ประสิทธิภาพของยากาบาเพนตินในการป้องกันอาการคันจากยามอร์ฟีนที่ใช้ร่วมกับการระงับความรู้สึก ทางน้ำไขสันหลัง ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความเป็นมา: การระงับความรู้สึกทางน้ำไขสันหลังร่วมกับการใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ช่วยระงับปวดหลังจากได้รับการผ่าตัดมดลูกแบบผ่านหน้าท้องได้ดีกว่าระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย อาการคันตามร่างกายเป็นผลข้างเคียงที่พบได้
มากที่สุด ยากาบาเพนตินเป็นยารักษาโรคลมชักที่พบว่าสามารถระงับอาการคันจากบางสาเหตุได้ แต่การศึกษาประสิทธิภาพของยากาบาเพนตินขนาด 600 และ 1,200 มิลลิกรัมกับการระงับอาการคันในผู้ป่วยที่ได้รับยามอร์ฟีนร่วมกับการระงับความรู้สึกทางน้ำไขสันหลังได้ผลการศึกษาที่ขัดแย้งกัน
วัตถุประสงค์: ศึกษาประสิทธิผลของยากาบาเพนติน 900 มิลลิกรัม ในการป้องกันอาการคันจากยามอร์ฟีนที่ใช้ร่วมกับยาชาในการระงับความรู้สึกทางน้ำไขสันหลัง เปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยากาบาเพนติน ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่มไปข้างหน้า ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ 110 ราย, ผู้ป่วยถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม คือกลุ่มที่ไม่ได้รับยากาบาเพนติน (กลุ่มที่ 0) และกลุ่มได้รับยากาบาเพนติน 900 มิลลิกรัมก่อนผ่าตัด 2 ชั่วโมง (กลุ่มที่ 1) โดยผู้ป่วยทุกรายได้รับยา 0.5 % hyperbaric bupivacaine 3.0-3.8 มิลลิลิตร ร่วมกับยามอร์ฟีน 0.15 มิลลิกรัมทางน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยได้รับประเมินอาการคันที่ 1,2,3,4,6,8,12 และ 24 ชั่วโมงหลังได้รับยามอร์ฟีนทางน้ำไขสันหลัง
ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 110 คนที่ได้รับการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มละ 55 คน พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยากาบาเพนติน
มีอุบัติการณ์คัน 45 คน กลุ่มที่ได้รับยากาบาเพนตินมีอุบัติการณ์คัน 34 คน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (81.8% vs 61.8%; p=0.033) กลุ่มที่ได้รับยากาบาเพนตินลดคะแนนเฉลี่ยอาการคัน 0.32 คะแนน (95% CI -0.53, -0.12; p=0.002) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยากาบาเพนติน
สรุปและข้อเสนอแนะ การได้รับยากาบาเพนติน 900 มิลลิกรัมก่อนการผ่าตัด 2 ชั่วโมง มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการคันจากยามอร์ฟีนที่ใช้ร่วมการระงับความรู้สึกทางน้ำไขสันหลัง ดังนั้นจึงแนะนำให้ใช้ยากาบาเพนติน เพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ได้รับยามอร์ฟีนที่ใช้ร่วมกับการระงับความรู้สึกทางน้ำไขสันหลังในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทางนรีเวชกรรม
Article Details
References
Borendal Wodlin N, Nilsson L, Carlsson P, Kjølhede P. Cost-effectiveness of general anesthesia vs spinal anesthesia in fast-track abdominal benign hysterectomy. Am J Obstet Gynecol. 2011;205(4):326.e1-7.
Iatrou CA, Dragoumanis CK, Vogiatzaki TD, Vretzakis GI, Simopoulos CE, Dimitriou VK. Prophylactic intravenous ondansetron and dolasetron in intrathecal morphine-induced pruritus: a randomized, double-blinded, placebo-controlled study. Anesth Analg. 2005;101(5):1516-20.
Chinachoti T, Nilrat P, Samarnpiboonphol P. Nausea, vomiting and pruritus induced by intrathecal morphine. J Med Assoc Thailand. 2013;96(5):589-94.
Rathmell JP, Lair TR, Nauman B. The role of intrathecal drugs in the treatment of acute pain. Anesth Analg. 2005;101(5 Suppl):S30-43.
Kjellberg F, Tramer MR. Pharmacological control of opioid-induced pruritus, a quantitative systematic review of randomized trials. Eur J Anaesthesiol. 2001;18(6):346-57.
Vollmer KO, Anhut H, Thomann P, Wagner F, Jahncken D. Pharmacokinetic model and absolute bioavailability of the new anticonvulsant gabapentin. Advances in Epileptology. 1989;17:209-11.
Partridge BJ, Chaplan SR, Sakamoto E, Yaksh TL. Characterization of the effects of gabapentin and 3-isobutyl-aminobutyric acid on substance-P induced thermal hyperalgesia. Anesthesiology. 1998;88(1):196-205.
Fink K, Meder W, Dooley DJ, Göthert M. Inhibition of neuronal Ca(2+) influx by gabapentin and subsequent reduction of neurotransmitter release from rat neocortical slices. Br J Pharmacol. 2000;130(14):900-6.
Clarke HA, Katz J, McCartney CJ, Stratford P, Kennedy D, Pagé MG, et al. Perioperative gabapentin reduces 24 h opioid consumption and improves in-hospital rehabilitation but not post-discharge outcomes after total knee arthroplasty with peripheral nerve block. Br J Anaesth. 2014;113(5):855-64.
Manenti L, Vaglio A, Costantino E, Danisi D, Oliva B, Pini S, et al. Gabapentin in the treatment of uremic itch, an index case and a pilot evaluation. J Nephrol. J Nephrol. 2005;18(1):86-91.
Manenti L, Vaglio A. Gabapentin for uraemic pruritus. Nephrol Dial Transplant. 2005;20(6):1278-9.
Taylor RS. Multiple sclerosis potpourri. Phys Med Rehabil Clin N Am. 1998;9(3):551-9.
Sheen MJ, Ho ST, Lee CH, T sung YC, Chang FL. Preoperative gabapentin prevents intrathecal morphine-induced pruritus after orthopedic surgery. Anesth Analg. 2008;106(6):1868-72.
Chiravanich W, Oofuvong M, Kovitwanawong N. Single dose of gabapentin for prophylaxis intrathecal morphine-induced pruritus in orthopedic surgery. J Med Assoc Thai. 2012;95(2):186-90.
Ikoma A, Steinhoff M, Ständer S, Yosipovitch G, Schmelz M. The neurobiology of itch. Nat Rev Neurosci. 2006;7(7):535-47.
Kung AT, Yang X, Li Y, Vasudevan A, Pratt S, Hess P. Prevention versus treatment of intrathecal morphine-induced pruritus with ondansetron. Int J Obstet Anesth. 2014;23(3): 222-6.
Reich A, Riepe C, Anastasiadou Z, Mędrek K, Augustin M, Szepietowski JC, Ständer S. Itch assessment with visual analogue scale and numerical rating scale, determination of minimal clinically important difference in chronic itch. Acta Derm Venereol. 2016;96(7):978-80.
Myles PS, Myles DB, Galagher W, et al. Measuring acute postoperative pain using the visual analog scale, the minimal clinically important difference and patient acceptable symptom state. Br J Anaesth. 2017;118:424–9.
Bartoszyk GD, Meyerson N, Reimann W, Satzinger G, Von Hodenberg G. Gabapentin. In: BS Meldrum, BJ Porter, editors. New Anticonvulsant Drugs. London: John Libbey;1986.p.147-63.
Ramsay RE. Gabapentin toxicity. In: Levy, RH, Mattson, RH, Meldrum, BS, editors. Antiepileptic Drugs, 4th ed. New York: Raven Press; 1995.p.857-60.