ผลของการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่ต่อต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในช่วงที่พบอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

บุญมี แก้วจันทร์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายปรับระบบบริการทางการแพทย์แบบชีวิตวิถีใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงราย จึงได้เริ่มปรับรูปแบบการบริการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563        จึงอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อต้นทุนต่อหน่วยบริการได้


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดเชียงราย ก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่


วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงประเมินผล (evaluation research) ก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่ในช่วงที่พบอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  โดยทำการวิเคราะห์ต้นทุน (cost analysis) และเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 100 แห่ง โดยการสุ่มแบบมีชั้นภูมิ (stratified random sampling) โดยรวบรวมข้อมูลต้นทุนจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2563 วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบโดยใช้สถิติไร้พารามิเตอร์ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test


ผลการศึกษา: ต้นทุนต่อหน่วยบริการ ต้นทุนดำเนินงาน ต้นทุนโดยตรง และต้นทุนรวมโดยตรง ก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่พบว่า ค่ามัธยฐานต้นทุนไม่มีความแตกต่างกัน มีเพียงต้นทุนโดยอ้อมเท่านั้นพบว่ามีค่ามัธยฐานแตกต่างกันในทิศทางที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009)


สรุปผลและข้อเสนอแนะ: ในภาพรวมต้นทุนต่อหน่วยบริการ ก่อนและระหว่างการจัดบริการแบบชีวิตวิถีใหม่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ยกเว้นต้นทุนโดยอ้อมเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ดังนั้นการวางแผนด้านงบประมาณในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในช่วงที่มีการจัดบริการรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ จึงควรจัดงบประมาณเพิ่มเติมในหมวดต้นทุนโดยอ้อมในการสนับสนุนบริการ อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 2.2 แสนบาท/สถานบริการ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Bureau of Information Office of the Permanent Secretary. Health organizes new normal medical services to reduce congestion, prevent COVID-19 [Internet]. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2020 [updated May 15; cited 2020 July 2]. Available from https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/04/142880/.

Tangcharoensathien W, Rungkarnwatana R. Primary care cost analysis guide. Nonthaburi: Health Systems Research Institute; 1998.

Suansanae T. New normal in COVID-19 situation. Journal of Medicine. 2020;26(2):9-11.

Chiang Rai Provincial Office [Internet]. Chiang Rai: Chiang Rai Provincial; 2018 [updated May 16; cited 2020 June 25]. Available from: http://123.242.164.131/cpwp/.

Chiang Rai Provincial Public Health Office. Summary of operating results for fiscal year 2020. Chiang Rai: Public health strategic development subdivision Chiang Rai provincial public health; 2020.

Jirawatkul A. Biostatistics. Khon Kaen: Klang Nana Wittaya Printing House; 1991.

Tianplung W. Cost of health promotion and disease prevention services of health centers in Prachinburi Province Fiscal Year 2006[dissertation]. Bangkok: Chulalongkorn University; 2006.

Piyawajanusorn J. Unit Cost Analysis and Cost Recovery of Health Centers in Pa Bon District, Phatthalung Province for The Fiscal Year 2000[dissertation]. Songkhla: Songkla University; 2002.

Thongsukhowong A. Cost information for decision making [Internet]. Khon Kaen; [cited 2020 June 26]. Available from: https://home.kku.ac.th/anuton/3526301/Doc_03.pdf.

Kruekun R, Pattarabenjapol S. Unit cost analysis of health services in Tambon Health Promoting Hospitals. IJPS. 2017;13(special):712-23.

Thongrong J. Unit costs analysis in Primary Care Unit Nakhon Ratchasima Fiscal Year 2006 [dissertation]. Nakhon Ratchasima: Nakhon Ratchasima Rajabhat University; 2008.

Sirasoongnoen D, Kemprakhon P. Cost of services of Tambon Health Promoting Hospital in Nong Hong District Buriram Province Year 2012. Journal of Health Science, 2015;2.