ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สินีนาฏ หงษ์ระนัย
พรทิพย์ เรืองฤทธิ์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดซึ่งในปี 2563 พบการรับผู้คลอดไว้ในโรงพยาบาลแม่สรวยด้วยภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอัตราการคลอดก่อนกำหนด เพิ่มสูงขึ้น


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลแม่สรวย


วิธีการศึกษา : การศึกษาวิจัยแบบย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในช่วงเวลา 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงที่ลักษณะกลุ่มตัวอย่างที่เลือกเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย แบ่งเป็น สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด จำนวน 80 ราย และสตรีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ครบกำหนด จำนวน 160 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ข้อมูลทางคลินิกของสตรีตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วยวิธี univariable และ multivariable logistic regression นำเสนอด้วยค่า odds ratio; 95%confidence interval (CI) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05


ผลการศึกษา : พบปัจจัยเสี่ยงที่ร่วมกันทำนายการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนี้ เชื้อชาติไทยเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 3.24 เท่า (95%CI=1.37-7.64) อาชีพไม่ได้ใช้แรงงานเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 8.59 เท่า (95%CI=3.03-24.36) การมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 112.62 เท่า (95%CI=13.84-916.21) และภาวะติดเชื้อเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด 29.79 เท่า (95%CI=8.70-101.98)


สรุปและข้อเสนอแนะ :ปัจจัยเสี่ยงที่ร่วมทำนายการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สตรีตั้งครรภ์เชื้อชาติไทย มีอาชีพไม่ใช้แรงงาน มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และมีภาวะติดเชื้อ การคัดกรองและเฝ้าระวังเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะช่วยให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการดูแลและป้องกันภาวะการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

Sriutharawong V. Factors related to complications during pregnancy of mothers who delivered at Hua Hin Hospital. Reg 4-5 Med J. 2019;38(2):126-39.

Chalermvuttanon R, Ratchaputi A, Chotikasathit S. Factors associated with preterm birth among pregnant women at Ranong Hospital. Reg 11Med J. 2016; 30(4):291-8.

Senthiri P, Srisong S, Promprakai R, Permchat M. Development of the nursing model for pregnant women to prevent preterm labour. J Nurs Healthc. 2016;34(2) :164-73.

Walani SR. Global burden of preterm birth. Int J Gynaecol Obstet. 2020;150(1):31-3.

Kinney MV, Rhoda NR. Understanding the causes of preterm birth: solutions depend on context. The Lancet Global Health. 2019;7(8):e1000-e1.

Region 1 Health Provider. Performance of government inspection plan in normal case, round 2 of budget year 2020 [internet]. 2021 [cited 2021 Jan 20]. Available from: https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/document/200620159262947010.pdf.

Kaewsiri P, Hemadhulin S, Ansook P, Naosrisorn P. The empowerment of pregnant women to prevent the risk of preterm labor : nurse’s roles. Srinagarind Med J. 2020;35(2) : 238-45.

Labor room unit of Maesuai Hospital. The labor room unit’s quality of care summary of budget year 2020. Chiangrai: Nursing department of Maesuai Hospital; 2020.

Thumcharoen W, Chalernngam N, Chotedelok Y. Factors predicting for preterm labour of teenage pregnant women at Prapokklao Chanthaburi Hospital. Srinakharinwirot Research and Development (Journal of Humanities and Social Sciences) .2018; 10(19):188-200.

Urairoekkun C. Appropriate risk factors for preterm. Journal of Health Science. 2017;26suppl 1:S64-9.

Wisvapaisan W, Srithammasak B, Nakkrasae S. Factors affecting the prediction of gravid women giving preterm births at Police General Hospital. Journal of The Police Nurses.2016;8(2):83-90.

Chawanpaiboon S. Preterm labour. Bangkok: P.A.Living; 2010.

Atjimakul T, Liabsuetrakul T. Risk factors for two consecutive preterm births in southern Thailand.Thai J Obstet Gynaecol. 2010;18(3):98-105.