S, Broad J, Connor J, Lethaby A, Robb G, et al. The GATE frame: critical appraisal with pictures. Evid Based Med. 2006;11(2):35-8

Sterne JAC, Savovic J, Page MJ, Elbers RG, Blencowe NS, Boutron I, et al. RoB 2: a revised tool for assessing risk of bias in randomised trials. BMJ. 2019;366:l4898.

Piaggio G, Elbourne DR, Pocock SJ, Evans SJW, Altman DG. Reporting of noninferiority and equivalence randomized trials: extension of the CONSORT 2010 statement. JAMA. 2012;308(24):2594–604.