ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคอ้วนในกลุ่มเด็กระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

หทัยชนก เนื่องจุ้ย

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรคอ้วนในเด็กเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญของโลก  เนื่องจากมีอัตราความชุกเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา  โรคอ้วนในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุภายนอก  คือ  การรับประทานอาหารมากกว่า
เผาผลาญพลังงาน  ทำให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจและสังคม 


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และผลกระทบทางด้านจิตใจ- สังคม ของโรคอ้วนในเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคอ้วน


วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาในเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนตากพิทยาคม อำเภอเมือง  จังหวัดตาก  ในช่วงเดือน  สิงหาคม  พ.ศ.2564


ผลการศึกษา: นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งหมด 1,407 ราย ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 467  ราย ความชุกโรคอ้วนในเด็กพบร้อยละ 17.8  เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.2  เพศชายร้อยละ 39.8  อายุเฉลี่ย  12.94 ±0.75 ปี  ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนในเด็ก  ได้แก่  การมีพี่น้องสายตรงเป็นโรคอ้วน  การรับประทานอาหารของทอดของมัน  การดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลม  ความถี่ในการออกกำลังกายที่น้อยกว่า 3 วัน/ สัปดาห์  ระยะเวลาการนอนหลับที่มากกว่า 10 ชั่วโมง/ วัน และระยะเวลาในการใช้สื่อ ดูหนังดูทีวีและเล่นเกมส์ที่มากกว่า 2 ชั่วโมง/ วัน  เด็กที่มีโรคอ้วนพบว่ามีภาวะแทรกซ้อนทางด้านจิตใจและสังคม 


สรุปและข้อเสนอแนะ: ความชุกโรคอ้วนในเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นคิดเป็นร้อยละ  17.8  ปัจจัยที่สัมพันธ์กับโรคอ้วนในเด็ก  คือ  การมีพี่น้องสายตรงเป็นโรคอ้วน  การรับประทานอาหารมากกว่าเผาผลาญพลังงาน  เด็กที่มีโรคอ้วนพบภาวะแทรกซ้อนทางด้านจิตใจและสังคม  ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนในเด็กแก่เด็กนักเรียนและผู้ปกครองตามโรงเรียนต่างๆเพื่อเพิ่มความตระหนักในการดูแลตนเองและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

WHOSIS: WHO statical information system[Internet]. Geneva: World Health Organization; 2021[cited 2021 Jun 9]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

Fryar CD, Carroll MD, Afful J. Prevalence of overweight, obesity, and severe obesity among children and adolescents aged 2–19 years: United States, 1963–1965 through 2017–2018. NCHS Health E-Stats. 2020.

The National Audit Office (NAO). Department of Health & Social Care. Childhood obesity.London: National Audit Office; 2020.

Koo HC,Poh BK,Talib RA. The GReat-Child TrialTM: a Quasi-Experimental Dietary Intervention among Overweight and Obese Children. Nutrients . 2020; 12(10): 2972.

DoH: Dashboard[Internet]. Thailand: Department of Health.2021[cited 2021 Jul 10]. Available from: https://dashboard.anamai.moph.go.th.

Brown CL, Halvorson EE, Cohen GM, Lazorick S, Skelton JA. Addressing childhood obesity: opportunities for prevention. Pediatr Clin North Am. 2015;62(5):1241-61

Saimueang S. Factors correlated with the incidence of obesity among children in primary school amphoe mueang Kamphaengphet. Naresuan research. 2014; 12:706–20.

McGavock JM, Torrance BD, McGuire KA, Wozny PD, Lewanczuk RZ. Cardiorespiratory fitness and the risk of overweight in youth: the healthy hearts longitudinal study of cardiometabolic health. Obesity (Silver Spring). 2009;17(9):1802-7.

Sisson SB, Church TS, Martin CK, Tudor-Locke C, Smith SR, Bouchard C, Earnest CP, et al. Profiles of sedentary behavior in children and adolescents: the US National Health and Nutrition Examination Survey, 2001-2006. Int J Pediatr Obes. 2009;4(4):353-9.

Fulton JE, Wang X, Yore MM, Carlson SA, Galuska DA, Caspersen CJ. Television viewing, computer use, and BMI among U.S. children and adolescents. J Phys Act Health. 2009;6 Suppl 1:S28-35

Guo X, Zheng L, Li Y, Zhang X, Yu S, Yang H, et al. Prevalence and risk factors of being overweight or obese among children and adolescents in northeast China. Pediatr Res. 2013;74(4):443-9.

Vos MB, Welsh J. Childhood obesity: update on predisposing factors and prevention strategies. Curr Gastroenterol Rep. 2010;12(4):280-7.