ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในช่วงการแพร่ระบาดโรค COVID-19
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญ: สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ประชาชนทั่วไปเกิดความเครียดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคลากรสาธารณสุขที่มีภาระงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อจากผู้ป่วย ซึ่งความเครียดนี้ย่อมส่งผลกระทบกับการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของภาวะเครียดและซึมเศร้า และปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเครียดและซึมเศร้าในบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ประชากร คือ บุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั้งหมดจำนวน 707 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเครียด (ST 5) แบบประเมินโรคซึมเศร้า (9 Q) เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2563 – วันที่ 11 เมษายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square และFisher's exact test
ผลการศึกษา: บุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด 707 คน แบ่งเป็นบุคลากรกลุ่มงานที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรงจำนวน549 คน และกลุ่มงานสนับสนุน จำนวน 158 คน เมื่อประเมินความเครียดครั้งที่ 1 พบว่า บุคลากรทางการแพทย์ส่วนมากไม่มีภาวะเครียด/มีภาวะเครียดระดับต่ำ จำนวน 440 คน (ร้อยละ 62.23) และมีภาวะเครียดระดับสูงและรุนแรง จำนวน 84 คน (ร้อยละ 11.88) เมื่อประเมินความเครียดในบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเครียดระดับสูงและรุนแรงทั้ง 84 คน ครั้งที่ 2 ในสัปดาห์ที่ 2 พบว่ามีความเครียดในระดับสูงและรุนแรง จำนวน 16 คน (ร้อยละ 19.05) จากนั้นบุคลากรทางการแพทย์ที่มีภาวะเครียดจำนวน 16 คน เข้ารับการประเมินภาวะซึมเศร้า พบว่ามีภาวะซึมเศร้า จำนวน 9 คน (ร้อยละ 56.25) ปัจจัยด้านกลุ่มงานที่ให้บริการกับผู้ป่วยโดยตรงมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเครียดระดับสูงและรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุปผลและอภิปรายผล: ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะเครียด/มีภาวะเครียดในระดับต่ำและไม่มีภาวะซึมเศร้า โดยภาวะเครียดจะลดลงเมื่อระยะเวลาผ่านไปส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของบุคลากรทางการแพทย์ในกลุ่มที่มีความเครียดระดับสูง-รุนแรงคือปัจจัยด้านกลุ่มงานที่ให้บริการกับผู้ป่วยโดยตรง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
CDC covid-19 response Team. Severe outcomes among patients with coronavirus disease 2019 (Covid-19) United States, February 12 – March 16, 2020. [Internet]. 2020 [updated March 18; cited 2021 May 14]. Available from: https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/69/wr/pdfs/mm6912e2-H.pdf.
Emergency operations center, Department of disease control. Thailand situation update on 22 March 2020. [Internet]. 2020 [updated March 22; cited 2021 May 14]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/file/situation/situation-no79-220363.pdf
WHO. Covid 2019 PHEIC. [Internet]. 2020 [cited 2021 May 14]. Available from: https://www.who.int/publications/m/item/covid-19-public-health-emergency-of-international-concern-(pheic)-global-research-and-innovation-forum.
Department of disease control, Ministry of public health. Covid-19 (EOC-DDC Thailand). [Internet]. 2021 [cited 2021 August 5]. Available from: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/ portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65.
Kittirattanapaiboon, P. A guideline for social and mental health treatment of worker during the Covid-19 crisis. Nonthaburi: Pimluck; 2020.
Tak Provincial Public Health Office. Covid-19 situation in Tak province. [Internet]. 2020 [cited 2020 June 29]. Available from: https://covid.takpho.go.th/index.php?r=covid%2Fdashboard.
Rajavithi Hospital. the guideline for surveillance and investigation of new strains of coronary virus in 2019 of the Ministry of Public Health. [Internet]. 2020 [cited 2020 March 1]. Available from: https://covid19.rajavithi.go.th/test/th_index.php
Department of disease control, Ministry of public health. Guidelines for using mental health tools for public health personnel in community hospitals. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2015.
ongsuk T, Arunpongpaisal S, Loiha S, Maneeton N, Wannasawek K,Leejongpermpoon J,et al. Development and validity of 9 questions for assessment of depressive symptom in Thai I-san community. Presented at the 6th Annual International Mental Health Conference, 2007, Bangkok, Thailand.
Sangsirilak, A. and Sangsirilak, S. Stress and Depressed Mood in Healthcare Workers During COVID-19 Outbreak. J Psychiatr Assoc Thailand 2020;65(4):401-8.
Netirojjanakul, W. Prevalence and Associated Factors of Mental Health Problems on Healthcare Worker at Nakhonpathom Hospital in Corona Virus Disease 2019 (COVID-19) Epidemic Era. Region 4-5 Med J 2020;39(4):616-27.
Evers, K.E., Prochaska, J.O., Johnson, J.L., Mauriello, L.M., Padula, J.A. and Prochaska, J.M. A randomized clinical trial of a population-and transtheoretical model-based stress management intervention. Health Psy 2006;25:521-9.
Tan BYQ, Chew NWS, Lee GKH, Jing M, Goh Y, Yeo LLL, et al. Psychological Impact of the COVID-19 pandemic on health care workers in Singapore. Ann Intern Med 2020;173(4):317-20.
Li Z, Ge J, Yang M, Feng J, Qiao M, Jiang R, et al. Vicarious traumatization in the general public, members, and non-members of medical teams aiding in COVID-19 control. Brain Behav Immun 2020;88:916-9.