ประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตระหว่าง captopril (25 มิลลิกรัม) เปรียบเทียบกับ hydralazine (25มิลลิกรัม) ชนิดรับประทานในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ที่มารับบริการ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ผู้ป่วยที่มาตรวจรักษาในโรงพยาบาล หากมีการตรวจพบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงเร่งด่วน (hypertensive urgency) ส่วนใหญ่จะถูกส่งตัวมายังห้องฉุกเฉินเพื่อลดความดันโลหิตอย่างปลอดภัย ในเวลาที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางการรักษาที่ชัดเจนถึงชนิดและขนาดของยาที่นำไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยเพื่อลดความดันโลหิตผู้ป่วยให้ได้ตามเป้าหมายและมีความปลอดภัย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการลดความดันโลหิตระหว่างcaptopril 25 มิลลิกรัมเปรียบเทียบกับ hydralazine 25 มิลลิกรัม ชนิดรับประทานในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วนที่มารับบริการ ณ ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ที่มารับบริการ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563 ที่ได้รับยา captopril หรือ hydralazine เพื่อลดความดันโลหิต โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนของโรงพยาบาล ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป โรคประจำตัว ยาที่ได้รับ ความดันโลหิตแรกรับและหลังได้รับยา 30 นาที (ความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่าง และความดันโลหิตเฉลี่ย) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ exact probability test, t-test, Rank sum test ตามความเหมาะสม คำนวณความต่างของความดันโลหิตก่อนและหลังได้รับยาเป็นค่าร้อยละ โดยค่าที่ลดลงตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป แปลผลว่าสามารถลดความดันได้สำเร็จ หากมีการลดความดันโลหิตมากเกินไป (≥ ร้อยละ 30) หรือถูกรับไว้สังเกตอาการ ถือเป็นภาวะที่ต้องเฝ้าระวัง รวมถึงโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงจากการให้การรักษา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน จำนวน 143 ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้ hydralazine 53 ราย และกลุ่มที่ได้ captopril 90 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 87 คน (60.83%) พบว่า hydralazine สามารถลดความดันโลหิตตัวบน ลดลงจากเดิมร้อยละ 20 ได้ดีกว่า captopril 2.90 เท่า (95%CI 1.36 – 6.20; p=0.006) ในขณะที่ลดความดันโลหิตตัวล่าง และความดันเฉลี่ยได้ไม่แตกต่างกัน และพบว่าการเกิดภาวะความดันลดลงมากเกินไป (≥ ร้อยละ 30 จากค่าความดันแรกรับ) และสัดส่วนการรับผู้ป่วยไว้สังเกตอาการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปและข้อเสนอแนะ: ในการรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแบบเร่งด่วน ที่มารับบริการ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ hydralazine (25มก.) ชนิดรับประทาน สามารถลดความดันโลหิตตัวบน (SBP) ได้ดีกว่า captopril (25มก.) อย่างไรก็ดีควรมีการติดตามผลจากการใช้ยาลดความดันโลหิตหลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Official website [Internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health. [cited 2021 Mar 7]. Available from: https://www.moph.go.th.
Baumann BM. Systemic hypertension. In: Tintinalli JE, Ma OJ, Yealy DM, Meckler GD, Stapczynski JS, Cline DM, et al., editors. Tintinalli's emergency medicine: a comprehensive study guide. 9th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2020.
Jackson RE, Bellamy MC. Antihypertensive drugs. BJA Education. 2015;15(6):280–5.
IBM Micromedex® web application access [Internet]. Colorado: IBM Watson Health; 2022 [cited 2021 Mar 11]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/home/dispatch/ssl/true.
Unger T, Borghi C, Charchar F, Khan NA, Poulter NR, Prabhakaran D, et al. 2020 International society of hypertension global hypertension practice guidelines. Hypertension. 2020;75(6):1334–57. 2020
Hinton TC, Adams ZH, Baker RP, Hope KA, Paton JFR, Hart EC, et al. Investigation and treatment of high blood pressure in young people: too much medicine or appropriate risk reduction? Hypertension. 2020;75(1):16–22.
Defining adult overweight & obesity [Internet]. Centers for Disease Control and Prevention; 2021 [cited 2021 Sep 13]. Available from: https://www.cdc.gov/obesity/adult/defining.html.
NKF KDOQI Guidelines. KDOQI clinical practice guidelines for chronic kidney disease: evaluation, classification, and stratification [Internet]. National Kidney Foundation, Inc.; 2002 [cited 2021 Sep 13]. Available from: https://kidneyfoundation.cachefly.net/professionals/KDOQI/guidelines_ckd/p4_class_g1.htm.
Sruamsiri K, Chenthanakij B, Wittayachamnankul B. Management of patients with severe hypertension in emergency department, Maharaj Nakorn Chiang Mai hospital. J Med Assoc Thai. 2014;97(9):917-22.