การพัฒนารูปแบบช่วยการตัดสินใจของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: จากการศึกษาเบื้องต้น (Pilot study) ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 61.8 ยังตัดสินใจไม่ได้เรื่องการถ่ายโอน โดยเกือบทั้งหมดต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่มากขึ้น จึงควรมีรูปแบบช่วยการตัดสินใจให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบช่วยการตัดสินใจของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจข้อมูลการตัดสินใจของบุคลากรสาธารณสุขใน รพ.สต. จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาโดยความถี่ และร้อยละ ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบช่วยการตัดสินใจ แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสร้างรูปแบบโดยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเชิงทฤษฎีในคณะทำงานร่วม 30 คน และระยะที่ 2 เป็นการตรวจสอบรูปแบบ ในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสาธารณสุขใน รพ.สต. จำนวน 738 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองมีขนาดกลุ่มตัวอย่างบุคลากร สาธารณสุขใน รพ.สต. จำนวน 40 คน/กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน z-test independent t-test และ Effect size ของ Cohen’s d
ผลการศึกษา: การพัฒนารูปแบบครั้งนี้ พบว่าขั้นตอนที่ 1 การตัดสินใจต่อการถ่ายโอนของบุคลากรสาธารณสุขปรากฎผลดังนี้ ไม่ถ่ายโอนร้อยละ 41 รองลงมาไม่แน่ใจร้อยละ 34 และถ่ายโอนแน่นอนร้อยละ 25 ตามลำดับ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบและการตรวจสอบรูปแบบ พบว่าควรมีการส่งเสริมการเรียนรู้ 3 ด้าน ดังนี้ ด้านกฎหมาย (LAW) ด้านองค์กร (Organize) และด้านบุคคล (Personnel) ทั้ง 3 ด้าน แสดงว่าเป็นองค์ประกอบเชิงยืนยันของรูปแบบ และขั้นตอนที่ 3 ผลการใช้รูปแบบ พบว่าสัดส่วนผู้ตัดสินใจไม่ได้หลังใช้รูปแบบในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.021, ES.= -2.23) ส่วนค่าเฉลี่ยความรู้ และทัศนคติ พบว่าหลังใช้รูปแบบกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= 0.001, 0.003 และ ES.= 0.75, 1.31 ตามลำดับ)
สรุปผลและข้อเสนอแนะ: รูปแบบช่วยการตัดสินใจของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ในบุคลากรสาธารณสุข ในพื้นที่จังหวัดได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Wibulphonprasert S. Direction and future of the transfer of health center missions to local government organization Summary of lessons and future directions of transferring health centers (Page 4). Nonthaburi: National Health Security Office; 2012.
Operational guidelines public health at the local level between the local administrative organization and the Ministry of Public Health [Internet]. Nonthaburi: Strategy and planning division, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health [cited 2019 Nov 26]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/PublicHealthPracticeGuidelines.pdf.
Pinprateep P. People's report by senator Pholadej (No. 23) “transfer of service places to local administrative organizations, the year 2019” [Internet]. Nonthaburi: Civil Society Development Institute [cited 2019 Nov 26]. Available from: https://www.csdi.or.th/2020/09/public-report-23/.
Summary of work performance plans Public Health Strategic Development Group. Chiang Rai: Chiang Rai Provincial Public Health Office; 2020.
Sirilak S. Perspectives on the transfer of health centers (Page 7). Nonthaburi: National Health Security Office; 2012.
Sringernyang L. Assessment results after transfer of health centers to a local government organization (Pages 5-6). Nonthaburi: Institute of Health Systems Research; 2012.
The situation of the decision to transfer the sub-district health-promoting hospital to the local administrative organization in the area of Chiang Rai Province. Chiang Rai: Chiang Rai Provincial Public Health Office; 2020.
Patphol M. Concept of curriculum development principle. Bangkok: Center for Innovation Leaders in Curriculum and Learning; 2019.
Matwanukul D. Research and development [Internet]. Bangkok: Western University; 2020 [cited 2021 July 2]. Available from: http://curriculum-instruction.com/Download/8.การวิจัยและพัฒนา.pdf.
Silcharu T. Research and statistical analysis with SPSS. 9th printing. Bangkok: Business R&D; 2008.
Khamkong P. Decision concept [Internet]. Bangkok: gotoknow; 2014 [cited 2021 Jan 2]. Available from: https://www.gotoknow.org/posts/284784.
Tansakul C. Behavioral Sciences of Public Health. 3rd ed. Bangkok: Juristic Ordinary Partnership Union Commerce; 2000.
Siriwattanamethanont J et al. Health behaviors and health promotion. Mahasarakham: Community Nursing and Mental Health Academic Group Faculty of Nursing Mahasarakham University, 2000.
Department of Lands. Decision-making. Bangkok: Printing Division; 2014.
Harimthephathip M. Vroom's theory of expectations [Internet]. Bangkok: gotoknow; 2014 [cited 2020 June 25]. Available from: https://www.gotoknow.org/posts/629849.
Comrey AL, Lee HB. The first course in factor analysis. New Jersey: Erlbaum; 1992.
Sukmonsan S. Effect size: practical significance in research. Pasaa Paritat Journal. 2010; 25(1): 26-38.
Office of the Decentralization to the Local Government Organization Committee. Guidelines for the transfer of missions of the 60th Anniversary Chaloem Phrakiat Health Center to Nawamintharajini and Tambon Health Promoting Hospital to the Provincial Administrative Organization.
Intharat A, Kaemkate W, Wongwanich S. Research and development of a program for enhancing ethical decision-making abilities of nursing students. Education Journal. 2015; 43(2): 123-40.